Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62919
Title: การเปรียบเทียบประสิทธิผลของหัวขูดหินน้ำลายอุลตราโซนิก ระหว่างชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์ กับ ชนิดปลายโค้ง ในการกำจัดหินน้ำลายใต้เหงือก
Other Titles: Comparative effectiveness between ultrasonic scalers with probe-type tip and curved tip in the removal of subgingival calculus
Authors: สุพจน์ ตามสายลม
Advisors: ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา
วันดี อภิณหสมิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โรคปริทันต์
เครื่องมือขูดหินน้ำลาย
หินน้ำลาย
Periodontal disease
Scalers (Dentistry)
Dental calculus
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของหัวขูดหินน้ำลายอุลตราโซนิกระหว่างชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันด์ กับชนิดปลายโค้ง ในการกำจัดหินน้ำลายใต้เหงือก และเปรียบเทียบผลกระทบต่อผิวรากฟันภายหลังการใช้เครื่องมือทั้งสองชนิดในช่องปากของผู้ป่วยโรคปริทันต์อับเสบ โดยทำการขูดหินน้ำลายเฉพาะที่ด้านใกล้กลางและด้านไกลกลางในฟันรากเดียวที่ได้รับการวางแผนการรักษาว่าจะถอน กำหนดให้ด้านทั้งสองของฟันแต่ละซี่มีดัชนีหินน้ำลายและความลึกของพ็อกเก็ตที่หยั่งได้เท่าๆ กัน ทำการสุ่มตัวอย่างในแต่ละด้านของฟันซี่หนึ่งๆ เพื่อเลือกชนิดของเครื่องมือที่จะใช้ในการขูดซึ่งได้แก่ หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์ หรือ ชนิดปลายโค้ง การขูดหินน้ำลายจะทำจนกระทั่งเมื่อตรวจด้วยเครื่องมือเอกซพลอเรอร์แล้วรู้สึกว่าผิวฟันเรียบและสะอาด จากนั้นถอนฟันออกมา แล้วนำมาประเมินผลโดยแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก เป็นการประเมินประสิทธิผลของเครื่องมือในการกำจัดหินน้ำลายใต้เหงือก โดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอในการพิจารณาปริมาณของหินน้ำลายที่หลงเหลืออยู่บนผิวรากฟัน จากฟันทั้งหมด 51 ซี่ แบ่งออกเป็น กลุ่มที่ใช้หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันด์และกลุ่มที่ใช้หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดปลายโค้ง กลุ่มละ 51 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้หัวขูดหินน้ำลายอุลตราโซนิกชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์มีโอกาสพบหินน้ำลายหลงเหลืออยู่ร้อยละ 33.3 ของจำนวนด้านทั้งหมดซึ่งมากกว่า ภายหลังการใช้หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดปลายโค้งที่มีโอกาสพบร้อยละ 23.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามดัชนีหินน้ำลายและตามความลึกของพ็อกเก็ต 3-5 มิลลิเมตร และ 6-10 มิลลิเมตร พบว่า จำนวนด้านที่พบหินน้ำลายหลงเหลืออยู่ของทั้งสองกลุ่ม แทบจะไม่มีความแตกต่างกันในทางคลินิก นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาปริมาณของหินน้ำลายที่หลงเหลืออยู่ของทั้งสองกลุ่มก็ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยส่วนใหญ่พบว่า ปริมาณของหินน้ำลายที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงบริเวณเล็ก ๆ คือ ประมาณร้อยละ 0.1-0.5 ของพื้นที่ผิวรากฟัน ในขั้นตอนที่สอง เป็นการประเมินผลกระทบของเครื่องมือทั้งสองชนิดต่อผิวรากฟัน โดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด จากฟันทั้งหมดจำนวน 10 ซี่ แบ่งเป็น กลุ่มที่ใช้หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์ และกลุ่มที่ใช้หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดปลายโค้งกลุ่มละ 10 ด้าน ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการใช้หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์ ทำให้ผิวรากฟันมีค่ามัธยฐานของดังชนีความขรุขระและการสูญเสียเนื้อฟัน เท่ากับ 2 ซึ่งน้อยกว่า ภายหลังการใช้หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดปลายโค้งที่มีค่ามัธยฐานของดัชนีความขรุขระและการสูญเสียเนื้อฟันเท่ากับ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยสรุปว่า หัวขูดอุลตราโซนิกชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์มีประสิทธิผลในการกำจัดหินน้ำลายใต้เหงือกไม่แตกต่างจากหัวขูดอุลตราโซนิกชนิดปลายโค้ง แต่ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวรากฟันน้อยกว่า
Other Abstract: This investigation was performed to compare the effectiveness of ultrasonic scalers with probe-type tip and curved tip the removal of subgingival calculus, and to evaluate effect of the two ultrasonic scaler tips to root surfaces after instrumentation in patients with periodontal disease. It was done only on the proximal surfaces of single rooted teeth which had been planned for extraction. The mesial and distal surfaces of each selected tooth had the same calculus index and probing pocket depth. Two surfaces of each tooth were assigned by systematic randomization to be instrumented by different types of the ultrasonic scaler tips until the root surface felt smooth and clean as examined with explorer tip. After extraction, 51 teeth were studied under a stereomicroscope to assess the amount of residual calculus of each tooth surface. The result showed that the percentage of surfaces with residual calculus of the group using ultrasonic scaler with probe-type tip were 33.3 which was significantly greater than 23.5 of the group using ultrasonic scaler with curved cured tip (p>0.05), however, when standardizing the calculus index and probing pocket depth, the differences of the number of surfaces with residual calculus between the two groups were clinically non-significant. Most of the residual calculus area covered small area which was about 0.1-50 % of root surface area. No significant difference of the residual calculus area existed between the two groups. In addition, 10 teeth were examined under scanning electron microscope and then the roughness and loss of tooth substance scores were determined. The result indicated that the median of the scores of the group using probe-type tip and curved tip were 2 and 3, respectively. The former was less than the latter significantly (p>0.05). From the present study. It was concluded that the effectiveness of ultrasonic scalers with probe-type tip and curved tip were indifferent in the removal of subgingival calculus, but the probe-type tip caused less damage to the root surfaces.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปริทันตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62919
ISBN: 9745844527
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphot_ta_front_p.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open
Suphot_ta_ch1_p.pdf7.31 MBAdobe PDFView/Open
Suphot_ta_ch2_p.pdf16.68 MBAdobe PDFView/Open
Suphot_ta_ch3_p.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open
Suphot_ta_ch4_p.pdf11.25 MBAdobe PDFView/Open
Suphot_ta_ch5_p.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open
Suphot_ta_back_p.pdf7.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.