Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62821
Title: สถานะทางกฎหมายและความรับผิดของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท
Other Titles: Legal status and liability of company's promoter
Authors: สุกิจ โสภิตลี้วัฒนานนท์
Advisors: พิเศษ เสตเสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมายบริษัท
ความรับผิด (กฎหมาย)
Corporation law
Liability (Law)
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในฐานะเป็นผู้วางรากฐานให้บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นในอนาคต ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมีความสัมพันธ์ตามกฎหมายกับบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้น ผู้จองหุ้น ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทด้วยกันเองและบุคคลภายนอกที่เข้ามามีนิติสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องในการจัดตั้งบริษัท แต่เนื่องจากตามหลักกฎหมายบริษัทเอกชนและบริษัทมหาชนของไทยที่เกี่ยวกับ ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมิได้บัญญัติไว้ชัดเจนครบถ้วน ในเรื่อง หน้าที่ ความรับผิด สิทธิ และรูปแบบของการเป็นผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท ดังนั้น จึงอาจก่อให้เกิดช่องทางแก่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทกระทำการโดยมิชอบ และเป็นปัญหาในการใช้การตีความกฎหมายดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนจึงได้มุ่งศึกษาวิจัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท 5 กรณี คือ 1. สถานะทางกฎหมาย 2. หน้าที่ 3. ความรับผิดชอบ 4. สิทธิ และ 5. รูปแบบของการเป็นผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท กับได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวดังนี้ 1. หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทซึ่งมิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร อาจนำมาใช้บังคับได้โดยตรงในฐานะเป็นหลักกฎหมายของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท หรืออาจจำใช้บังคับโดยอาศัยประมวลกฎหมายแพร่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ในกรณีอาศัยเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับหลักกฎหมายเรื่อง ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนและตัวแทน 2. ในอนาคตสมควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท โดยบัญญัติหลักกฎหมายที่มิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรดังกล่าว ในข้อ 1 ไว้ให้ชัดเจน
Other Abstract: The company promoters are the one who fundamentally play vital role in the establishment of a company. They are also the ones who set up plans and actually form the whole establishment. These persons unavoidably must legally involve with several persons including the company to be established, the share subscribers, the promoters themselves as well as all other third parties who somehow enter into some legal relationship in the course of the setting up of the company. Since the principle of private and public company law in Thailand regarding to promoters seems to be partly unclear on the duties, liabilities, right and the commencement of the promoter status. This ineffectiveness may cause problems in the interpretation, and may create some abuses, of law. This thesis is aimed to research on five legal issues concerning the company promoters, i.e. their legal status, duties, liabilities, rights and commencement. The research shows as follows: 1. The company promoters have their own legal status and concept, with respect to their duties, liabilities and right, even though the law may not expressly provide for. Alternately, the principles of ordinary partnership of agency may be applied to the promoters on the analogous basis under Section 4 of the Civil and Commercial Code. 2. However, for the avoidance of doubt on the applicability of the abovementioned principles, and amendment of the law regarding promoters should be made in order to put the said legal concepts clearly in writing.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62821
ISBN: 9746333593
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukit_so_front_p.pdf10.97 MBAdobe PDFView/Open
Sukit_so_ch1_p.pdf13.35 MBAdobe PDFView/Open
Sukit_so_ch2_p.pdf43.56 MBAdobe PDFView/Open
Sukit_so_ch3_p.pdf27.75 MBAdobe PDFView/Open
Sukit_so_ch4_p.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Sukit_so_back_p.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.