Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63316
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Development Of Activity Management Using Transformative Learning Theory And Transtheoretical Model For Reducing Alcohol Drinking Behaviors Of Undergraduate Students
Authors: ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล
Advisors: รุ่งระวี สมะวรรธนะ
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Rungrawee.Sa@Chula.ac.th
Aimutcha.W@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต  2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเป็นนิสิตนักศึกษาที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านเกณฑ์การคัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และระยะติดตามผลหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่า “ที” วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ หลักการและแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมจำนวน 10 กิจกรรม และการประเมินผลด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ การจัดกิจกรรมจำนวน 10 กิจกรรม มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้น คือ ขั้นสร้างความตระหนักรู้ ขั้นเตรียมตัวสู่การปฏิบัติ ขั้นปฏิบัติและสะท้อนผลการปฏิบัติ ประกอบด้วย กิจกรรมรู้เอาไว้พิษภัยแอลกอฮอล์ กิจกรรมมารู้จักตัวเอง กิจกรรมพี่เล่าเรื่องเหล้า กิจกรรมบุคลิกพิชิตแอลกอฮอล์ กิจกรรมแนะนำฉันทีเพื่อหนีแอลกอฮอล์ กิจกรรมประกาศตนผ่านพ้นแอลกอฮอล์ กิจกรรมบัดดี้ที่รัก กิจกรรมนันทนาการสร้างสุข กิจกรรมรายงานตนประกาศผลคนเก่งกล้า และกิจกรรมหนีภัยห่างไกลแอลกอฮอล์ ทั้งนี้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (IOC = 0.9) 2) การหาประสิทธิผลของรูปแบบสามารถสรุปได้ ดังนี้ 2.1 ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความถี่ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to: 1) develop activity management model using Transformative Learning Theory (TLT) and Transtheoretical Model (TTM) for reducing alcohol drinking behaviors of undergraduate students. 2) study the effectiveness of the model. The subjects were selected by purposive selection method. There were 60 voluntary students participated in this study and divided into 2 groups as 30 students in the experimental group and another 30 students in the control group. Three times collecting the data were operated, pre-test, post-test after 6 weeks experimental, and follow-up stages after 4 weeks of experimental. The data were analyzed using mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance with the repeated measure and LSD. The differences of reducing alcohol drinking behaviors average scores of the experimental group and the control group by using t-test. The research findings were as follows: 1) The developed model with Index of Congruence (IOC = 0.9) consisted of 4 elements: Principle and concept based on TTM and TLT, Objectives, 10 activity managements, and evaluation of knowledge, attitude, practice, and frequency of drinking alcohol. The 10 activity managements were composed of 3 steps, 1. Creating Awareness 2. Preparing to Practice 3. Practicing and practice reflecting with 10 activities: Knowledge of Alcohol; Self-assessment; Study from Dramatic; Exploration of new action; Social Support; Self-liberation; buddy support; Recreation Funny; Report for reinforcement and Alcohol Counseling.  . 2) The effectiveness of the model were as follows: 2.1 The effectiveness of the model in the alcohol drinking behaviors of undergraduate students in the areas of knowledge, attitude, practice and frequency of experimental group after experiment and follow-up phase, the mean scores were found significantly less than before experiment at the .05 level. 2.2 In addition, resulting differently in terms of knowledge, attitude between the experimental group and the control group with statistical significance at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63316
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1437
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1437
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684204527.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.