Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63784
Title: | ภาพลักษณ์ของหญิงรักร่วมเพศที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เอเชียตะวันออก |
Other Titles: | Representation of lesbian images in East Asian movies |
Authors: | เกศินี ดำริสถลมารค |
Advisors: | โสภาวรรณ บุญนิมิตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sopawan.B@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาพยนตร์ -- เอเชียตะวันออก รักร่วมเพศในภาพยนตร์ Motion pictures -- East Asia Homosexuality in motion pictures |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาพลักษณ์ของหญิงรักร่วมเพศที่ปรากฏในภาพยนตร์เอเชียตะวันออกที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปีคศ.1997-2011โดยศึกษาจากการเล่าเรื่อง ลักษณะของตัวละคร และบทบาททางสังคมจากตัวละครหญิงรักร่วมเพศในภาพยนตร์จำนวนทั้งสิ้น 20 เรื่อง ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลเอกสาร ผลการวิจัยพบว่าภาพลักษณ์ของหญิงรักร่วมเพศที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เอเชียตะวันออกแสดงออกผ่านองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง โดยแก่นเรื่องมักเกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่อความรัก ความศรัทธาในความรักแบบอุดมคติและการค้นหาตัวตนของหญิงรักร่วมเพศความขัดแย้งมักจะเกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัวและความขัดแย้งในระดับจิตใจของตัวละครที่ต้องเลือกระหว่างความต้องการมีความรักกับผู้หญิงด้วยกันเองกับการต้องประพฤติตนตามกรอบทางสังคม ฉากที่ใช้มักจะเป็นฉากในสถานที่ส่วนตัวเพื่อใช้เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างหญิงรักร่วมเพศ ภาพยนตร์ส่วนใหญ่พึ่งพาระบบสัญลักษณ์ในการสื่อสารถึงรูปแบบและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร และมุมมองการเล่าเรื่องมักใช้มุมมองแบบรู้รอบด้านควบคู่ไปกับมุมมองแบบบุคคลที่หนึ่ง เพื่อใช้สื่อให้เห็นถึงความนึกคิดของหญิงรักร่วมเพศได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ลักษณะของตัวละครหญิงรักร่วมเพศพบว่าภาพยนตร์นิยมนำเสนอภาพของตัวละครในช่วงวัยผู้ใหญ่ที่ต้องต่อสู้เพื่อความรักและกรอบทางสังคมตัวละครมักมีลักษณะของการเป็นรักร่วมเพศที่ไม่ชัดเจนนักและมักถูกสวมบทบาทการเป็นไบเซ็กชวลเข้าไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามตัวละครต่างมีความสัมพันธ์ที่หลากหลายกับบุคคลรอบข้างพบทั้งความสัมพันธ์ที่ดีและไม่ดี ซึ่งความสัมพันธ์ที่ไม่ดีส่วนมากจะเป็นความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและเพศชายสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมเรื่องครอบครัวและชายเป็นใหญ่ที่ยังคงชัดเจนอยู่ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ส่วนสาเหตุของการเป็นรักร่วมเพศในตัวละครมักเกิดจากความใกล้ชิดระหว่างกันเป็นหลัก ในเรื่องของบทบาททางสังคมและภาพลักษณ์ของหญิงรักร่วมเพศในแต่ละวัฒนธรรม พบว่าตัวละครมีทั้งภาพลักษณ์ที่ดีคือเป็นคนดี มีเกียรติในสังคม ส่วนภาพลักษณ์ที่ไม่ดีคือเป็นฆาตกรหรือโรคจิตมีฐานะทางสังคมที่ต่ำต้อย ซึ่งสภาพสังคมวัฒนธรรมและระดับความเปิดกว้างในแต่ละประเทศ รวมไปถึงช่วงเวลาในแต่ละยุคสมัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมุ่งนำเสนอภาพของตัวละครหญิงรักร่วมเพศ |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study the images of lesbian which appears in East Asian movies releasing in 1997-2011.By study of the narrative structure, The character and lesbian role in society from 20 of East Asian Lesbian movies along with In-Depth Interview the specialists and Documentary Research. The research reveals that the images of lesbian in East Asian movies are constructed through the narrative’s elements. The main themeof the movies is often associatedwith the struggle forlove,faithin ideal love, and the searching for a lesbian’s identity. The conflict in the movies often happens between family members and conflict in the mind of the characters who has to choose between love with a woman or follow the socialorder. Most of the settings are private spaces that signify the deep relationship between lesbianism. Majority of the movies rely on the symbolic system in communicating the forms and relationship between characters. The narrative usually uses the omniscient point of viewtogetherwith the main character’s point of view togive a better understanding of the main characters’ emotion. The film generally presents adult lesbians’ characters who must fight for their love and social basis. The characters often have an unclear appearance of being a homosexual and often show as a bisexual. The characters have variety relationships both good and bad. For bad relationships, it is usually with family members and male counterpart.These relationships reflect the social values that emphasize family and praise the man above woman, which is common in East Asian cultures. The cause of being a homosexual for the characters is usually initiated by the intimacy between them. Thesocial roleand the image oflesbian ineachculture are mixed in both good and bad images. For the good images, characters are good person and have honor in a society. The bad images, characters are a murderer or psychosis and do not have important roles in society. There are different images of lesbian and their role in society. It usually depends upon whether that society is a multicultural society and how much of cultural openness in each country and era. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63784 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kesinee Dumrisathollamark.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.