Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6385
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรรพัชญ์ นามะโน-
dc.contributor.advisorประสิทธิ์ ภวสันต์-
dc.contributor.authorพรพรรณ ตั้งศรีพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-03-26T10:29:23Z-
dc.date.available2008-03-26T10:29:23Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741751877-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6385-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractเปรียบเทียบผลของการทำไร้เชื้อ 2 วิธี คือการอบไอน้ำภายใต้ความดันและการฉายรังสีแกมมา ต่อการเปลี่ยนแปลงความหยาบเฉลี่ยพื้นผิวของโลหะผสมไทเทเทียมชนิด Ti-6AI-4V และการยึดเกาะของเซลล์ SaOS-2 บนพื้นผิวไทเทเนียมผสม การเตรียมพื้นผิวจะทำใน 2 ลักษณะ คือเตรียมพื้นผิวเรียบด้วยเครื่องขัดและกระดาษทรายซิลิกอนคาร์ไบด์ เบอร์ 320/P400 เป็นเวลา 2 นาที ตามด้วยเบอร์ 600/P1200 เป็นเวลา 2 นาที และเตรียมพื้นผิวหยาบด้วยการเป่าทรายชนิดอลูมิเนียมออกไซด์ขนาด 50 ไมครอน ผลการวัดค่าความหยาบเฉลี่ยพื้นผิว (Sa) กลุ่มพื้นผิวเรียบมีค่าเท่ากับ 0.0958+-0.0168 กลุ่มพื้นผิวหยาบมีค่าเท่ากับ 0.2885+-0.0426 หลังจากนั้นแบ่งวัสดุออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อนำไปทำไร้เชื้อ 2 วิธี และนำกลับมาวัดค่า Sa หลังการทำไร้เชื้อ ผลการวัดค่าความหยาบเฉลี่ยพื้นผิวพบว่า ในกลุ่มพื้นผิวเรียบไม่พบการเปลี่ยนแปลงความหยาบเฉลี่ยพื้นผิวหลังการทำไร้เชื้อทั้ง 2 วิธี (p>=0.01) สำหรับในกลุ่มพื้นผิวหยาบพบว่า การอบไอน้ำภายใต้ความดัน ไม่ทำให้เกดการเปลี่ยนแปลงความหยาบเฉลี่ยพื้นผิวอย่างมีนัยสำคัญ (p>=0.01) แต่การฉายรังสีแกมมาทำให้เกิดการเพิ่มความหยาบเฉลี่ยพื้นผิวอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.01) โดยค่า Sa ของกุล่มพื้นผิวหยาบหลังการฉายรังสีแกมมาเท่ากับ 0.3696+-0.0199 จากนั้นจึงนำวัสดุไปศึกษาผลต่อการยึดเกาะของเซลล์ที่เวลา 30 นาที พบว่าการทำไร้เชื้อทั้ง 2 วิธี ทำให้เกิดการยึดเกาะของเซลล์ไม่แตกต่างกันทั้งพื้นผิวเรียบและพื้นผิวหยาบ (p>=0.01 และ 0.05) แต่พบว่าพื้นผิวที่แตกต่างกันทำให้เกิดการยึดเกาะของเซลล์แตกต่างกันคือ พื้นผิวหยาบมีการยึดเกาะของเซลล์มากกว่าพื้นผิวเรียบ (p>0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงความหยาบเฉลี่ยพื้นผิวหลังการฉายรังสีแกมมา ไม่มีผลต่อการยึดเกาะของเซลล์ ในขณะที่การอบไอน้ำภายใต้ความดัน ไม่มีผลต่อทั้งความหยาบเฉลี่ยพื้นผิวและการยึดเกาะของเซลล์ ซึ่งน่าจะสะท้อนว่าการทำไร้เชื้อทั้ง 2 วิธี สามารถนำมาปรับใช้ในการทำไร้เชื้อของโลหะผสมไทเทเนียม เพื่อการใช้งานทางทันตกรรมได้en
dc.description.abstractalternativeTo study the effects of gamma irradiation and autoclave on surface roughness and cell attachment of SaOS-2 on polished and sandblast surface of Ti-6AI-4V. The experiments were devided into 2 parts. The first part was to measure average total surface roughness (Sa) before and after sterilization of both polished and sandblast surface. Surface of Ti-6AI-4V was prepared as followed: polished by polishing machine and siliconcarbide paper No. P400 and P1200 and sandblasted with 50 micron of AI2O3. Before sterilization, Sa of polished surface was 0.0958+-0.0168 and sandblast was 0.2885+-0.0426. No significant changes on Sa was observed in polished group (p>=0.01). In sandblast group, sterilization by autoclave had no effects on Sa (p >0.01), while sterilization by gamma irradiation (Sa = 0.3696 +- 0.0199) was significantly higher Sa (p>0.01). The second part of the study aimed to examine the cell attachment. The results showed that there were no differences of cell attachment between gamma irradiation and autoclave of both polished and sandblast surface (p >=0.01). Sandblast had greater cell attachment comparing with polished surface (p>0.05). In conclusion, the increase Sa after gamma irradiation had no effects on cell attachment, while sterilization by autoclave had no effects on both Sa and cell attachment. The results suggested that both gamma irradiation and autoclave could be modified and utilized as the sterilization protocol for titanium alloys in dentistry.en
dc.format.extent9293463 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการทำไร้เชื้อen
dc.subjectความหยาบผิวen
dc.subjectไทเทเนียมen
dc.subjectทันตกรรมรากเทียมen
dc.titleผลของการทำไร้เชื้อ 2 วิธีต่อความหยาบของผิวและการยึดเกาะของเซลล์ SaOS-2 บน Ti-6Ai-4Ven
dc.title.alternativeThe effects of 2 sterilization methods on surface roughness and cell attachment of SaOS-2 of Ti-6AI-4Ven
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSunphat.N@chula.ac.th-
dc.email.advisorPrasit.Pav@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpan_Ta.pdf9.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.