Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63715
Title: Factors associated with shift work disorder among nurses in a private hospital Bangkok Thailand
Other Titles: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติด้านการนอนอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นกะในกลุ่มพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
Authors: Marisa Tangkumnerd
Advisors: Nutta Taneepanichskul
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: Nutta.T@chula.ac.th
Issue Date: 2018
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background : Shift work disorder (SWD) is a kind of circadian rhythms sleep disorder related to sleep problem and shift work schedule. SWD is classified by excessive daytime sleepiness and/or insomnia equal or more than 1 month which is related to shift work schedule. Nurse is a health profession who work as a shift schedule. The aim of this study is to identify associated factors of shift work disorder (SWD) among private hospital nurses. Method : A questionnaire-based cross-sectional study was conducted among 207 registered nurse in a private hospital in Bangkok, Thailand. Standard questionnaire including insomnia (Bergen Insomnia Scale), fatigue (Fatigue Questionnaire), depression (Patient Health Questionnaire-9) and SWD was administered. The descriptive data were presented by mean and percentage .The prevalence of shift work disorder was calculated. The association between independent variable to SWD were analyzed by Chi-square. Crude and adjusted odd ratio analyses were performed by binary logistic regression to assess the relation. Results: In this study, mean age of registered nurse were 32.46(± 7.27) years. Most of them were female (94.1 %) and single (71.7%) .The prevalence of SWD among private hospital nurses is 23.9%. In multivariate analyses, we found physical fatigue was increased 3.842 fold-odds of having SWD (AOR = 3.842; 95%CI 1.635, 9.027). Moderate and severe depression and noise exposure during the night were increased 3.224 fold-odds (AOR = 3.224; 95%CI: 1.108, 9.386) and 3.107 fold-odds (AOR = 3.107; 95%CI: 1.261, 7.659) of having SWD respectively. However, insomnia and mental fatigue were not associated with SWD. Conclusion: One quarter number of nurses in this study reported of SWD and found the factors associated with this were physical fatigue, depression and noise exposure during the night time. Mental health and sleep hygiene management program should consider for enhancing shift work disorder among nurses.
Other Abstract: ที่มาและความสำคัญ : ความผิดปกติด้านการนอนอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นกะเป็นหนึ่งในปัญหาการนอนหลับชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการนอนหลับซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตารางการทำงานโดยผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมากเกินไปและ / หรือนอนไม่หลับมากกว่าหรือเท่ากับ 1 เดือน พยาบาลเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อการให้บริการดูแลสุขภาพและต้องให้การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังต้องแบ่งการทำงานออกเป็นกะรวมถึงการทำงานช่วงกลางคืนซึ่งมีผลทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติด้านการนอนของการทำงานกะ ในกลุ่มพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพ วิธีการดำเนินงาน : การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบตัดขวางนำมาใช้ในการศึกษา โดยศึกษากลุ่มประชากรพยาบาลทั้งหมด 207 คน ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับภาวการณ์นอนไม่หลับ ( BIS – 6) แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหนื่อยทางกายและจิตใจ (Physical and Mental Fatique -11 ) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ( PHQ – 9 ) และแบบสอบถามเกี่ยวกับความผิดปกติด้านการนอนอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นกะ ( SWD – 3 ) จากนั้นวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อนำเสนอข้อมูลความถี่ ร้อยละ ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติด้านการนอน และหาค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคว์สแคว์ ( Chi-square ) และวิเคราะห์สถิติความถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายการเกิดความผิดปกติด้านการนอนอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นกะ ผลการศึกษา : กลุ่มประชากรพยาบาลในการศึกษาครั้งนี้มีอายุเฉลี่ย 32.46 ปี ( ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.27  ปี ) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ( 94.1 % ) และโสด ( 71.7 % ) ความชุกในการกิดความผิดปกติด้านการนอนในกลุ่มพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งนี้คือ 23.9 % ในการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยทำนายของการเกิดความผิดปกติด้านการนอนอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นกะพบว่า ความเหนื่อยล้าทางกายเพิ่มขึ้น (AOR = 3.842; 95%CI 1.635, 9.027). ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางและระดับสูงเพิ่มขึ้น (AOR = 3.224; 95%CI: 1.108, 9.386) และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมในห้องนอนคือเสียง( AOR = 3.107 ; 95%CI: 1.261, 7.659) อย่างไรก็ตามพบว่า ภาวการณ์นอนไม่หลับ และความเหนื่อยล้าทางด้านจิตใจไม่พบมีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติด้านการนอนหลับอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นกะ สรุป : การศึกษาครั้งนี้พบว่าหนึ่งในสี่ของกลุ่มประชากรพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนมีความผิดปกติด้านการนอนอันเนื่องมาจากการทำงานเป็นกะและ สิ่งแวดล้อมในห้องนอนเกี่ยวกับเสียง ภาวะความซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าทางด้านร่างกาย เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติด้านการนอนดังกล่าว กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตและส่งเสริมประสิทธิภาพการนอนหลับควรได้รับการพิจารณาในการจัดให้มีในกลุ่มพยาบาลนี้
Description: Thesis (M.P.H.)--Chulalongkorn University, 2018
Degree Name: Master of Public Health
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63715
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.471
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.471
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6078862253.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.