Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63764
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์-
dc.contributor.authorสุวิจักขณ์ สว่างอารมย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2019-10-23T05:47:52Z-
dc.date.available2019-10-23T05:47:52Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63764-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพ ของบุคลากรในสถาบันการพลศึกษา ตามปัจจัยส่วนบุคคล ( อายุ เพศ ตำแหน่ง และพื้นที่แบ่งตามภาคของประเทศ) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำในสถาบันการพลศึกษา จำนวน 300 คน ประกอบด้วยเพศชาย 129 คน และเพศหญิง 171 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ถูกนำมาประยุกต์เพื่อสร้างแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .88 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวัดความแปรปรวนทางเดียวในกรณีพบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการพลศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ([Mean] = 3.55)เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณและด้านการจัดการกับความเครียด อยู่ในระดับมาก ([Mean] = 3.54, = [Mean] 3.77, = [Mean] 3.90และ [Mean] =3.89) แต่มีด้านกิจกรรมทางกายและด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 2.72 และ [Mean] = 3.45) การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพตามเพศและพื้นที่แบ่งตามภาคของประเทศโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพตามอายุและตำแหน่งโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามรายด้านพบด้านที่แตกต่างกันมีดังนี้ พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการพลศึกษาตามเพศ พบว่า ด้านกิจกรรมทางกาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการพลศึกษาตามตำแหน่ง (ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งลูกจ้างประจำ) พบว่า ด้านโภชนาการ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการพลศึกษาตามอายุ พบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางกายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis research was two-fold: investigating health behaviors, and comparing health behaviors among demographic factors (age, gender, position, region).The sample was from full-time personnel of the Institute of Physical Education. There were a total of 300 subjects, which were 129malesand 171females. A simple random sampling technique was employed to recruit the subjects. Pender’s Model has been proposed to construct the questionnaires, which were examined for content validity and reliability.The content validity by using Index of Item-Objective Congruence (IOC= .88) and the reliability was .88. Data were treated by utilizing percentage, mean, standard deviation, t-test, and One- Way ANOVA. Then the differences were analyzed in pairs via Scheffe’s approach. Results:The major findings and conclusions revealed the following: The majority of health behaviors of the personnel of the Institute of Physical Education was at very good level([Mean] = 3.55). After studying each aspect, the results showed that health responsibility, interpersonal relations, spiritual growth, and stress management were explicitly reflected in the good conduct ([Mean] = 3.54, [Mean] = 3.77, [Mean] = 3.90, [Mean] = 3.89), however, the physical activity and the nutrition were at a moderate level([Mean] = 2.72, [Mean] = 3.45). The comparison of personnel health behaviors by gender and divided into regions of Thailand were not significant difference at the .05 level in terms of overall aspects. The comparison of personnel health behaviors by age and position were significant difference at the .05 level in terms of overall aspects. when determined each aspect, some significant difference was found as follows: Health behaviors of the personnel of the Institute of Physical Education differed by gender. There was a significant difference at the .05 level in terms of physical activity. Health behaviors of the personnel of the Institute of Physical Education differed by position (lecturer and supporting staff). There was a significant difference at the .05 level in terms of nutrition, interpersonal relations, and spiritual growth. Health behaviors of the personnel of the Institute of Physical Education differed by age. There was a significant difference at the .05 level in terms of health responsibility and physical activityen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectถาบันการพลศึกษาen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen_US
dc.subjectInstitute of Physical Educationen_US
dc.subjectHealth behavioren_US
dc.subjectSelf-care, Healthen_US
dc.titleการเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันการพลศึกษาen_US
dc.title.alternativeA comparison of personnel health behaviors of the Institute of Physical Educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThanomwong.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwijak Sawang-arom.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.