Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62690
Title: หมอธรรมกับการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน
Other Titles: Mo-Tham and traditional healing
Authors: สมใจ ศรีหล้า
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การแพทย์แผนโบราณ
โรค -- การป้องกันและควบคุม
Traditional medicine
Medicine, Preventive
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัถตุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของหมอธรรม ในฐานะที่หมอธรรมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน โดยศึกษาเน้นที่บทบาทของหมอธรรมกับการรักษาพยาบาล เพื่อจะได้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้ระบบหมอธรรมดำรงอยู่ได้ในชุมชน การศึกษาอาศัยข้อมูลจากเอกสารและการวิจัยสนามด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมกับการสัมภาษณ์ โดยศึกษาเฉพาะกรณีของหมอธรรม หมู่บ้านคำม่วง ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมืองจังหวัดของแก่น ใช้เวลาในการศึกษาภาคสนามระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2534 จากการศึกษาพบว่า ตามความเข้าใจของชาวบ้าน หมอธรรมหมายถึง ผู้ชายที่เรียนเวทย์มนต์คาถาเพื่อปราบภูติผี มีชาวบ้านขอเข้าพึ่งพาอำนาจเวทย์มนต์คาถาเพื่อให้ตนเองรอดพ้นจากอำนาจของภูติผีปีศาจ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเกิดอันตรายต่าง ๆ ชาวบ้านที่ขอเข้าพึ่งอำนาจเวทย์มนต์คาถาของหมอธรรม จะเรียกหมดธรรมว่า “พ่อเลี้ยง” และหมอธรรมจะเรียกชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวว่า “ลูกเลี้ยง” การสืบทอดการเป็นลูกเลี้ยงเป็นจารีตประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ชาวบ้านทุกครอบครัรวต้องเข้าสังกัดเป็นลูกเลี้ยงของหมอธรรมรายใดรายหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับตน หมอธรรมทำหน้าที่เป็นทั้งหมอพื้นบ้านและผู้ทำพิธีต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล และการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวบ้าน การรักษาพยาบาลของหมอธรรมประสบผลสำเร็จไม่น้อย ทั้งนี้เนื่องมาจากทั้งหมอธรรมและชาวบ้านดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันเดียวกัน นอกจากบทบาทในด้านการรักษาพยาบาลแล้ว ยังพบว่าหมอธรรมมีบทบาทที่สำคัญต่อชุมชน คือการเป็นผู้นำทางธรรมชาติ ทำหน้าที่ในด้านการไกล่เกลี่ยพิพากษาคดี เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและพิธีต่าง ๆ ชาวบ้านมีความเคารพนับถือหมอธรรมด้วยบทบาทและหน้าที่ต่าง ๆ ที่หมอธรรมมีต่อชุมชนทำให้ระบบหมอธรรมยังคงดำรงอยู่ได้ในชุมชนตลอดมา
Other Abstract: This thesis deals with an anthropological field study of the Mo-tham, one type of traditional healer in the Northeast region of Thailand. If focuses on his healing process and his other roles in the sociocultural context of the village where the four-month fieldwork took place. The results will be briefly presented as follows. In this village. All healers are male. It is believed that they possess magical knowledge which they use to empower all spirits that cause illness. The also have considerable knowledge in herbal medicine which they prescribe to their patients. They make use of other traditional rituals which they sometimes perform for their patients. They gain many followers, many of whom are their former patients. Theses followers perform certain annual rites to honor the Mo-tham. They also treat their healers as their spiritual leaders in their everyday life. These healers and their traditional knowledge are still relevant to the villager’s life. So the Mo-tham concept survives in this century.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62690
ISBN: 9745799823
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_sr_front_p.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_sr_ch1_p.pdf18.39 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_sr_ch2_p.pdf8.37 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_sr_ch3_p.pdf19.23 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_sr_ch4_p.pdf24.76 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_sr_ch5_p.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_sr_ch6_p.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_sr_back_p.pdf29.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.