Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64101
Title: Geochemical characteristics of Bor Klueng hot spring, Ratchaburi province and Hin Dad Hot spring, Kanchanaburi province
Other Titles: ลักษณะเฉพาะทางธรณีเคมีของน้ำพุร้อนบ่อคลึง จังหวัดราชบุรีและน้ำพุร้อนหินดาด จังหวัดกาญจนบุรี
Authors: Thiwat Rattanawong
Advisors: Sakonvan Chawchai
Lan, Tefang
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: sakonvan.c@chula.ac.th
No information provinted
Subjects: Geochemistry
Bor Klueng hot spring (Ratchaburi)
Hin Dad Hot spring (Kanchanaburi)
ธรณีเคมี
น้ำพุร้อนบ่อคลึง (ราชบุรี)
น้ำพุร้อนหินดาด (กาญจนบุรี)
Issue Date: 2017
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Hot spring is one of the important natural resources for consuming, tourism or even generating electricity. Our purposes are to study the geochemical properties of hot spring from Hin Dad hot spring, Thong Pha Phum district, Kanchanaburi Province and Bor Klueng hot spring, Suan Phueng district, Ratchaburi Province. Water samples from each hot spring were collected for measure cations, anions, silica contents and stable isotope (δD and δ18O) and imply their geochemical characteristic. The physical properties of both hot springs have been measured, Hin Dad hot spring has a surface temperature of 42.2°C, pH of 7.56, and conductivity of 835 uS/cm, and Bor Klueng has a surface temperature of 52°C, pH of 7.82, and conductivity of 242 uS/cm. The results on piper diagram shows that Hin Dad is dominated by Ca2+, HCO- and CO32-, it is temporary hardness water or shallow fresh groundwater, which ions come from dissolving of calcite, Bor Klueng is dominated by Na+, K+, HCO- and CO32-, it is alkali carbonate water or deep groundwater influenced by ion exchange, the ions come from contacting between hot water and surrounding rocks. Both hot springs are immature waters according to Na-K-Mg ternary diagram. The reservoir temperature calculated from Na-K-Ca geothermometry of Hin Dad ranges 300-380°C and Bor Klueng ranges 310-390°C, from silica geothermometry of Hin Dad ranges 50-65°C and Bor Klueng ranges 64-78°C, but the temperature from Na-K-Ca geothermometer is not appropriate because the water-rock interaction didn’t reach the equilibrium. The water source of both hot springs is from rainwater in Kanchanaburi, determined by stable isotope data. The contents of ions which exceed the drinking water limit from Hin Dad hot spring is Pb, and for Bor Klueng hot spring is As, F and Pb, both of them aren’t suitable for consumption. Due to medium reservoir temperature (50-70 °C) of both hot springs, their proper use is for tourism, bathing and drying agriculture products. This study can be implied for other hot springs in Thailand which have similar properties.
Other Abstract: น้ำพุร้อนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค แหล่งท่องเที่ยว หรือผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณสมบัติทางธรณีเคมีของน้ำพุร้อนหินดาด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และน้ำพุร้อนบ่อคลึง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยเก็บตัวอย่างน้ำจากน้ำพุร้อนทั้งสองแห่งเพื่อทำการวัดปริมาณไอออนบวก ไอออนลบ ซิลิกา และไอโซโทปเสถียรของออกซิเจน-18 และดิวเทอเรียม และทำการตรวจวัดคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำพุร้อนทั้งสองแห่ง โดยน้ำพุร้อนหินดาดมีอุณหภูมิพื้นผิว 42.2 องศาเซลเซียส ค่า pH เท่ากับ 7.56 และค่าการนำฟ้าเท่ากับ 835 uS/cm และน้ำพุร้อนบ่อคลึงมีอุณหภูมิพื้นผิวเท่ากับ 52 องศาเซลเซียส ค่า pH เท่ากับ 7.82 และค่าการน้ำไฟฟ้าเท่ากับ 242 uS/cm จากแผนภาพไพเพอร์พบว่าในน้ำพุร้อนหินดาดจะพบไอออนหลักคือ Ca2+ HCO- และ CO32- จัดเป็นน้ำกระด้างชั่วคราวหรือน้ำบาดาลจืดที่ได้รับผลจากการละลายของแร่แคลไซท์ ส่วนน้ำพุร้อนบ่อคลึงจะพบไอออนหลักคือ Na+ K+ HCO- และ CO32- จัดเป็นน้ำประเภท Na-HCO3- หรือน้ำบาดาลในระดับลึกที่ได้รับผลจากการแลกเปลี่ยนไอออน โดยไอออนเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำร้อนและหินรอบข้าง ผลจากแผนภาพสามเหลี่ยม Na-K-Mg พบว่าการท้าปฏิกิริยาระหว่างน้ำพุร้อนทั้งสองกับหินรอบข้างแห่งยังไม่เข้าสู่ภาวะสมดุล จากการคำานวนอุณหภูมิของแหล่งกักเก็บโดยใช้สมการ Na-K-Ca พบว่าน้ำพุร้อนหินดาดมีอุณหภูมิแหล่งกักเก็บอยู่ในช่วง300-380 องศาเซลเซียส น้ำพุร้อนบ่อคลึงมีอุณหภูมิแหล่งกักเก็บอยู่ในช่วง 310-390 องศาเซลเซียส และจากการคำนวนโดยใช้สมการของซิลิกา พบว่าน้ำพุร้อนหินดาดมีอุณหภูมิแหล่งกักเก็บอยู่ในช่วง 50-65 องศาเซลเซียส น้ำพุร้อนบ่อคลึงมีอุณหภูมิแหล่งกักเก็บอยู่ในช่วง 64-78 องศาเซลเซียส แต่เนื่องจากน้ำพุร้อนทั้งสองแห่งยังไม่เข้าสู่สมดุล อุณหภูมิของแหล่งกักเก็บจากสมการ Na-K-Ca จึงไม่เหมาะสม จากข้อมูลไอโซโทปเสถียรสามารถบอกแหล่งที่มาของน้ำได้ว่ามาจากน้ำฝนที่ตกในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเทียบปริมาณไอออนที่พบกับค่ามาตรฐานน้ำดื่มพบว่าน้ำพุร้อนหินดาดมีปริมาณของ Pb เกินค่ามาตรฐาน และน้ำพุร้อนบ่อคลึงมีปริมาณของ As, F และ Pb เกินค่ามาตรฐาน น้ำพุร้อนทั้งสองจึงไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภค จากค่าอุณหภูมิของแหล่งกักเก็บของน้ำพุร้อนทั้งสองแหล่งมีอุณหภูมิอยู่ในช่วงปานกลาง (50-70 องศาเซลเซียส) การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมจึงเป็นด้านการท่องเที่ยว การแช่น้ำร้อน และตากแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การศึกษาน้ำพุร้อนนี้สามารถประยุกต์กับแหล่งน้ำพุร้อนอื่นๆ ในไทยได้อีกด้วย
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64101
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Thiwat Rattanawong.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.