Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64061
Title: ปัญหาการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร : ศึกษากรณีการให้บริการด้านการสอบบัญชีโดยกิจการสอบบัญชี
Authors: พรณิชา อำนวยสกุล
Advisors: ทัชมัย ทองอุไร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tashmai.R@chula.ac.th
Subjects: ผู้สอบบัญชี
การสอบบัญชี
การยกเว้นภาษีอากร
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การให้บริการด้านการสอบบัญชี จัดเป็นการให้บริการโดยวิชาชีพอันจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านการบัญชีและการสอบบัญชีรวมถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการให้บริการด้านการสอบบัญชีถือว่าเป็นธุรกิจที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากกฎหมายไทยได้กำหนดให้งบการเงินของกิจการต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยเอกชน และหน่วยงานรัฐ มั่นใจได้ว่า สถานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แสดงในงบการเงินของกิจการได้สะท้อนถึงความเป็นจริงที่สุดตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี ทั้งนี้ รัฐได้มีเจตนารมณ์ในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับให้บริการด้านการสอบบัญชีตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการเริ่มใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแทนระบบภาษีการค้าอันมีการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนและไม่เป็นธรรม เนื่องจากขณะนั้นยังมีผู้ประกอบการหรือบริษัทที่ใช้บริการสอบบัญชีที่เป็นกิจการขนาดเล็กซึ่งมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่มาก รัฐจึงไม่ต้องการให้ผู้ประกอบการดังกล่าวมีภาระจากค่าบริการสอบบัญชีที่สูงขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่บังคับใช้แทนภาษีการค้า อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าในปัจจุบัน สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กล่าวคือ มีจำนวนผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 81(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ได้สะท้อนถึงเจตนารมณ์เท่าอดีตและทำให้เกิดปัญหา นั่นคือ นอกจากกิจการสอบบัญชีภาระต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากภาษีซื้อที่ขอคืนไม่ได้แล้ว ผลการดำเนินงานและภาษีนิติบุคคลของการสอบบัญชีก็ไม่สะท้อนความเป็นจริงอีกด้วย รวมถึงยังทำให้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มขาดตอน จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า การให้บริการด้านการสอบบัญชีไม่ควรได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชีไม่มีความสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับกรณีของกองทุนรวม และนอกจากว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เมื่อเทียบกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชีแล้ว การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มยังทำให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่มสูงสุดเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นในมาตรา 81(1)(ฌ) ทำให้สรุปได้ว่า รัฐควรมีการพิจารณาจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการด้านการสอบบัญชีเพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐสำหรับใช้บริหารประเทศให้พัฒนาเพื่อสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64061
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.19
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2018.19
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086208134.pdf898.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.