Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63985
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์-
dc.contributor.authorชริสา สุวรรณวรบุญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-11-21T08:08:13Z-
dc.date.available2019-11-21T08:08:13Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63985-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย และศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารหรือการเกิดขยะอาหารของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นประเทศที่มีปริมาณอาหารส่วนเกิน การบริโภคที่กลายเป็นขยะอาหารมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ ผู้บริจาคอาหารที่เป็นส่วนเกินการบริโภค จากการศึกษา พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณของขยะอาหารเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ขณะที่มาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยทั้งระบบ ขาดความชัดเจนในการจัดการขยะมูลฝอยแต่ละประเภทซึ่งรวมถึงขยะอาหาร และมุ่งเน้นการจัดการ ขยะมูลฝอยที่ปลายทาง คือ การกำจัดขยะ มากกว่าการจัดการขยะที่ต้นทาง หรือการลดปริมาณ การเกิดขยะ แม้ว่าในภายหลัง รัฐบาลจะมีการกำหนดให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ และมีการกำหนดนโยบายการจัดการขยะที่ครอบคลุมการจัดการขยะแบบครบวงจรโดยอาศัยหลักการ 3Rs เน้นการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง การนำขยะกลับไปใช้ซ้ำ และการใช้ประโยชน์จากขยะด้วยการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ แต่ปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยของประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นถึงการขาดความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการลดปริมาณขยะ นอกจากนี้ รัฐยังไม่มีการกำหนดนโยบายสำหรับการจัดการขยะอาหารโดยเฉพาะ แม้ว่าปริมาณขยะอาหารจะมีสัดส่วนมากที่สุดจากปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ก็ตาม ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดามีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้บังคับในการจัดการปัญหาขยะอาหาร รวมถึงมีการนำมาตรการทางภาษีมาใช้สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดปริมาณอาหารส่วนเกินการบริโภค เพื่อไม่ให้อาหารเหล่านั้นกลายเป็นขยะอาหาร ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการนำแนวทางมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดามาปรับใช้กับการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย เพื่อเพิ่มความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการลดปริมาณอาหารส่วนเกินการบริโภค ที่จะก่อให้เกิดเป็นขยะอาหาร อันจะส่งผลถึงการลดปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.6-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการกำจัดขยะen_US
dc.subjectอาหารขยะ -- ภาษีen_US
dc.subjectขยะ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายภาษีเพื่อลดขยะอาหารen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwimpat.r@chula.ac.th-
dc.subject.keywordขยะมูลฝอยen_US
dc.subject.keywordกฎหมายภาษีen_US
dc.subject.keywordการจัดการขยะen_US
dc.subject.keywordปริมาณขยะen_US
dc.subject.keywordปัยหาสิ่งแวดล้อมen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.6-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086174434.pdf980.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.