Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63637
Title: Design of business intelligence system for point-of-sales software in full-service restaurants
Other Titles: การออกแบบระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจสำหรับโปรแกรมจัดการหน้าร้านในร้านอาหารประเภทบริการครบวงจร
Authors: Lalida Chunhasomboon
Advisors: Naragain Phumchusri
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Advisor's Email: Naragain.P@ Chula.ac.th
Issue Date: 2018
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Small and Medium-sized restaurants are faced with increasing competitions due to the rise of food reviews and food delivery mobile applications which increase accessibility and customer demands. In order to thrive in this competition, restaurant owners seek to know their performance beyond sales number as there are other aspects of restaurant management such as operations efficiency, inventory, and quality of service. However, the current offerings by various POS in the market do not provide such performance measures, making it impossible for owners to know and improve other dimensions of restaurant management. As a result, the case-study company identified the gap to fulfil this need and also an opportunity to provide a new value proposition to users, attracting new users and retaining existing ones. Thus, a business intelligence (BI) system with a dashboard was selected as the solution. There are 3 components to build the BI system for full-service restaurants: Key Performance Indicators (KPIs), dashboard display, and data warehouse. For KPIs, a variety of performance measures of restaurants was researched from academic journals and industry experts. Critical ones were selected based on a set of criteria and grouped together according to Balanced Scorecard to form a set of Key Performance Indicators (KPIs). Next, each selected KPI was carefully enriched by context and comparison, then chosen an appropriate display medium based on data types and relationships. Then, these KPIs were grouped and arranged to fit a 1-page tablet-sized dashboard. The last component is the data warehouse which was necessary to provide a new data source that contains aggregate values and is structured appropriately for reporting and analysis on the BI system. Dimensional data model was used to design the physical data model for software developers to implement in the future. The new design was then evaluated by 20 respondents who are the current users of the POS and current dashboard. They were asked to rate the current and the new design separately on the scale of 1 to 10. The rating results were further validated by Wilcoxon signed ranked test and it could be statistically shown that the new design is preferred by users to the current one. Users find the new dashboard more useful in providing them with relevant performance measures. Apart from the ratings, respondents also ranked their top 3 and bottom 3 KPIs and provided qualitative suggestion on the new design. Feedbacks were consolidated and the revised final version of the dashboard was created based on those feedbacks. In summary, this research is the first to create a BI system based on POS software for full-service restaurants. The KPIs were selected to be useful and practical while the display was carefully designed based on the principle of visual perception and enriched by useful context to encourage critical analysis. The set of KPIs and the new design were well-received as they provide an effective way to equip restaurant owners and managers with valuable performance measures to help manage their restaurants better.
Other Abstract: ร้านอาหารขนาดเล็กและขนาดกลางต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเข้าถึงที่ง่ายขึ้นและความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นจากการรีวิวร้านอาหารและแอพพลิเคชั่นสั่งอาหาร การที่ร้านอาหารจะแข่งขันในตลาดได้อย่างสูสี นอกจากการรู้รายได้แล้วเจ้าของร้านอาหารยังต้องการทราบถึงประสิทธิภาพในการจัดการร้านอาหารในด้านอื่นๆ เช่น การดำเนินงาน ระดับสินค้าคงคลัง และคุณภาพการบริการ อย่างไรก็ตามโปรแกรมจัดการหน้าร้าน (POS) ที่มีในปัจจุบันยังไม่มีการบอกถึงประสิทธิภาพในด้านอื่นๆ ทำให้เจ้าของร้านไม่สามารถที่จะรู้และปรับปรุงมิติอื่น ๆ ของการจัดการร้านอาหารได้ จึงเป็นผลให้บริษัทเล็งเห็นถึงช่องว่างของตลาดนี้ที่บริษัทสามารถตอบโจทย์ได้ รวมถึงโอกาสที่จะมอบคุณค่าใหม่ให้กับเจ้าของร้านอาหารเพื่อดึงดูดผู้ใช้ใหม่และรักษาผู้ใช้เดิม ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (BI) พร้อมหน้าจอแดชบอร์ดจึงเป็นสิ่งที่บริษัทต้องการจะพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด การออกแบบระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจสำหรับโปรแกรมจัดการหน้าร้านในร้านอาหารประเภทบริการครบวงจร ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) การแสดงผลบนแดชบอร์ด และคลังข้อมูล ขั้นตอนแรกคือการค้นหาการวัดผลงานในด้านต่างๆของร้านอาหารจากวารสารวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมร้านอาหาร ค่าชี้วัดหลายๆด้สนถูกนำมาผ่านกระบวนการคัดสรรจากกฎเกณฑ์ต่างๆและแบ่งประเภทตาม Balanced Scorecard เพื่อเป็น KPI ที่จะแสดงบนแดชบอร์ด หลังจากนั้นแต่ละ KPI จะได้รับการเพิ่มเติมบริบทและการเปรียบเทียบแล้วจึงเลือกการแสดงค่าที่เหมาะสมตามประเภทและความสัมพันธ์ของข้อมูล จากนั้น KPI เหล่านี้จะถูกจัดกลุ่มและจัดเรียงให้พอดีกับแดชบอร์ดขนาดหนึ่งหน้าแท็บเล็ต ส่วนประกอบสุดท้ายคือการออกแบบคลังข้อมูลเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลใหม่ที่จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมกับการนำไปทำรายงานและการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสำหรับคลังข้อมูลนี้ Dimensional modelling จะถูกนำมาใช้เพื่อออกแบบโครงสร้างข้อมูลไปถึงระดับที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถนำไปใช้เขียนระบบได้ในอนาคต หน้าจอแดชบอร์ดแบบใหม่ถูกประเมินโดยผู้ใช้งานปัจจุบันของ POS ของบริษัทจำนวน 20 ราย โดยที่ผู้ประเมินแต่ละคนให้คะแนนความพึงพอใจของแดชบอร์ดปัจจุบันและแดชบอร์ดแบบใหม่จาก 1 ถึง 10 ซึ่งผลการให้คะแนนได้ผ่านการตรวจสอบเพิ่มเติมโดย Wilcoxon signed rank test เพื่อพิสูจน์ว่าผู้ใช้มีความพอใจในแดชบอร์ดใหม่มากกว่าอันปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยรวมแล้วผู้ใช้ให้ความเห็นว่าแดชบอร์ดแบบใหม่นั้นแสดงข้อมูลที่มีประโยชน์มากขึ้น นอกจากนั้นผู้ประเมินได้ทำการเรียงลำดับ 3 KPI มีประโยชน์มากที่สุด และ 3 KPI ที่มีประโยชน์น้อยที่สุด ประกอบกับความคิดเห็นอื่นๆ ผู้วิจัยได้นำมาปรับปรุงแดชบอร์ดอีกครั้งเพื่อออกเป็นแดชบอร์ดเวอร์ชั่นสุดท้ายที่แก้ไขแล้ว โดยสรุปโครงการนี้เป็นงานวิจัยแรกที่ออกแบบระบบวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจโดยใช้ข้อมูลจากโปรแกรมจัดการหน้าร้านสำหรับร้านอาหารบริการเต็มรูปแบบ โดยที่ KPI จะเน้นให้มีประโยชน์และสามารถนำไปสร้างคุณค่าทางธุรกิจได้และการออกแบบแสดงผลที่ทำให้เข้าใจง่าย โดยรวมนั้น KPI และแดชบอร์ดได้รับผลตอบรับที่ดี มีประโยชน์ในการวัดประสิทธิภาพการทำงานซึ่งเจ้าของร้านสามารถนำไปพัฒนาการจัดการร้านอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้นในลำดับต่อไป
Description: Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 2018
Degree Name: Master of Engineering
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Engineering Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63637
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.193
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.193
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5971213221.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.