Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63453
Title: ความสุขเชิงอัตวิสัย การเห็นคุณค่าในตนเอง และทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นของสาววายในประเทศไทย
Other Titles: Subjective well-being, self-esteem, and attitude towards imagined couples of Yaoi fangirls in Thailand
Authors: ณิณา ธนทัดนัททนน
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Siriluck.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้น การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุขเชิงอัตวิสัย รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของสาววายในประเทศไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 1,745 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบ แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดระดับความสุขคนไทย (THI-15) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแคว์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 22.63 ปี ส่วนใหญ่มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 38.8 ในขณะที่ร้อยละ 34.1 มีความสุขมากกว่าคนทั่วไป และร้อยละ 27.1 มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นคุณค่าในตนเองในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 46.6 และส่วนใหญ่มีความคลั่งไคล้คู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 70.5 โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาในการติดตามคู่จิ้นหรือคู่ชิปน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 82.6 นอกจากนี้ยังพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยนั้น มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (R = 0.745, p < 0.001) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสุขเชิงอัตวิสัย ได้แก่ การมีแฟน การเปิดเผยตัวตนว่าเป็นสาววาย การไม่มีความเจ็บป่วยทางจิตเวชของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ความคลั่งไคล้คู่จิ้นต่ำ และการเห็นคุณค่าในตนเองสูง โดยพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำนายความสุขเชิงอัตวิสัยของสาววายในประเทศไทยได้ (R2 = 0.555) กล่าวโดยสรุปคือ สาววายในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความคลั่งไคล้คู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบ การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุขเชิงอัตวิสัยในระดับปานกลาง การเห็นคุณค่าในตนเองนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำนายความสุขเชิงอัตวิสัย และทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบได้ ผลการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ให้การดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมสุขภาพจิตของสาววายในประเทศไทยอย่างเหมาะสมต่อไป
Other Abstract: The purpose of this research is to study the attitude towards imagined couples, self-esteem, and subjective well-being of yaoi fangirls in Thailand, and associated factors. This cross-sectional descriptive study was conducted among 1,745 literate Thai yaoi fangirls, aged from 18 years old in August 2018. The instruments were online questionnaires, consisting of general information, Imagine couple Attitude Scale, Self-esteem Inventory, and Thai Happiness Indicator (THI-15). Statistics used to analyze data were frequencies, percentages, mean, standard deviation, Chi-square test, Pearson correlation, One-way ANOVA, Logistic regression, and Multiple linear regression. Of the total participants, the average age was 22.63 years old. 38.8% were as happy as general Thai population, while 34.1% were happier and 27.1% had less happiness than those in general. 46.6% had moderate self-esteem, whereas 70.5% had moderate level of imagined couple worship, and 82.6% spent their time following the imagined couples less than or equal to 6 hours per day. There was a strong positive correlation between self-esteem and subjective well-being (R = 0.745, p < 0.001). Factors related to subjective well-being were having lover, exposing oneself as yaoi fangirl, no self and family’s mental illnesses, low imagined couple worship, and high self-esteem. Of all mentioned, self-esteem seemed to be the major factor that can predict subjective well-being (R2 = 0.555). Most of yaoi fangirls in Thailand were found to have normal level of imagined couple worship, self-esteem, and subjective well-being. Self-esteem was a factor that could predict subjective well-being and attitude towards imagined couples. The results of this study would be beneficial for understanding yaoi fangirls in Thailand, and providing appropriate care.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63453
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1422
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1422
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074255630.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.