Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63543
Title: | Using N-Alkane As A Proxy To Reconstruct Paleoenvironment In Thale Noi, Phatthalung Province |
Other Titles: | การใช้ เอ็น แอลเคน เป็นตัวบ่งชี้เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมบรรพกาล บริเวณทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง |
Authors: | Assuma Sainakum |
Advisors: | Akkaneewut Chabangborn Piyada Jittangprasert |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Science |
Advisor's Email: | Akkaneewut.C@Chula.ac.th Piyadaj@g.swu.ac.th |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Normal alkane (n-alkane) is the widely used hydrocarbon proxy for the paleoenvironmental study because of their specific characteristic and resistance to microbial degradation. The n-alkanes from the sediment cores TLN-CP5 and TLN-CP7 from Thale Noi, Phatthalung Province, were analyzed and subsequently compared with those derived from the recent plant samples. The plant samples were taken from mangrove forests, i.e. true mangrove, back mangrove, and mangrove associate, based on the previous study on pollen analysis. The n-alkane distributions, the average chain length (ACL), the carbon preference index (CPI) and the proportion of aquatic components (Paq) were further analyzed in order to reconstruct past environmental changes. For the modern plant samples, the n-alkane distributions, ACL and CPI values in each plant group are diverse and high uncertainty. These ambiguity results are possibly caused by growing environment influent on n-alkane synthesis and too small sample size to represent the entire plant groups. In contrast, the n-alkanes distribution and their parameters in lake sediment have obviously corresponded to change of paleoenvironment. Our results suggest that the change of C21, C27, C29, and C31 abundances of n-alkane indicate the dynamic of vegetations and water level in the lake. C21 relate to the high-water level that opposing to C27, C29, and C31. The ACL, CPI, and Paq can be used to indicate a sea-level fluctuation. During about 8,300 to 8,000 cal yr BP, the ACL and CPI gradually increase that suggest a sea level regression. And then the ACL and CPI gradually decrease about 7,600 to 7,200 cal yr BP that correspond to a transgression. A high Paq and increasing of ACL and CPI presence in the surface sediment demonstrate that freshwater has more influence than seawater after 7,200 cal yr BP to recent. |
Other Abstract: | สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวโซ่ตรง (เอ็น แอลเคน) เป็นตัวบ่งชี้ไฮโดรคาร์บอนที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาสภาพแวดล้อมบรรพกาล เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะและความทนทานต่อการถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เอ็น-แอลเคนในแท่งตะกอน TLN-CP5 และ TLN-CP7 จากทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยการศึกษานี้ได้ทำการสกัดเอ็น แอลเคนจากตัวอย่างตะกอน แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเอ็น แอลเคน ที่สกัดได้จากพืชปัจจุบัน ซึ่งพืชเหล่านี้เก็บมาจากกลุ่มพืชป่าชายเลน ได้แก่ ป่าชายเลนที่แท้จริง (true mangrove) ป่าบริเวณหลังแนวป่าชายเลน (back mangrove) และป่าชายเลนทั่วไป (mangrove associate) โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ละอองเรณูในทะเลน้อยจากการศึกษาก่อนหน้านี้ การกระจายตัวของเอ็น-แอลเคน ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ACL) ค่าอัตราส่วนปริมาณคาร์บอนอะตอมเลขคี่ต่อปริมาณคาร์บอนอะตอมเลขคู่ (CPI) และอัตราส่วนของปริมาณพืชน้ำ (Paq) ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้จำลองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมบรรพกาล สำหรับในตัวอย่างพืชปัจจุบันพบว่าการกระจายตัวของเอ็น-แอลเคน ค่า ACL และ CPI ในพืชแต่ละกลุ่มนั้นค่อนข้างหลากหลายและมีการกระจายตัวสูง ซึ่งผลลัพธ์ที่คลุมเครือนี้อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่พืชเจริญเติบโตในแต่ละพื้นที่มีผลต่อการสร้างเอ็น แอลเคนที่แตกต่างกัน และตัวอย่างพืชมีน้อยเกินไปจนไม่สามารถเป็นตัวแทนของกลุ่มพืชทั้งหมดได้ ตรงกันข้ามกับในตะกอนทะเลสาบที่การกระจายตัวของเอ็น-แอลเคน ค่า ACL และ CPI มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมบรรพกาลอย่างชัดเจน ผลการศึกษานี้แนะให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของ C21 C27 C29 และ C31 บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณและระดับน้ำในทะเลลสาบได้ โดย C21 สัมพันธ์กับระดับน้ำที่ค่อนข้างสูงซึ่งตรงข้ามกับ C27 C29 และ C31 ที่สัมพันธ์กับระดับน้ำที่ต่ำกว่า ส่วนค่า ACL CPI และ Paq สามารถนำมาใช้บ่งบอกความผันผวนของระดับน้ำทะเลได้ โดยการเพิ่มขึ้นของค่า ACL และ CPI บ่งบอกถึงการถดถอยของน้ำทะเลในช่วงประมาณ 8,300 ถึง 8,000 ปีก่อนปัจจุบัน จากนั้นค่า ACL และ CPI ค่อย ๆ ลดลงตอนประมาณ 7,600 ถึง 7,200 ปีก่อนปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ค่า Paq ที่สูงและการเพิ่มขึ้นของ ACL และ CPI ที่พบบริเวณผิวตะกอนแสดงให้เห็นว่าน้ำจืดมีอิทธิพลมากกว่าน้ำทะเลหลังจากช่วง 7,200 ปีก่อนปัจจุบันจนมาถึงปัจจุบัน |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2018 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Earth Sciences |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63543 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.172 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.172 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5972099223.pdf | 4.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.