Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63640
Title: ประสิทธิภาพการยับยั้งการกัดกร่อนของสารโมโนเอทาโนลามีนสำหรับเหล็กกล้าในสารละลายกรดโพรไพโอนิก
Other Titles: Efficiency Of Monoethanolamine Corrosion Inhibitor For Steels In Propionic Acid Solution
Authors: ปฐมพร ลักขณาศรี
Advisors: กอบบุญ หล่อทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Gobboon.L@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาผลการยับยั้งการกัดกร่อนของสารโมโนเอทาโนลามีนสำหรับเหล็กกล้าคาร์บอน A283 ในสารละลายกรดโพรไพโอนิก 5% โดยปริมาตร ที่อุณหภูมิจุดเดือด ในสภาวะจุ่มอยู่ในสารละลายทั้งชิ้น จุ่มอยู่ในสารละลายและไอสารละลายอย่างละครึ่งหนึ่ง และในสภาวะไอสารละลาย ที่ความเข้มข้นของสารละลายโมโนเอทาโนลามีน 30-90% โดยน้ำหนัก และทดสอบในสารละลายกรดโพรไพโอนิกที่มีสารยับยั้งการกัดกร่อน B (มีส่วนผสมของโมโนเอทาโนลามีน 30-60% โดยน้ำหนัก) และในสารละลายกรดโพรไพโอนิกที่มีสารยับยั้งการกัดกร่อน A (มีส่วนผสมของโมโนเอทาโนลามีน 60-100% โดยน้ำหนัก) ในอัตราส่วน 100:1 และ 100:5 โดยปริมาตร การวัดอัตราการกัดกร่อนของเหล็กกล้าทำโดยการชั่งน้ำหนักเพื่อคำนวณอัตราการกัดกร่อน ศึกษาโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าที่ถูกการกัดกร่อนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (SEM) และวิเคราะห์ออกไซด์ของเหล็กกล้าที่ถูกการกัดกร่อนด้วย X-ray diffraction (XRD) พบว่าอัตราการกัดกร่อนของเหล็กกล้าคาร์บอน A283 ในสภาวะจุ่มอยู่ในสารละลายทั้งชิ้นมีอัตราการกัดกร่อนมากที่สุด รองลงมา คือ สภาวะจุ่มอยู่ในสารละลายและไอสารละลายอย่างละครึ่งหนึ่ง และในสภาวะไอสารละลายมีอัตราการกัดกร่อนน้อยที่สุด สาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนรุนแรงเกิดจาก Fe3C อยู่บนพื้นผิวชิ้นงาน และบริเวณเฟร์ไรต์ถูกกัดกร่อนมากกว่าบริเวณเพอร์ไลต์ เมื่อเติมสารละลายโมโนเอทาโนลามีนลงไปพบว่าอัตราการกัดกร่อนทั้ง 3 สภาวะมีค่าลดลง เนื่องจากมีชั้นออกไซด์ของ FeO(OH), Fe3O4 และ Fe2O3 อยู่บนพื้นผิวชิ้นงาน แสดงว่าสารโมโนเอทาโนลามีนสามารถยับยั้งการกัดกร่อนของเหล็กกล้าคาร์บอน A283 ในสารละลายกรดโพรไพโอนิก
Other Abstract: This research studied the effect of monoethanolamine or MEA on corrosion of A283 carbon steels both in water and 5 vol.% propionic acid solution at boiling point temperature of solution. MEA concentrations ranging from 30 to 90 wt.% in water was used. The 5 vol.% propionic acid containing around 30-60 and 60-100 wt.% MEA additions (100:1 and 100:5) by volume in the test solution was studied. The carbon steel coupons were tested in a liquid phase, liquid and vapor phase and vapor phase. The weight losses of coupons were evaluated to calculate corrosion rate. A scanning electron microscope and X-ray diffraction were used to characterize the corrosion surface of coupons. The results showed that the corrosion rate order was in the liquid phase > in the liquid and vapor phase > in the vapor phase. MEA decreased the corrosion rate of A283 carbon steel both in water and 5 vol.% propionic acid solution containing around 30-60 and 60-100 wt.% MEA additions (100:1 and 100:5) by volume. MEA can be considered as corrosion inhibitor of carbon steel both in water and propionic acid solution. The formed layers of FeO(OH), Fe2O3 and Fe3O4 on the surface were detected to prevent a corrosion attack. The formed layer of Fe3C was also found and discussed. The more severe corrosion was in ferrite.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63640
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1230
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1230
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5971428921.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.