Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62547
Title: แนวคิดว่าด้วยชนชั้นกลางในสังคมไทย
Other Titles: Social thoughts on the middle class in Thailand
Authors: ศิริพร ยอดกมลศาสตร์
Advisors: ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ชนชั้นกลาง -- ไทย
ศักดินา
ทุนนิยม
การค้าเสรี
Middle class -- Thailand
Feudalism
Capitalism
Free trade
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกล่าวถึงคำ "ชนชั้นกลาง" แม้จะมีปรากฏอยู่ทั่วไป แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับชนชั้นกลางกลับขาดบรรทัดฐานในการกล่าวถึงร่วมกัน เพราะแนวคิดที่ผู้กล่าวแต่ละคนใช้ตั้งอยู่บนรากฐานความคิดที่แตกต่างหลากหลาย วิทยานิพนธ์นี้มุ่งสำรวจองค์ความรู้และประมวลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องชนชั้นกลางที่มีผู้ศึกษาไว้ในประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับวิวาทะทางด้านความหมายในทางทฤษฎีของคำชนชั้นกลาง พัฒนาการและบทบาทของชนชั้นนี้ต่อระบบทุนนิยม และความคาดหวังต่อชนชั้นนี้ในกระบวนการพัฒนาระบบทุนนิยม ผลการศึกษาพบว่า การกล่าวถึงคำ "ชนชั้นกลาง" มีแนวคิดหลักอยู่เพียง 2 แนวทาง ได้แก่ แนวคิดวิเคราะห์แบบมาร์กซิส และแนวคิดวิเคราะห์แบบเวเบอเรียน ซึ่งแม้นักคิดในสังคมไทยพยายามนิยามชนชั้นกลางจากบริบทของสังคมไทย แต่หากพิจารณาในรายละเอียดแล้วก็พบว่ามีอิทธิพลของสองแนวคิดข้างต้นอยู่ไม่มากก็น้อย จึงไม่น่าแปลกใจที่พ่อค้า (รายย่อย) และคนงานปกขาว ต่างถูกกำหนดให้เป็นชนชั้นกลางไม่ว่าจะพิจารณาจากแนวคิดใดก็ตาม พัฒนาการของชนชั้นกลางในสังคมไทย แม้สามารถแสดงให้เห็นพลังในการรวมตัวเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้มาหลายครั้งหลายครา แต่เนื่องด้วยพัฒนาการจิตสำนึกทางชนชั้นของชนชั้นกลางส่วนใหญ่ยังไม่เกิด ทำให้ภาพลักษณ์ของชนชั้นกลางคูเหมือน "คนโลเล" ที่ไม่เอาแน่กับระบการเมืองแบบใด ไม่ว่าเผด็จการหรือประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าชนชั้นกลางไทยในปัจจุบันต้องการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเสรี ภายใต้อุดมการทุนนิยม ดังนั้น ภาพการรวมตัวต่อสู้ของชนชั้นกลางที่ปรากฏขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย จึงแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการรวมกลุ่มชนชั้นกลางอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสร้างพลังกดดันให้ความสัมพันธ์ดั้งเดิมภายใต้พันธนาการศักดินาค่อยๆ สูญสลายไป
Other Abstract: The word "Middle Class" is generally employed in speaking. But in term of theory it lacks the common ground of conceptualization. This is because of the different paradigms and approaches. Hence, the aim of the thesis is to survey the state of knowledge on the middle class in the Thai academic community. The arguments mainly deal with the ambiguity of its theoretical meaning, the formation and the role of the middle class, and the expectation on this class in the capitalist development. It is found that, there are two theoretical concepts on this class, one base on Marxist theory and other bases on Weberian theory. Though Thai social scientists attempt to conceptualize the middle class in the Thai context, the content of arguments are derived from those theories. Thus, it is not surprising, the Thai social scientists classify petty traders and white collar workers as the main composition of the middle class. In modern Thailand, the roles and activities of these people are obvious. Nevertheless, it is hard to understand their political consciousness. Thus, one may argue, these people have no political stand opinion. However, it can be estimated that the so-called "Thai Middle Class" needs the growth of the free market economy under capitalist oriented. This indicates the increment in awareness on their common interests which might bring about collective conscience to free itself from feudalist hegemony.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62547
ISBN: 9746320238
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_yo_front_p.pdf7.12 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_yo_ch1_p.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_yo_ch2_p.pdf15.19 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_yo_ch3_p.pdf18.4 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_yo_ch4_p.pdf22.34 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_yo_ch5_p.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_yo_back_p.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.