Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6301
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorผุสตี ปริยานนท์-
dc.contributor.authorกิ่งแก้ว วัฒนเสริมกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2008-03-19T09:29:13Z-
dc.date.available2008-03-19T09:29:13Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6301-
dc.description.abstractจากผลของการขยายตัวทางด้านโรงงานอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงานถ่านไฟฉาย โรงงานแบตเตอรี่ มีการทิ้งกากของเสียลงสู่สภาพแวดล้อม มีผลกระทบทำให้เกิดการสะสมปริมาณของโลหะหนักในสภาพแวดล้อมซึ่งได้แก่ แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) เป็นนต้น โลหะหนักเหล่านี้ถึงแม้จะมีปริมาณน้อยแต่ถ้ามีการสะสมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอาจจะเป็นพิษรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตได้ ทั้งนี้เพราะโลหะหนักเหล่านี้มีอนุภาคขนาดเล็กมากซึ่งสามารถละลายได้ในขบวนการทางชีวเคมีของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต (Davision 1974, Leu 1973) และโลหะหนักเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้หลายวิธีการ เช่น การหายใจ รับประทานเข้าไป หรือซึมเข้าทางผิวหนัง เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณการสะสมของ Mn และ Zn ในดินและในกากของเสียในเขตโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมเป็นพิษและอาจจะทำให้เกิดอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้นได้ ผลของการวิเคราะห์พบว่า ปริมาณของ Mn ที่สะสมอยู่ในดินมีปริมาณตั้งแต่ 1200 ppm ถึง 300,000 ppm ปริมาณของ Zn ที่สะสมในดินมีอยู่ตั้งแต่ 350 ppm ถึง 53,750 ppm เมื่อเทียบกับปริมาณของ Mn และ Zn ในดินทั่วไปซึ่งมีระหว่าง 76 ppm ถึง 260 ppm และ 1.49 ppm ตามลำดับ ส่วนในกากของเสียใน Mn และ Zn มีปริมาณตั้งแต่ 20,100 ppm ถึง 366,250 ppm และ 25,000 ppm ถึง 72,500 ppm ตามลำดับ ดังจะเห็นได้ว่าปริมาณของ Mn และ Zn ที่สะสมอยู่ในดินและในกากของเสียในเขตโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณที่สูงมาก ถึงระดับที่อาจจะมีผลต่อการให้เกิดสภาวะแวดล้อมเป็นพิษได้ และเนื่องจากการที่โรงงานมีการปลดปล่อยให้โลหะหนักลงสู่สภาพแวดล้อมเป็นจำนวนมาก และเกือบตลอดเวลาโดยไม่ได้มีวิธีการที่กำจัดของเสียเหล่านี้ให้ดีพอ จึงทำให้ฤดูกาลแทบจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการลดปริมาณการสะสมของโลหะหนักในดินที่อยู่ในเขตโรงงานอุตสาหกรรมเลยเมื่อเปรียลเทียบปริมาณการสะสมระหว่าง 3ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาวen
dc.description.abstractalternativeProblems of heavy metal come from the factories have imperfect precaution to pretect distribution to environment. Heavy metal concentrations in soil may be elevated considerably when metal sewage sludge from Battery Plant is spread on land. At present, Manganese are most important metal that found to be the problems when the workers are exposed by pollution from Battery Plant. Soil and sewage samples taken from Battery Plant in Bangkok Metropolitan area. The heavy metals determined are manganese and zinc. The amounts of Mn and Zn, in soil, found as high as are 1,200 ppm - 300,000 ppm and 350 ppm - 53,750 ppm, respectively. In sewages found as high as are 20,100 ppm - 336,250 ppm and 25,000 ppm - 72,000 ppm, respectively when comparison to control soil samples (Mn, 76 ppm - 260 ppm; zn 1.49 ppm - 11.90 ppm). A comparison of the concentration changing amounts of three seasons (Summer, Rainy and Winter) is also given. The results show that amount of Mn and Zn in soils and sewages did not change significantlyat 5% level.en
dc.format.extent4025216 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectตะกั่วเป็นพิษen
dc.subjectแมงกานีส--แง่สิ่งแวดล้อมen
dc.subjectตะกั่ว--แง่สิ่วแวดล้อมen
dc.subjectโรงงานถ่านไฟฉาย--การกำจัดของเสียen
dc.titleการวิเคราะห์หาปริมาณของแมงกานีส สังกะสีในดินและกากของเสียของโรงงานถ่านไฟฉายในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDetermination of manganese and zinc in soil and sewage sludge from battery plant; Bangkok Metropilitan areaen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorPutsateep@yahoo.com-
dc.email.authorkingkaw.w@chula.ac.th-
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kingkaew(bat).pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.