Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64071
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorวริศรา กิจมหาตระกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-16T07:26:45Z-
dc.date.available2019-12-16T07:26:45Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64071-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการศึกษาเอกัตศึกษาเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายและกฎเกณฑ์ด้านการสอบบัญชีในประเทศไทย กรณีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี และเพื่อตอบข้อสมมติฐานของผู้เขียนที่ว่า “ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี จึงสมควรมีมาตรการทางกฎหมายและกลไกในการกำกับดูแลเพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี” โดยที่มาของการศึกษาเอกัตศึกษานี้เกิดจากปัญหาที่ผู้เขียนพบเจอจากประสบการณ์การทำงานเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทั้งนี้ ในปัจจุบันรูปแบบการทำงานของผู้สอบบัญชีเป็นการประมวลผลด้วยมือและใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดด้านความสามารถและศักยภาพของร่างกาย อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและการเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน อย่างไรก็ตาม มนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ง่าย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่เริ่มเป็นที่สนใจและเริ่มนำมาใช้งานจริงในด้านต่างๆ คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ในงานสอบบัญชี แต่หากมีการนำไปใช้งานจริง จะช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถตรวจข้อมูลในปริมาณที่มากขึ้น ลดทรัพยากรบุคคล ลดความผิดพลาดจากมนุษย์ ลดระยะเวลาที่ใช้ในการสื่อสารและการทำงาน ในขณะเดียวกัน จะช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถคงไว้ซึ่งคุณภาพของงาน มาตรฐานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จากการศึกษากฎหมายและกฎเกณฑ์ด้านการสอบบัญชีในประเทศไทย พบว่าประเทศไทยไม่มีกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี และกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่มีอยู่นั้นไม่ครอบคลุมด้านการกำกับดูแลเรื่องคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี การรับรองโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในการสอบบัญชี และคุณสมบัติของผู้พัฒนาและผู้จำหน่ายโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในการสอบบัญชี อีกทั้ง กฎหมายและกฎเกณฑ์มีความไม่เหมาะสมในเรื่องความรู้ความสามารถของบุคลากรซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล และข้อสมมติฐานที่ว่าผู้สอบบัญชีทำงานเกินความรู้ ความสามารถและไม่สอดคล้องกับมาตรฐานในการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติตนทำให้เกิดความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีเมื่อมีการแสดงความเห็นต่องบการเงินเกิน 200 รายต่อปี ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนเลือกศึกษากฎหมายและกฎเกณฑ์ด้านการตรวจสอบและควบคุมระบบสารสนเทศ ซึ่งกำกับดูแลโดยสมาคมผู้ตรวจสอบและควบคุมระบบสารสนเทศ – ภาคพื้นกรุงเทพฯ (Information Systems Audit and Control Association – Bangkok Chapter หรือที่เรียกว่า ISACA – Bangkok Chapter) เพื่อศึกษา วิเคราะห์และนำมาปรับใช้ในการหาแนวทางการแก้ไขปัญหากฎหมายและกฎเกณฑ์ด้านการสอบบัญชี กรณีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี ทั้งนี้ วิชาชีพด้านการตรวจสอบและควบคุมระบบสารสนเทศเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับวิชาชีพด้านการสอบบัญชี แต่มุ่งเน้นด้านการตรวจสอบระบบสารสนเทศและใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นหากมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องความไม่ครอบคลุมด้านการกำกับดูแล โดยเสนอให้ออกข้อบังคับเรื่องคุณสมบัติและวุฒิบัตรด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีของผู้สอบบัญชี เพื่อกำหนดความรู้ความเชี่ยวชาญพื้นฐานที่ควรจะมีให้แก่ผู้สอบบัญชี ข้อบังคับเรื่องการรับรองโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในการสอบบัญชี มาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและปรับความรู้ของปัญญาประดิษฐ์ให้ทันกาลอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์มีองค์ความรู้และการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ และข้อบังคับเรื่องหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้พัฒนาและผู้จำหน่ายโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในการสอบบัญชี เพื่อกำกับดูแลการพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี และเพื่อกำกับดูแลการจำหน่ายโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อการค้าแก่บุคคลอื่น อีกทั้ง ผู้เขียนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องความไม่เหมาะสมด้านความรู้ความสามารถของบุคลากรซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล โดยเสนอให้สภาวิชาชีพบัญชีหรือหน่วยงานที่สภาวิชาชีพบัญชีจัดตั้งควรมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถกำกับดูแลผู้สอบบัญชีที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี สุดท้ายนี้ ความไม่เหมาะสมของสมมติฐานที่ว่าผู้สอบบัญชีทำงานเกินความรู้ ความสามารถและไม่สอดคล้องกับมาตรฐานในการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติตนทำให้เกิดความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีเมื่อมีการแสดงความเห็นต่องบการเงินเกิน 200 รายต่อปี ผู้เขียนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยเพิ่มข้อยกเว้นให้แก่ผู้สอบบัญชีที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสอบบัญชี เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้สอบบัญชีและเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถคงไว้ซึ่งความมีประสิทธิภาพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.30-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สอบบัญชี--สถานภาพทางกฎหมายen_US
dc.subjectบัญชีen_US
dc.subjectปัญญาประดิษฐ์en_US
dc.titleแนวทางกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการสอบบัญชีen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@chula.ac.th-
dc.subject.keywordปัญญาประดิษฐ์en_US
dc.subject.keywordการสอบบัญชีen_US
dc.subject.keywordผู้สอบบัญชีen_US
dc.subject.keywordการทำบัญชีen_US
dc.subject.keywordวิชาชีพบัญชีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.30-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086224134.pdf944.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.