Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63860
Title: การวิเคราะห์เทคนิคการส่งบอลระหว่างทีมแชมป์โลกกับทีมคู่แข่งขันในการแข่งขันฮอกกี้ชิงแชมป์โลกปี 2010
Other Titles: The analysis of passing technique between the championship team and its competitors in the 2010 FIH world cup field hockey tournament
Authors: ธรรมรัฐ อากาศวิภาต
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chuchchai.G@Chula.ac.th
Subjects: ฮอกกี้
ความสามารถทางกีฬา
Hockey
Athletic ability
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบเทคนิคการส่งบอลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ ส่งบอลระหว่างทีมแชมป์โลกกับทีมคู่แข่งขันในการแข่งขันฮอกกี้ชิงแชมป์โลกปี 2010 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ดำเนินการวิจัยคือ ทีมแชมป์โลก (ออสเตรเลีย) และทีมคู่แข่งขัน (อังกฤษ ปากีสถาน แอฟริกาใต้ สเปน อินเดีย เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี) รวม 8 ทีม โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการวิเคราะห์และบันทึกข้อมูล จากเกมการแข่งขันที่ทีมแชมป์โลกทำการแข่งขันจำนวน 7 เกม ผ่านโปรแกรม Focus X2 Version 1.5 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบรายคู่ที่เป็นอิสระจากกัน (Independent sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) โดยถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีการแอล เอส ดี (LSD) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. เทคนิคที่นิยมใช้มากที่สุดคือ การผลักด้วยหน้าไม้ 1,552 ครั้ง (45.26%) รองลงมาคือ การกวาดด้วยหน้าไม้ 477 ครั้ง (13.91%) และการผลักด้วยหน้าไม้โดยการยกบอล 342 ครั้ง (9.97%) พบเทคนิคการส่งบอลที่ไม่มีการกล่าวถึงในตำรา คือ เทคนิคการส่งบอลโดยการวางไม้ให้ลูกกระทบเพื่อเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ของบอลในทันทีจำนวน 86 ครั้ง (2.51%) ประสบความสำเร็จ 70 ครั้ง (2.54%) ส่งผลต่อความได้เปรียบในเกมรุก 52 ครั้ง (7.47%) 2. จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลของการส่งบอลระหว่างเทคนิคการส่งบอล โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า เทคนิคการส่งบอลที่แตกต่างกันมีผลการส่งบอล ที่ประสบความสำเร็จ และส่งผลต่อความได้เปรียบในการรุกแตกต่างกัน โดยเทคนิคการผลักด้วยหน้าไม้ มีค่าเฉลี่ยผลการส่งบอล ที่ประสบความสำเร็จ และส่งผลต่อความได้เปรียบในการรุกมากกว่าทุกเทคนิค จากการเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งบอลพบว่า พื้นที่เป้าหมายในการส่งบอล และทิศทางในการส่งบอล ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความได้เปรียบในการรุกแตกต่างกัน โดย 1. พื้นที่แดนรุกเหนือเส้น 23 เมตรระหว่างด้านซ้ายและขวา 2. ทิศทางการส่งบอลไปด้านหน้า มีค่าเฉลี่ยผลการส่งบอล ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการรุกมากกว่า พื้นที่เป้าหมายในการส่งบอลและทิศทางในการส่งบอลแบบอื่นๆ 3. จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลของการส่งบอลระหว่างทีมแชมป์โลกกับทีมคู่แข่งขันโดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ทั้งสองทีมมีผลการส่งบอลที่ประสบความสำเร็จไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ผลการส่งบอลที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการรุกแตกต่างกัน โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลของการส่งบอลระหว่างทีมแชมป์โลกกับทีมคู่แข่งขันในแต่ละเทคนิคการส่งบอลเป็นรายคู่ พบเทคนิคการส่งบอลจำนวน 5 เทคนิคที่ทีมแชมป์โลกมีค่าเฉลี่ยผลการส่งบอล ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการรุกมากกว่าทีมคู่แข่งขันคือ 1. เทคนิคการผลักด้วยหน้าไม้ 2. กระแทกบอลด้วยการตั้งไม้ 3. การผลักด้วยหน้าไม้โดยการยกบอล 4. การตีด้วยหน้าไม้แบบจับด้ามไม้ยาว และ 5. การผลักด้วยการพลิกหน้าไม้โดยการยกบอล
Other Abstract: The purpose of this study was to analyze and compare the passing techniques and the factors in relation to the pass between the world championship team and the competitor teams in the 2010 FIH World Cup. The subjects used in this study comprised 8 National teams from this tournament, the world championship team (Australia) and the competitor teams (England, Pakistan, South Africa, Spain, India, Netherland, and Germany) by purposive sampling. The data from 7 matches of championship team were analyzed and related with Focus X2 Version 1.5 Program. The obtained data were compared by using descriptive and inferential statistics consisting of Independent sample t-test and one-way analysis of variance with multiple comparison, using the Least Significant Difference at .05 level The results were as follow: 1. The findings revealed that the most popularity used technique was fore stick push pass 1552 times (45.26%), flat slap pass 477 times (13.91%) and fore stick lift push pass 342 times (9.97%), in order. The analysis also found a new passing technique that was not found in textbook was deflection pass. This passing technique was used for 86 times (2.51%) which, 70 times (2.54%) was found in the level of success pass and 52 times (7.47%) was found in the level of advantage pass 2. The comparison of passing technique at .05 level showed that significant difference between passing technique in the level of success pass and advantage pass. Which, Fore stick push pass was the most passing technique that more effective to the level of success pass and advantage pass than the others. The comparison of the factors in relation of passing also, significant difference was found in the level of advantage pass in the target area and passing direction. Which, center attack zone was the most target area and forward pass was the most passing direction that more effective to the level of advantage pass than the others. 3. The comparison of passing result showed that significant difference between the world champion team and the competitors in the level of advantage pass. Fore stick push pass, Upright slap pass, Fore stick lift push pass, Long grip hit pass and Reverse stick lift push pass were 5 types of pass that championship team have more effect to the level of advantage pass than competitor teams.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63860
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thammarat Arkasvipath.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.