Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62715
Title: | พฤติกรรมการหดตัวของปูนฉาบที่ผสมสารกระจายกักฟองอากาศ |
Other Titles: | Shrinkage Behavior of Plastering Mortars with Air-Entraing Admixture |
Authors: | สายัณห์ ผลิตกรรม |
Advisors: | เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ปูนมอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์ Mortar Cement |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากความไม่สะดวกในการหมักปูนขาวก่อนนำมาใช้ ปัจจุบันหน่วยงานก่อสร้างส่วนใหญ่นิยมนำสารผสมเพิ่มแทนปูนขาวมาใช้ในการผสมปูนฉาบ เพื่อเพิ่มความเหนียวลื่นแทนปูนขาว แต่ปัญหาที่ยังคงพบเห็นอยู่เสมอคือ การแตกร้าวของผิวปูนฉาบ ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาพฤติกรรมการหดตัวเนื่องจากการเสียน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการแตกร้าวของผิวปูนฉาบ ตลอดจนคุณสมบัติทางกลศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กำลังอัด กำลังดึง โมดูลัสยืดหยุ่น การดูดซึมน้ำ และการขยายตัวตามอุณหภูมิของปูนฉาบที่ผสมโดยวิธีดั้งเดิมคือใช้ปูนขาว เปรียบเทียบกับปูนฉาบที่ผสมสารเพิ่มแทนปูนขาว การทดสอบในงานวิจัยกระทำตามสภาพธรรมชาติ มิได้ควบคุมสภาพแวดล้อม โดยมีอุณหภูมิระหว่าง 30-35° ซ. และความชื้นสัมพันธ์ระหว่าง 75-80% ใช้ปูนซีเมนต์ซิลิก้า และสามผสมเพิ่มประเภทกระจายกักฟองอากาศ ตามมาตรฐาน BS 4887-1973 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์ เมื่อปูนฉาบนั้นมีการไหลตามมาตรฐาน BS 4721-1981 และศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ผลการทดสอบพบว่า กำลังอัด กำลังดึง ที่อายุ 28 วัน และโมดูลัสยืดหยุ่นจะลดลงตามอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น และอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น สำหรับปูนฉาบที่มีอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์เดียวกัน และควบคุมการไหลตามกำหนด พบว่า ปูนฉาบที่ผสมสารเพิ่มแทนปูนขาวจะมีกำลังอัดกำลังดึง และโมดูลัสยืดหยุ่นสูงกว่าปูนฉาบที่ผสมปูนขาว เท่ากับ 10, 15 และ 90% การใช้สารเพิ่มแทนปูนขาวจะสามารถลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสมปูนฉาบได้ถึง 20% สำหรับการหดตัว การดูดซึมน้ำและการขยายตัวตามอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นตามอัตรส่วนทรายต่อซีเมนต์ และอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ สำหรับปูนฉาบที่มีการไหลตามที่กำหนด และอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์เท่ากับ 4:1, 5:1 และ 6:1 พบว่าปูนฉาบที่ผสมปูนขาวจะมีการหดตัวมากกว่าปูนฉาบที่ผสมสาร เพิ่ม 30, 40 และ 60% ตามลำดับ อัตราส่วนกำลังอัดต่อโมดูลัสยืดหยุ่น และการหดตัวสูงสุดของปูนฉาบ มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเชิงเส้น |
Other Abstract: | Due to the inconvenience of hydration process during lime preparation, admixtures have become widely used in place of lime to increase workability and water retention of plastering mortar. However, cracks of such plaster mortar have become prevalent. The objective of this research topic is to study the shrinkage of plastering mortar as a result of dehydration, which is the main cause of its cracks. In addition, related mechanical properties, i.e., compressive and tensile strength, modulus of elasticity, water absorption and thermal expansion of the original lime-based plastering mortar are compared to those of the admixture-based mortar. The experiment was carried out without environment control. Temperature and relative humidity were between 30-35℃ and 75-80%, respectively. Additives in this study are silicated cement and air-entraining admixture comforming to the BS 4887:1973 standard. Two factors were studied : a) Sand to cement ratio as flow of the plastering mortar is in accordance with the BS 4721:1984 standard, and b) water cement ratio. The experimental results reveal that compressive and tensile strength at 28 days and modulus of elasticity all decrease as sand to cement and water cement ratio increase. At the same sand to cement ratio with specified flow, it was found that the admixture-based mortar possesses 10, 15 and 90%, respectively, higher compressive and tensile strength and modulus of elasticity than those of the lime-based mortar. This is due to the fact that the use of admixture can reduce water content in the mortar up to 20%. The effect of increasing water cement ratio is higher degree of shrinkage, water absorption and thermal expansion. Plastering mortar with flow as specified and with sand to cement ratio of 4:1, 5:1, and 6:1. The study suggests that lime-based mortar possesses 30, 40 and 60% respectively higher shrinkage than admixture-based mortar. Ratio of compressive strength to modulus of elasticity and ultimate shrinkage of plastering mortar have a linear relationship. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลวงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62715 |
ISBN: | 9745772666 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sayan_pa_front_p.pdf | 12.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pa_ch1_p.pdf | 10.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pa_ch2_p.pdf | 9.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pa_ch3_p.pdf | 10.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pa_ch4_p.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sayan_pa_back_p.pdf | 54.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.