Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62675
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา ธาดานิติ-
dc.contributor.authorวิบูลย์ วงศ์กุลธนกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-13T08:24:12Z-
dc.date.available2019-08-13T08:24:12Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746338188-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62675-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539-
dc.description.abstractแหล่งท่องเที่ยวประเภทแพเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี มีรูปแบบของการท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติและเป็นเอกลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัด การพัฒนาที่เกิดขึ้นย่อมเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเดิม มีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่โดยรวม หากแต่สิ่งที่เป็นผลติดตามมาก็คือ สภาพปัญหาและความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวอันเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวโดยคำนึงเฉพาะคุณค่าด้านเศรษฐกิจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบถึงสภาพปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยวแพ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุและสภาพปัญหา และเสนอแนะแนวทางในการวางแผนและจัดการแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว ให้สามารถแก้ปัญหาและอำนวยประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นโดยรักษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติของจังหวัดให้อยู่ในภาวะสมดุล จากการศึกษาสภาพโดยทั่วไปของแหล่งท่องเที่ยวประเภทแพ ซึ่งประกอบด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมทางด้านการบริการ โดยประเมินสภาพปัญหาจากการสอบถามนักท่องเที่ยว การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการ พบว่า ร้อยละ 95 ของนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เดิมเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด รองลงมาได้แก่ เสียงรบกวน น้ำเสีย การจอดแพ และปัญหาด้านกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งครอบคลุมในส่วนของการให้บริการและดูแลด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ ส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการพัฒนาที่ไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและมีระดับของการพัฒนาที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ธรรมชาติที่สมควรแก่การอนุรักษ์ ซึ่งการศึกษาได้เสนอแนะวิธีการในการกำหนดเขตการใช้ที่ดิน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมและกำหนดกิจกรรมในพื้นที่ท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับการเสนอโครงการและแผนงานในการแก้ไข รวมทั้งข้อเสนอแนะในการดูแลและป้องกัน เพื่อไม่ใช้ปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่มีอยู่และลักษณะของหน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบ-
dc.description.abstractalternativeFloating house tourism areas are Kanchanaburi’s natural and unique tourist attractions. Tourism development tends to cause changes to the environment. Such development is generally useful of these areas, but there are some problems also. The problems are caused by the consumption of travel resource based on economic values. This study, therefore, aims to be aware of the present nature of this particular kind of tourism areas in order to analyze the problems and their cause, and to propose guidelines for area planning and management which are to solve the problems and to make benefits for the communities. Based on the evaluation of natural environment and service activity in the target areas done by gathering information from tourists, officers, and business owners, 95 percent of the tourists agreed that the most serious problem was the negative change of the environment. Other problems went to noise and water pollutions, parking of the floating house and the problems in service activities with inadequate security. A cause of such problems is the tourism improvement without concerning environmental impacts. The level of this improvement is not proper for the areas especially the reserved regions. This study also proposes some guidelines to the use of lands which leads to the control of activities within the areas. The solutions can be based on this project and its proposed guidelines which are to determine standard and possibility for problem management related to official rules and responsible organizations.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- กาญจนบุรี-
dc.subjectการใช้ที่ดินในชนบท -- ไทย -- กาญจนบุรี-
dc.subjectEcotourism -- Thailand -- Kanchanaburi-
dc.subjectLand use, Rural -- Thailand -- Kanchanaburi-
dc.titleแนวทางการวางแผนและจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภทแพ จังหวัดกาญจนบุรี-
dc.title.alternativeGuideline for planning and management of floating house tourism area, Kanchanaburi Province-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวางแผนภาค-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiboon_wo_front.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_wo_ch1.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_wo_ch2.pdf8.85 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_wo_ch3.pdf21.53 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_wo_ch4.pdf9.9 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_wo_ch5.pdf11.73 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_wo_ch6.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_wo_back.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.