Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63685
Title: การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี
Other Titles: Warehouse Management Improvement For A Female Underwear Factory
Authors: ธนิชกาญจน์ ภูภัทรกิจ
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Parames.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการของคลังสินค้าที่กำลังประสบปัญหาการรับมือกับปริมาณความต้องการที่ไม่แน่นอน รวมทั้งการจัดสรรการใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ โดยพบว่าการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพนี้ส่งผลให้การส่งสินค้าสำเร็จรูปไปยังลูกค้าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ถึง 40 ได้เพียงเฉลี่ยอาทิตย์ละ 84% ค่าความแปรปรวนอยู่ที่ 16% ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดคือ 95% ต่อสัปดาห์ โดยสาเหตุหลักมาจากการค้นหาวัตถุดิบล่าช้าของคลังสินค้า ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสายการผลิตได้ ก่อให้เกิดการหยุดชะงักของสายการผลิต หรือ Downtime เพื่อที่จะลดปัญหาการหยุดชะงักของสาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคลังสินค้า รวมทั้งการจัดการพื้นของคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีการนำหลักการ ABC Classification ผสมผสานกับการจัดการแผนผังคลังสินค้าใหม่ พบว่า (1) สามารถกำจัดจำนวนพาเล็ทที่วางสินค้าไม่จำเป็นได้สูงถึง 1,342 พาเล็ท คืนพื้นที่สำหรับการจัดการวัตถุดิบในอนาคต (2) การจัดวางแผนผังคลังสินค้าโดยอาศัยหลักการ FIFO ทำให้การจัดวางสินค้า การค้นหา และการไปหยิบสินค้าเป็นไปได้โดยสะดวก สามารถลดชั่วโมงการหยุดชะงักของสายการผลิตอันเกิดจากความล่าช้าในการหาวัตถุดิบได้ จากเดิม 79,930 ชั่วโมง • คน เป็น 3,048 ชั่วโมง • คน หรือลดลง 96.19% (3) สามารถลดค่าใช้ในการเช่ายืมอุปกรณ์ภายในคลังสินค้าได้ถึง 300,000 บาทต่อเดือน รวมทั้งยังสามารถลดค่าเช่าคลังสินค้าภายนอกและค่าขนส่งได้ถึง 600,000 บาทต่อเดือน
Other Abstract: This research aims to improve an inefficient warehouse management of a textile manufacturer in Thailand who has been facing an unpredictable seasonable demand and operated under poor space utilization. A few hours of downtime often occurred in a day which directly impacted on the production and in turn led to the late weekly shipment. On average, in 2018, only 84% of the shipments were on time (the target is 95%) with 16% of standard deviation. The one of the main root cause was the lack of materials due to unorganized inventory management that caused longer time to find materials. In order to reduce the downtime and improve the space utilization of the warehouse. The re-designed layout has been introduced to improve the current process of the warehouse. The combination of ABC classification concept and warehouse management contribute to 3 advantages: (i) Reduction in 1,342 pallets of unnecessary items/dead stocks resulting in higher space utilization and to support the growing demand. (ii) Ease in finding item with new layout and FIFO rule to reduce the downtime from 79,930 man hours to 3,048 man hours (96.19% reducing) (iii) Eliminating the inefficient practices, resulting in saving of 300,000 baht per month on equipment and 600,000 baht per month on rental and transportation cost.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63685
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1312
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1312
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070925721.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.