Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62734
Title: ผลของมวลสารและสีของผนังต่อพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร
Other Titles: Effect of mass and color on heat transmission through building wall
Authors: สินีรัตน์ ภัทรธรรมกุล
Advisors: สมสิทธิ์ นิตยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ความร้อน -- การถ่ายเท
วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง -- สมบัติทางความร้อน
ผนัง -- สมบัติทางความร้อน
การออกแบบสถาปัตยกรรม
สี -- สมบัติทางความร้อน
Heat -- Transmission
Building materials -- Thermal properties
Interior walls -- Thermal properties
Architectural design
Colors -- Thermal properties
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาขนาดมวลสารและประเภทสีที่มีผลต่อปริมาณการถ่ายเทความร้อนของผนัง เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบอาคาร ผนังที่เลือกใช้ในการทดลองเปรียบเทียบมี 2 ประเภท ผนังที่มีมวลสารมาก คือ ผนังก่ออิฐฉาบปูนขนาดความหนา 4 นิ้ว และ 8 นิ้ว ซึ่งใช้ในการก่อสร้างทั่วๆ ไป ส่วนผนังที่จัดว่ามีมวลสารน้อยเป็นผนังโพลีสไตรีนโฟมที่มีค่าสัมประสิทธิการถ่ายเทความร้อนเท่ากับผนังก่ออิฐปูน 4 นิ้วและ 8 นิ้วตามลำดับ ในเรื่องของสีผนัง ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบทั้งสีขาวที่มีค่าการดูดรังสีความร้อนต่ำและสีดำซึ่งมีค่าการดูดรังสีความร้อนสูง ขบวนการวิจัยอาศัยการจำลองสภาพอาคารด้วยกล่องทดลองสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ จำนวน 8 กล่อง โดยแต่ละกล่องได้จัดทำโครงสร้างที่เหมือนกัน ด้วยผนังที่มีค่าการกันความร้อนสูง คือ โพลีสไตรีนโฟมที่มีความหนาถึง 4 นิ้ว ทั้ง 5 ด้าน ส่วนด้านที่ 6 เป็นผนังที่ใช้ทดลองในแต่ละชุดของการวิจัยเปรียบเทียบผนังที่มีมวลสารสูงและต่ำ ได้ถูกปรับสภาพผนังทดลองในห้องปฏิบัติการจนมีค่าสัมประสิทธิการถ่ายเทความร้อนเท่ากันในแต่ละชุด ก่อนที่จะนำไปทำการศึกษาในสภาพภูมิอากาศจริง ภายนอกห้องทดลอง ผลของการวิจัยพบว่า ผนังที่มีค่าสัมประสิทธิการถ่ายเทความร้อนเท่ากันนั้น จะมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิภายในใกล้เคียงกันคือความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญ ทั้งกล่องทดลองที่มีมวลสารและสีที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายเทความร้อนของผนังที่มีมวลสารสูงและมวลสารต่ำ ตลอดวงจร 24 ชม.ของวัน มีความแตกต่างของอุณหภูมิภายในน้อยกว่าผนังที่มีมวลสารน้อยมาก โดยที่ค่าความแตกต่างนี้จะมีค่าเพิ่มขึ้นมากในผนังที่มีการดูดความร้อนสูงเช่นสีดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบว่า ผนังที่มีค่าสัมประสิทธิการถ่ายเทความร้อนเท่ากันนั้นในสภาพการใช้งานจริงจะได้ค่าปริมาณความร้อนที่เข้าสู่อาคารสูงสุดและต่ำสุดแตกต่างกันมากทั้งทางด้านปริมาณและเวลา ที่ความร้อนสูงสุดและต่ำสุดเข้าสู่อาคาร ผลของการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับงานออกแบบ กล่าวคือช่วยให้สามารถหาค่ามวลสารที่เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งานเพื่อลดความร้อนที่จะเข้ามาสู่อาการในช่วงร้อนสุดของวัน
Other Abstract: The objective of this research is to investigate the impact of thermal mass and color on heat transfer through a wall. It is expected that the obtained information can be utilized in a passive building design, especially when it is furnished with no air conditioning system. The material of high thermal mass selected for this study was a typical bricks and mortar wall of 4 and 8 inch thick. The low thermal mass material used was a polystyrene foam which had the same heat transmission coefficient of the above 4 and 8 inches brick wall respectively. All of these walls were studied in both black and white surface colors in order to compare the effect of different surface absorption. In the research process, 8 test cells of 2 feet cube were built to simulate the effect of heat transmission in to the test cells. Five sides of each test cell was constructed with a 4 inch-thick polystyrene foam, leaving one side open for an installation of the material studied. The test cell were then calibrated under the steady state condition before the actual simulation process on outside weather condition. Through the simulation process, it is found that the average inside temperature of the test cell with high and the cell with low thermal mass had no significance difference. These are also true for both the black and the white surfaces. The temperature profiles over a 24 hour cycle, however, were totally different. The cell with high thermal mass exhibited a much lower temperature swing while shifting the peak temperature toward the end of the day of evening. This finding is very valuable to use as a guide line for selecting an appropriate material to reduce the peak load for a building. This research reveals that the material with the same heat transmission coefficient ("U" value) but different in thermal mass and surface color can result in a major differences in both the amplitude of the peak load and the time when the peak occurs.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62734
ISBN: 9745847135
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sinirat_pa_front_p.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
Sinirat_pa_ch1_p.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Sinirat_pa_ch2_p.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Sinirat_pa_ch3_p.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open
Sinirat_pa_ch4_p.pdf21.42 MBAdobe PDFView/Open
Sinirat_pa_ch5_p.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open
Sinirat_pa_back_p.pdf30.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.