Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63224
Title: ประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังอิฐที่มีการบังแดดด้วยตัวเอง
Other Titles: Thermal performance of self-shaded brick wall
Authors: ธนาบดินทร์ สิปปภากุล
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังที่มีการบังแดดด้วยตัวเอง โดยเน้นศึกษาผลกระทบของเงาบนผนังที่มีการแปรเปลี่ยนตลอดเวลาตามองศาของแสงแดดในรูปแบบของ Dynamic Façade ซึ่งเกิดจากสัดส่วนการยื่นของก้อนอิฐและการเรียงอิฐด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กำหนดให้มีการสร้างกล่องทดลองไปวางในสถานที่จริงและทำการเก็บข้อมูลโดยการวัดค่าอุณหภูมิและนำไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน Ueff ของผนังที่มีการบังแดดด้วยตัวเองเพื่อเพื่อสามารถนำไปใช้ในการคำนวณ OTTV ตามกฏกระทรวง ในขั้นสุดท้ายได้ศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานตลอดทั้งปีของอาคารสำนักงานขนาดกลางที่มีการใช้งานในเวลากลางวัน ด้วยโปรแกรม VisualDOE 4.0            ผลการศึกษาพบว่าผนังอิฐมีสัดส่วนการยื่นของก้อนอิฐมากจะมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งที่ผิวภายในและบริเวณกึ่งกลางกล่องต่ำกว่าผนังอิฐมีสัดส่วนการยื่นของก้อนอิฐน้อยหรือผนังที่ไม่มีการยื่น โดยอุณหภูมิสูงสุดที่ผิวในของผนังที่มีสัดส่วนการยื่น 45% มีค่ามากกว่าอุณหูมิสูงสุดที่ผิวในของผนังอิฐเรียบ (Basecase) เท่ากับ 4.6 ̊C ส่วนผนังอิฐที่มีสัดส่วนการยื่นเท่ากันแต่วิธีการเรียงแตกต่างกันพบว่ามีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งที่ผิวภายในและบริเวณกึ่งกลางกล่องแตกต่างกันเพียง 0.2 ̊C ส่วนผลคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนพบว่าผนังที่มีสัดส่วนการยื่นมากจะมีค่า Ueff ต่ำกว่าผนังที่มีสัดส่วนการยื่นน้อย และในช่วงที่ดวงอาทิตย์ทำมุมสูงกับผนัง U-value จะมีค่าต่ำกว่าในช่วงที่ดวงอาทิตย์ทำมุมต่ำกับผนัง โดยค่า Ueff ต่ำสุดที่คำนวณได้คือผนังที่มีสัดส่วนการยื่น 45% ในวันที่ดวงอาทิตย์ทำมุม 70̊ กับผนัง คำนวณค่าได้ 1.61 W/(m2 ̊C) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับอิฐมวลเบาที่มีความหนาใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นผลการศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานตลอดทั้งปีพบว่าอาคารกรณีตัวอย่างที่มีการใช้ผนังอิฐที่มีการบังแดดด้วยตัวเองมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าในด้านการทำความเย็นลดลงร้อยละ 2.6 ต่อปี จึงสามารถสรุปได้ว่าประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังอิฐที่มีการบังแดดด้วยตัวเองจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนการยื่นของก้อนอิฐและองศาแดดที่ทำมุมกับผนังในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างของปริมาณเงาบนผนังจึงส่งผลต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนัง โดยรูปแบบการเรียงอิฐที่แตกต่างกันในสัดส่วนการยื่นเท่ากันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านความร้อนค่อนข้างน้อย
Other Abstract: The objective of this study is to evaluate the thermal performance of self-shaded brick wall. The effect of shade on the wall as a result of different Extrusion Percentage (E.P.) of brick and brick patterns, which is the dynamic façade that change throughout the day depending on the angle of the sunlight, was determined. Thermal transmittance or U-values of each experimental condition were calculated from temperatures obtained from mockup units in the experimental field. After that, they were used for determined the Overall Thermal Transfer Value (OTTV) according to the Ministry of Energy’s rule and evaluated the annual energy efficiency of daytime-usage low rise office building using VisualDOE 4.0 Results showed that the self-shaded brick wall which has the higher E.P. could reduced the average temperature better than the lower E.P. The highest temperature measures at the inner surface of basecase was significant higher than those of the E.P. 45% wall by 4.6 ̊C. Meanwhile, the temperature difference among different brick patterns at the same E.P. was not obvious (average temperature difference was 0.2 ̊C.). The calculation of U-values revealed that they were affected by two factors. Higher E.P. wall and higher sunlight angle resulted in lower Ueff. The lowest calculated Ueff was 1.61 W/ (m2 ̊C) similar to the Autoclaved Aerated Concrete Masonry. Moreover, the results of energy simulation show that the buildings which apply self-shade brick wall can reduce the cooling energy consumtion by 2.6% per year. It can be concluded that the thermal performance of self-shaded brick wall was not significantly affected by different brick patterns but noticeably by Extrusion Percentage and solar angle which varies throughout the year. The latter factor plays an important role in formulating different shadow areas on the wall and consequently affected heat transfer.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63224
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1168
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1168
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973351525.pdf8.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.