Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/636
Title: | นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง |
Other Titles: | The essence of male classical dance |
Authors: | ชมนาด กิจขันธ์, 2498- |
Advisors: | สุรพล วิรุฬห์รักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Surapone.V@Chula.ac.th |
Subjects: | การรำ--ไทย นาฏศาสตร์ นาฏศิลป์--ไทย |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นาฏยลักษณ์เป็นลักษณะเฉพาะในลักษณะใดลักษณะหนึ่งของนาฏยศิลป์ที่ทำให้สามารถจำแนกได้ว่า นาฏยศิลป์อย่างหนึ่งแตกต่างกับนาฏยศิลป์อีกอย่างหนึ่งอย่างไร นาฏยศิลป์ของไทยเป็นการร่ายรำที่มีระเบียบแบบแผนสืบทอดมาจากราชสำนักด้วยการเริ่มต้นฝึกหัดรำเพลงช้าเพลงเร็วเป็นเวลานาน โดยเฉพาะท่ารำ "ตัวพระ" ซึ่งเป็นบทบาทตัวละครผู้ชาย แต่มีการใช้ผู้หญิงแสดง การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาองค์ประกอบ โครงสร้างและไวยากรณ์ของนาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบสหสาขาวิชาจาก ภรตนาฏยศาสตร์ ภาษาศาสตร์และทฤษฎีการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายของลาบาน (Laban Movement Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญของนาฏยลักษณ์คือ คุณลักษณะของอวัยวะเชิงกายภาพในด้านลักษณะรูปร่างหน้าตาและการจัดการกับอวัยวะให้แขนอ่อน นิ้วอ่อน ทิศทางที่ใช้ในการรำมี 16 ทิศทางจำแนกเป็น 3 ระดับได้แก่ ระดับสูงคือระดับศีรษะ ระดับกลางคือระดับไหล่ และระดับต่ำคือระดับหน้าท้อง ตำแหน่งของแขนที่อยู่ข้างหลังมีเพียงระดับเดียวคือ ระดับต่ำ มิติของนาฏยลักษณ์อยู่ที่การจัดวางเท้าเฉียงออกด้านข้าง ทำให้เกิดเป็นเหลี่ยมมุมเมื่อย่อเข่าลง อีกทั้งจะต้องหมุนแขนส่วนล่างเข้าหาตัวและออกจากตัวให้มากที่สุด เพื่อให้เห็นความโค้งของแขนอันเป็นรูปร่างและรูปทรงของท่ารำที่มีความภูมิฐาน สง่างาม กล้ามเนื้อสำคัญที่ใช้คือ กล้ามเนื้อเกลียวข้างและเกลียวหลัง ในด้านของโครงสร้างของนาฏยลักษณ์พบว่า ลักษณะของมือมี 3 แบบคือ มือแบ มือจีบและมือล่อแก้ว ทำท่ารำที่เรียกว่า แม่ท่ามี 88 ท่าและท่ารำชุด มี 7 ท่า หลักของการเคลื่อนไหวอวัยวะประกอบด้วยการรับน้ำหนักตัว หลักการหมุนกิ่งของร่างกาย ซึ่งพบว่าท่าทางของศีรษะและลำตัวส่วนบนกับท่าทางของขาและเท้าไม่ผูกพันกับท่าทางของแขนและมือ แต่จะช่วยสร้างความสมดุลของร่างกายในการรำและเป็นส่วนประกอบในการจัดวางตำแหน่งท่าทางเชิงทัศนศิลป์ ในด้านไวยากรณ์ของนาฏยลักษณ์พบว่าท่ารำประกอบด้วยหน่วยท่าต้น 49 หน่วย หน่วยท่าต่อ 5 หน่วยและหน่วยท่าตกแต่ง 21 หน่วย การประสมท่ารำ เกิดจากการประสมกันของหน่วยท่าทางทั้งสามที่เรียกว่า ท่าต้น ท่าต่อและท่าตาม ซึ่งท่าตามนั้นจะทำหน้าที่เป็นท่าต้นให้กับท่ารำต่อไป ลักษณะของการประสมท่ารำจึงสอดคล้องเกี่ยวพันกับเสมือนลูกโซ่จนจบเพลงรำ ผู้วิจัยได้จัดประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม มีผู้เข้าร่วมประชุม 78 คน เป็นศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญนาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลปิน อาจารย์สอนนาฏยศิลป์ในมหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยมและประถมศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ผลจากการประชาพิจารณ์และจากแบบสอบถามสรุปได้ว่า ผู้คนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการดำเนินการวิจัยและผลของการวิจัยมีความเหมาะสมมากที่สุดในด้านการประยุกต์ใช้มฤษฎีของลาบานวิเคราะห์ท่ารำ เป็นการเริ่มต้นสร้างแนวคิดการวิเคราะห์นาฏยศิลป์ไทย เป็นแหล่งข้อมูลของโครงสร้างและไวยากรณ์ของท่ารำ และการจัดระบบองค์ความรู้ของนาฏยศิลป์ไทยเผยแพร่สร้างความเข้าใจได้ในระดับสากล |
Other Abstract: | The essence of classical dance features the particular characteristics, which helps differentiate one theater form from the others. Thai dance theater is a form of disciplinary performing art which has been long transcended from court. Its training starts from 'pleng-char-pleng-raew' (elementary dance following the pace of slow to fast tempo). Among the various dancing styles of Thai classical dance is the pattern of 'tua-pra'(male characters) which is usually performed by female dancers. This research aims to explore the components, the structure and the grammar of such male characters' dance. Interdisciplinary approach is employed as the methodology of this research, relying on the principles of Bharata's Natyashastra theory of ancient Indian dance, Linguistics and Laban Movement Analysis. This research discusses some major essences of Thai classical dance. In terms of anatomy, arms and fingers must be bendable. There are 16 directions of dancing, involving 3 levels of body postures: high (head level), middle (shoulder level) and low (abdomen level). For the backward posture, the position of the arms must be at the low level. Placing footstep at the side-diagonal position creates visual dimension, which helps angular posture while kneeling down. To make the curving posture obviously visible and elegant, dancers must rotate their lower arms into and out of the body trunk as much as possible. The major used muscles are the set of side muscles and back muscles. In terms of structure, there are three patterns of hand posturing: 'mue-bae', 'mue-jeeb' and 'mue-loe-kaew'. There are 88 posturing patterns and 7 dancing sets. The principle of body movement concerns reciprocal relation between body weight taking and limb rotation. The posturing and the moving of arms and hands do not relate to those of head, body trunk, legs and feet, but help balance the body and implement visual aesthetics. Concerning the grammar, male characters' dancing has 49 alphabets, 5 vowels and 21 tonal accents. Each construction of dancing vocabularies comprises of 'ta-ton' (beginning posture), 'ta-tor' (interval posture), 'ta-tarm' (following posture) and 'ta-toke-tang' (decorative posture), which the last will become the beginning posture for the next vocabulary. With this logic, all dancing vocabularies are stringed together like a chain from the beginning through the end of a dancing set. The researcher held a conference to ask for peer comments from the circle of Thai dance. Among the 78 participants are National Artists, classical dance experts, dance artists, dance professors and teachers from various educational levels, and public. According to the consensus and the questionaire replies, most participants suggest that Labanotation is the most suitable approach for the analysis of Thai classical dance. It is a good source of structural investigations and vocabularies as well as a mean to organizing the body of knowledge on Thai classical dance in order to be disseminated to international communication. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/636 |
ISBN: | 9741761503 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chommannad.pdf | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.