Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6315
Title: การคัดแยกและศึกษาลักษณะของแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายสารประกอบ Polycyclic aromatic hydrocarbons : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Screening and characterization of polycyclic aromatic hydrocarbons degrading bacteria
Authors: กาญจณา จันทองจีน
กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์
ณัฐพันธุ์ ศุภกา
Email: Jkanchan@chula.ac.th
kobchai@sc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ. ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิชาการ
Subjects: ดิน
ฟีแนนทรีน
แบคทีเรีย
โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน
Issue Date: 2544
Publisher: ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบคทีเรียซึ่งสามารถย่อยสลายสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ P2 ANT1 และ CU-A1 คัดแยกได้จากแหล่งดินปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในประเทศไทยแบคทีเรียสายพันธุ์ P2 ซึ่งสามารถย่อยสลายฟีแนนทรีนคัดแยกได้จากดินปนเปื้อนน้ำมันเครื่องในจังหวัดปราจีนบุรี แบคทีเรียสายพันธุ์ ANT1 ซึ่งสามารถย่อยสลายแอนทราซีนและแบคทีเรียสายพันธุ์ CU-A1 ซึ่งย่อยสลายอะซีแนพธิลีนคัดแยกได้จากดินปนเปื้อนน้ำมันปิโตรเลียมในกรุงเทพมหานคร เมื่อนำมาจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธานตามลักษณะฟีโนไทป์ ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับเบสของ 16 เอสไรโบโซมัลดีเอ็นเอ พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ P2 และ ANT1 เป็นแบคทีเรียในสกุล Sphingomonas ส่วนแบคทีเรียสายพันธุ์ CU-A1 จัดเป็นแบคทีเรียในสกุล Rhizobium ซึ่งเป็นการพบครั้งแรกสำหรับเชื้อแบคทีเรีย Rhizibium ที่สามารถย่อยสลายอะซีแนพธิลีนซึ่งเป็น PAHs Sphingomonas sp. สายพันธุ์ P2 ย่อยสลายฟีแนนทรีนในอาหารเหลว CFMM ได้อย่างรวดเร็วจากปริมาณเริ่มต้น 100 มก.ต่อ มล. ลดเหลือในปริมาณที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยไฮเพอร์ฟอมานซ์วิควิดโครมาโตกราฟีหลังเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 72 ชั่วโมง นอกจากนี้แบคทีเรียสายพันธุ์ P2 สามารถย่อยสลายแนพธาลีน อะซีแนพธิลีน อะซีแนพธีน ฟลูออรีน แอนทราซีน และไดเบนโซฟูแรน Sphingomonas sp. สายพันธุ์ ANT1 ย่อยสลายแอนทราซีนเป็นสารมัธยันต์ที่ไม่สามารถย่อยสลายต่อไปชนิดหนึ่งซึ่งมีค่า Rt2 นาที เมื่อเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ซึ่งสารมัธยันต์ชนิดนี้อาจเป็นเหตุให้จำนวนเซลล์ลดลง นอกจากแอนทราซีนแล้วสายพันธุ์ ANT1 ยังสามารถย่อยสลายแนพธาลีน ฟีแนนทรีนไดเบนโซฟูแรน และฟลูออรีน Rhizobium sp. สายพันธุ์ CU-A1 ย่อยสลายอะซีแนพธิลีนในอาหารเหลว CFMM จากปริมาณเริ่มต้น 600 มก.ต่อ มล. จนไม่สามารถวัดได้โดยวิธีไฮเพอร์ฟอมานซ์วิควิดโครมาโตกราฟีหลังการเลี้ยงเชื้อ 3 วัน นอกจากอะซีแนพธิลีนแล้วสายพันธุ์ CU-A1 ยังสามารถย่อยสลายแนพธาลีน ไดเบนโซฟูแนน และอะซีแนพธีน
Other Abstract: Three PHAs degrading bacterial strains, P2 ANT1 and CU-A1 were isolated from petroleum-contaminated soils in Thailand. Strain P2, able to degrade phenanthrene was isolated from lubricant-contaminated soil sample in Prajinburi. Strain ANT1 and strain CU-A1, able to degrade anthracene and acenaphthylene respectively, were screened from petroleum-contaminated soil in Bangkok. Phenotypic characterization along with 16S ribosomal DNA sequence analysis indicated that strain P2 and ANT1 belong to genus Sphingomonas, while strain CU-A1 belongs to genus Rhizobium. This was the first finding that Rhizobium sp. Can degrade the PAH, acenaphthylene. Sphingomonas sp. Strain P2 rapidly mineralized phenanthrene in liquid medium from 100 mg.l[superscript -1] to undetectable amount by HPLC analysis within 72 h. In addition strain P2 was able to utilize naphthalene acenaphthylene acenaphthene fluorine anthracene and dibenzofuran. Strain ANT1 degraded anthracene to an unidentified dead-end metabolite of retention time 2 minutewithin 48 h. causing a decline in cell growth. Apart from anthracene, strain ANT1 readily mineralized naphthalene phenanthrene dibenzofuran and fluorene. Rhizobium sp. Strain CU-A1 used up the supplemented acenaphthylene (600 mg.l[superscript -1] of CFMM) on the third day of cultivation as determined by HPLC. Besides acenaphthylene, strain CU-A1 can oxidizes naphthalene dibenzofuran and acenaphthene.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6315
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchana(srceen).pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.