Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6250
Title: ละครเท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรี
Other Titles: "Lakon Theng Tuk" in Chanthaburi
Authors: ประภาศรี ศรีประดิษฐ์
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta@yahoo.com
Subjects: ละครชาตรี -- ไทย -- จันทบุรี
ละคร -- ไทย -- จันทบุรี
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาละครเท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรี ด้านประวัติ องค์ประกอบ ลำดับขั้นตอนของการแสดง วิธีการแสดง รูปแบบการแสดง และลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในการแสดง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2545 โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้แสดงอาวุโส 4 คน หัวหน้าคณะละครเท่งตุ๊ก 9 คน ผู้แสดงละครเท่งตุ๊ก 82 คน และสังเกตการแสดงละครเท่งตุ๊ก 9 คณะ จำนวน 30 ครั้ง ที่แสดงในจังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่า การกำเนิดละครเท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรีเริ่มจากนายทิม ภากกิจ ได้รับการถ่ายทอดละครชาตรีจากครูขุนทอง ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของไทยแล้วแสดงละครเร่เรื่อยมา และในปี พ.ศ. 2420 ได้นำละครชาตรีหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าละครเท่งตุ๊ก เข้ามาเผยแพร่ในเขตอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2545) รูปแบบของการแสดงได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของการแสดงลิเกที่ได้เข้ามามีบทบาทในชุมชน องค์ประกอบสำคัญที่ปรากฏในการแสดงได้แก่ โรงละครสามารถชมได้ 3 ด้าน มีฉากรูปป่าหรือท้องพระโรง วางเตียงไว้ตรงกลางสำหรับนั่งทำบท เรื่องที่ใช้ประกอบการแสดงมีทั้งแนวจักรๆ วงศ์ๆ และแนวสมัยใหม่ที่นำมาจากนวนิยายหรือละครวิทยุ ใช้โทน กลองตุ๊ก ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ เป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดง บางครั้งอาจนำระนาดและกลองชุดเข้ามาบรรเลงผสม แต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง โดยผู้หญิงรับบทเป็นพระเอก นางเอก และตัวเบ็ดเตล็ด ผู้ชายรับบทเป็นตัวตลก ลำดับการแสดงประกอบด้วย 4 ส่วนคือ 1. กล่าวคำบูชา 2. โหมโรงดนตรี 3. รำก่อนการแสดง และ 4. ละคร ในการแก้บนมักมีครบทั้ง 4ส่วน ในการแสดงเพื่อความบันเทิงมีเฉพาะส่วนที่3 และ4 การแสดงละครเท่งตุ๊กเริ่มด้วยตัวละครเอกเกือบทุกตัวออกมาร้องกล่าวตัว จากนั้นจึงดำเนินเรื่องเป็นฉากสั้นๆ และรวดเร็วต่อเนื่องกันไปจนจบการแสดง ตัวละครแต่ละตัวร้องเป็นต้นเสียงพร้อมรำทำบทรับด้วยลูกคู่หลังโรง ระหว่างนั้นตัวละครรำซัดท่าและเจรจาซ้ำความ ตัวตลกมีความสำคัญในการสร้างความสนุกสนาน บอกเรื่องและกำกับทางเข้า-ออกของตัวละคร ละครเท่งตุ๊กปัจจุบันมี 3 แบบ คือ แบบดั้งเดิม แบบพันทางคือผสมลิเก และแบบประยุกต์คือผสมวงสติงและหางเครื่อง ละครเท่งตุ๊กปัจจุบันมี 9 คณะ ผู้แสดง 82 คน มีเด็กหญิงฝึกหัดอยู่หลายคน แต่มีเพียง 2 คณะที่แสดงแบบดั้งเดิมได้ ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลัง จะอนุรักษ์และส่งเสริมการแสดงละครเท่งตุ๊กแบบดั้งเดิมให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
Other Abstract: To study the historical background, composition, performance sequence, format and special characteristics of Lakon Thengtuk in Chantaburi Province from 2001 to 2002. The methods used in this study include collecting related documents, interviewing 4 senior performers, 9 troupe heads, 82 performers and observation of 30 performances by 9 different troupes within Chantaburi. The results show that Lakon Thengtuk in Chantaburi was started by Mr. Tim Phakkij. Knowledge about this type of Lakon was transferred by Khru Khunthong who performed Lakon in southern Thailand. In 1977, Lakon Chartri, known as Lakon Thengtuk, was brought to Lamsingh district, Chantaburi province. The format of Lakon Thengtuk was simultaneously changed according to the influence of Likay in this area. Performance elements are three side stage , a set of scenery painted with a forest or a palace, and a bench. Stories are from legends and modern short from famous novels or radio scripts. Music instrument plays includes drums, xylophone, cymbals and wooden clappers. Actresses perform hero, heroine and supporting roles. Males act as clowns. They dress in classical theatre style. Performance sequence is divided in to 4 part : invocation , music prelude, dance prelude and play proper. Lakon Thenktuk for votive offering includes all parts but for entertainment. Only part 3 and 4 are presented. Performance starts with leading characters sing and dance their introduction part followed by singing chorus backstage while they repeat with a traditional dance pattern called sat tha. This is followed by a spoken phrase similar to singing line. Clowns play important role in creating laughters and directing the play. Lakon Thenktuk today has 3 styles : traditional, mixed with Likay and mixed with modern music and dance chorus. Lakon Thenktuk today has 9 troupes with 82 performers. Many young girls are being trained today. However, only two troupes can perform the traditional style. Preservation should by serious considered for this theatre heritage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6250
ISBN: 9741732511
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapasri.pdf12.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.