Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64095
Title: พลวัตของสัณฐานชายหาดที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์คลื่นซัดฝั่งจากลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Beach morphodynamics associated with Northeast monsoon surge events at Bang Saphan district, Prachuaop Khiri Khun province
Authors: วีรินทร์ คงใหม่
Advisors: สุเมธ พันธุวงค์ราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sumet.P@chula.ac.th
Subjects: ชายฝั่ง -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
ชายทะเล -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
หาด -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
ธรณีสัณฐาน
Coasts -- Thailand -- Prachuaop Khiri Khun
Seashore -- Thailand -- Prachuaop Khiri Khun
Beaches -- Thailand -- Prachuaop Khiri Khun
Landforms
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของทุกปี ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นผลให้ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นผลมา จากน้ำในทะเลจีนใต้ไหลลงมาสู่อ่าวไทยโดยมีความสัมพันธ์กับลมที่พัดพามาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดคลื่นกาลังแรงกัดเซาะชายฝั่งส่งผลให้ลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บริเวณหาดบ้านกรูดถึงหาดแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งได้รับ ผลกระทบจากคลื่นซัดฝั่งในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทุกปี โดยลักษณะของภูมิประเทศชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือเป็นที่ราบชายฝั่งส่วนตอนใต้เป็นเนินทรายลมหอบซึ่งมีความแตกต่างกันชัดเจน ผู้วิจัยจึงต้องการ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชายหาดเนื่องจากคลื่นกำลังแรงว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิประเทศ อย่างไร และเพื่อให้ทราบถึงการกัดเซาะและการฟื้นตัวบริเวณชายหาด โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล จากการออกภาคสนาม 3 ครั้งคือ ช่วงก่อน-ระหว่าง-และหลัง การเกิดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษา สามารถจัดแบ่งพื้นที่ทั้ง 7 จุดศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มตามค่าความลาดชันของชายหาด โดยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกัน พบว่าตำแหน่งการกัดเซาะและสะสมตัวของตะกอนแปรผันตรงกับระดับ ความลาดชันของชายหาดในแต่ละพื้นที่ กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่มีค่าความชันพื้นที่ต่ำ ได้แก่ จุดศึกษาที่ 1 ถึง 3 มีการกัดเซาะในแนวดิ่งต่ำ กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่มีค่าความชันของพื้นที่สูง มีการกัดเซาะแนวดิ่งสูง ได้แก่ จุดศึกษาที่ 4 ถึง 7 ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ศึกษา สำหรับอัตราการกัดเซาะในแนวราบพบว่าทั้งสองกลุ่มมี ค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ค่าเฉลี่ยของขนาดตะกอนชายหาดพบว่าช่วงเวลาระหว่างเหตุการณ์คลื่นกำลังแรงจนถึง หลังเหตุการณ์คลื่นกำลังแรง ตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้น และพบว่ามีปริมาณส่วนประกอบของตะกอนบางชนิด เปลี่ยนไป
Other Abstract: During November to January, Thailand normally influenced by the Northeast monsoon wind which causing the sea level in the Gulf of Thailand raising higher than the average sea level. This phenomenon occurring by the process of water in the South China Sea flows into the Gulf of Thailand, which corresponds to the wind blow direction from the Northeast. Consequently, it generated the monsoon surge that causes the erosion at the beach along the southern coastline at the Gulf of Thailand side. Beach morphology in the affected area of monsoon surge also changes due to the influence of the strong wave attacked. Coastal area along Ban Krut beach to Mae Ramphueng beach at Bang Saphan district, Prachuap Khiri Khan province, which located in the affected area by NE monsoon surge, exhibited the coastal topography as a low-lying plain at the northern part and gradually change elevation higher toward to the south resulting in coastal sand dune topography. Due to difference in coastal topography, this area is a good location for study the changes in beach morphology due to the monsoon surge that might relate to the geographic factors control. Field study was performed three times in the period of beforeduring- and after the monsoon surge events for comparing the change in beach morphology. The results show that the study area can be divided into two groups, based on the value of beach slope from each station. The first group is the low slope value area, located at station 1, 2, and 3, which characterized as a low rate of vertical erosion zone. The second group at station 4, 5, 6, and 7 with a high slope value characterize as a high rate of vertical erosion zone. For the horizontal erosion, the average value from two groups is show in the same range. From the sedimentary analysis, beach sediments at station 1-7 show change in grain size that increasing after the monsoon event. Lastly, the amount of some sediment composition also changed after the monsoon surge event.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64095
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
senior_project_Veerin Khongmai.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.