Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/638
Title: | เชิดฉิ่ง : การรำชุดมาตรฐานตัวพระในละครใน |
Authors: | ปิยวดี มากพา |
Advisors: | สวภา เวชสุรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Subjects: | เชิดฉิ่ง การรำ--ไทย ละครใน |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมา องค์ประกอบ รูปแบบและกลวิธีการรำเชิดฉิ่งตัวพระละครในโดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตท่ารำจากวีดีทัศน์ และการฝึกหัดด้วยตนเอง ขอบเขตของการวิจัย คือรำเชิดฉิ่ง 5 ชุด ได้แก่ เชิดฉิ่งในศุภลักษณ์อุ้มสมเชิดฉิ่งศรทะนง เชิดฉิ่งจับม้าอุปการ เชิดฉิ่งพระพรตพระสัตรุดลุยไฟ และเชิดฉิ่งในอิเหนาตัดดอกไม้ ผลการวิจัยพบว่า การรำเชิดฉิ่งที่ใช้ในการแสดงโขน ละครมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352-2367) จวบจนปัจจุบัน การรำเชิดฉิ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเน้นเหตุการณ์สำคัญของการแสดงและอวดฝีมือผู้รำ การรำเชิดฉิ่งมีองค์ประกอบการแสดงคือ บทรำจากละครในเรื่องอิเหนา อุณรุท และรามเกียรติ์ เครื่องแต่งกายยืนเครื่องตัวพระ เพลงหน้าพาทย์เชิดฉิ่ง มีอุปกรณ์และฉากเสริมความสมบูรณ์ในการแสดง การวิจัยพบว่ากระบวนรำหลักของเชิดฉิ่งมี 7 กระบวน กระบวนรำแบ่งได้ 3 ช่วง 1. ช่วงเริ่มต้น แสดงท่ารำหลัก 2 ท่า คือรำร่ายและป้องหน้า 2. ช่วงกลาง เป็นการปฏิบัติท่ารำหลักอีก 5 ท่า คือ ท่าชะนีร่ายไม้ ท่ารำกระบี่สี่ท่าสลับท่าประลัยวาต ท่ากลางอัมพรต่ำ ท่านางนอนต่อกับท่าดึงจีบข้างตัว และท่ากังหันร่อน ช่วงนี้มีการเพิ่มท่าเชื่อม ท่าเสริม และท่าตีบททำให้เกิดความหลากหลายของการเรียงร้อยท่ารำ 3. ช่วงสุดท้าย เป็นการรำท่าเฉพาะของเหตุการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ชุดการแสดง การปฏิบัติกระบวนรำหลักเน้นการเคลื่อนไหวเท้าให้สัมพันธ์กับฉิ่งในจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว ซึ่งมีกลวิธีการใช้ขาและเท้า 3 ลักษณะ คือ ห่มเข่า ซอยเท้า และขยั่นเท้า รำเชิดฉิ่งเป็นนาฏยศิลป์ชั้นสูงตามแบบแผนละครในที่มีการแสดงน้อยลง เช่นเดียวกับการรำหน้าพาทย์อีกหลายๆ ชุด จึงควรมีการศึกษารำหน้าพาทย์ชุดที่หาดูได้ยากเอาไว้เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีละครในให้คงอยู่สืบไป |
Other Abstract: | This thesis aims at studying the history, elements, patterns, and techniques of Cheotching dance set piece by male character of Lakon Nai. Research information is gleaned from documents, interviewies, VDO observations, and from personal practise. Scope of the study includes five different Cheotching dances: Supalak Umsom, Sontanong, Jab Ma Upkan, Pra Prot lae pra Satrud Lui Fai and Inao Tad Dokmai. The research finds that Cheotching Dances have been performed for Lakon Nai since the reign of King Rama II(1809-1824). They were designed to emphasize the importance of heroic events and virtuosity of leading dancers. Dance elements comprise the libreti from Lakon Nai plays: Inao, Unarut and Ramakien. Dancers wear male classical theatre costume. Choetching is the major tune. Props and sets may be employed to enrich the performance. All Cheotching dances have similar dance gestures. Dance structure can be devided into three parts. Part one has two gestures ..ram rai and pongna. Part two has five gestures ..chanee rai mai, ram krabi si ta, pra lai wad, klang umpon tom, part of cha nang non and kanghan ron. Dancers can enrich secord part with additional gestures and amplification of dance text. Part three of each dance is designed differently to depict different event of different plays. Major characteristic of Cheotching dance is the constant dance punctuation with the rhythmic pattern of "ching" (cymbals) by knee flexing, and the complexity of foot steps. Cheotching is one of Lakon Nai dance set piece which are rarely performed today. These classical dances should be studied and preserved to guarantee the continuation of Lakon Nai Tradition. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/638 |
ISBN: | 9741765355 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyawadee.pdf | 6.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.