Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63376
Title: | การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย |
Other Titles: | Physical Education Learning Management Using Thai Folk Games To Enhance Physical Fitness, Honesty And Responsibility Of Early Childhood |
Authors: | วรรณนิศา พงษ์จิรังกาล |
Advisors: | สุธนะ ติงศภัทิย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suthana.T@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย และของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ ตัวอย่างคือ นักเรียนปฐมวัยชั้นปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จำนวน 46 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 16 แผน แบบทดสอบมรรถภาพทางกาย และแบบวัดความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกาย ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this study were 1) to compare the average score of physical fitness, honesty and responsibility before and after of the experimental group which received physical education learning management using thai folk games and the control group which received regular learning management, and 2) to compare the average score of physical fitness, honesty and responsibility after the experimental between group received physical education learning management using thai folk games and the control group which received regular learning management. The sample included 46 students from early childhood, age 5-6 years old, of one School in Bangkok. There were 23 students in the experimental group and 23 students in the control group. The research instruments were comprised of sixteen physical education learning management using thai folk games, physical fitness test, honesty and responsibility test. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1) The average of physical fitness test results, honesty and responsibility scores of the experimental group after implementation was significantly higher than before implementation at .05 level 2) The average of physical fitness test results, honesty and responsibility scores of the experimental group after implementation was significantly higher than the control group at .05 level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63376 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1441 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.1441 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6083378627.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.