Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64135
Title: การจำลองพลวัตเชิงโมเลกุลของการดูดซับสารลดแรงตึงผิวโซเดียมไดออกทิลซัลโฟซักซิเนต
Other Titles: Molecular dynamics simulation for adsorption of sodium dioctyl sulfosuccinate surfactants on carbon nanotubes
Authors: กิตาการ จิตรเอื้ออารีย์กุล
พิชชาภา อุษามาลย์เวท
Advisors: มนัสวี สุทธิพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: manaswee.s@chula.ac.th
Subjects: สารลดแรงตึงผิว
โซเดียมไดออกทิลซัลโฟซักซิเนต
Surface active agents
Sodium Dioctyl Sulfosuccinate
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การอัดสารลดแรงตึงผิว (surfactant flood) เป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไปในการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ โดยสารลดแรงตึงผิวจะช่วยลดแรงเกาะหรือแรงตึงผิว (surfactant tension) ระหว่างน้ำมันกับน้ำ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติความเปียก (wettability) ของหินกักเก็บทำให้สามารถผลิตน้ำมันในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งนี้ปัญหาที่สำคัญของวิธีนี้คือสารลดแรงตึงผิวจะดูดซับบนพื้นผิวของชั้นหินเนื่องจากแรงดึงดูดระหว่างส่วนหัวที่มีขั้วของสารลดแรงตึงผิวกับพื้นผิวหิน ทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพในเชิงเศรษฐศาสตร์ ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อลดการดูดซับสารลดแรงตึงผิวบนพื้นผิวหิน เช่น การใช้อนุภาคนาโนคาร์บอนเป็นตัวนำพาสารลดแรงตึงผิวไปยังแหล่งน้ำมัน ส่วนที่ไม่มีขั้วของสารลดแรงตึงผิวจะดูดซับบนอนุภาคนาโนคาร์บอนด้วยแรงไฮโดรโฟบิก (hydrophobic interaction) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูดซับของสารลดแรงตึงผิวโซเดียมไดออกทิลซัลโฟซักซิเนต (sodium dioctyl sulfosuccinate หรือ Aerosol OT, AOT) บนท่อนาโนคาร์บอน (carbon nanotube) โดยใช้วิธีการจำลองพลวัตเชิงโมเลกุล (Molecular Dynamics, MD) โดยศึกษาท่อนาโนคาร์บอนขนาด (6,6), (12,12) และ (20,20) ที่ค่าการปกคลุมพื้นผิวต่ำและสูง ผลการจำลองพบว่าสารลดแรงตึงผิวปกคลุมท่อนาโนคาร์บอนขนาด (6,6) เป็นแบบชั้นเดียว (monolayer) ที่ค่าการปกคลุมพื้นผิวต่ำและสูง ในกรณีท่อนาโนคาร์บอนขนาด (12,12) และ (20,20) จะเป็นแบบหลายชั้น (multilayer) ที่ค่าการปกคลุมพื้นผิวสูง พลังงานของระบบมีแนวโน้มสูงขึ้นตามขนาดของท่อนาโนคาร์บอนและจำนวนของสารลดแรงตึงผิว จากผลการจำลองแสดงให้เห็นว่าสารลดแรงตึงผิว AOT สามารถดูดซับบนท่อนาโนคาร์บอนได้และสามารถใช้เป็นตัวเลือกในศึกษาและพัฒนาการประยุกต์ใช้ในการเพิ่มการผลิตน้ำมัน (enhanced oil recovery)
Other Abstract: Surfactant flooding is a common technique used in enhanced oil recovery (EOR). Surfactants lower surface tension between water and oil and change wettability on a reservoir trap, thus increasing the amount of oil produced. However, in the flooding process, surfactants adsorb onto the rock surfaces leading to the loss of surfactants and economic inefficiencies. Recently, technique of conveying surfactants using carbonaceous nanoparticles such as carbon nanotubes (CNTs), fullerene and carbon blacks (CBs) has been developed to decrease the surfactant adsorption in which the surfactant tails adsorb on the nanoparticles via hydrophobic interaction. The present work aims to investigate the absorption behavior of sodium dioctyl sulfosuccinate (Aerosol OT, AOT) surfactants on (CNTs) via Molecular Dynamics (MD) simulation at low and high surface coverages. The results show that (6,6) CNT is covered by a monolayer of AOT at high surface coverage likewise (6,6), (12,12), and (20,20) CNTs at low surface coverage. In case of AOT adsorbed on (12,12) and (20,20) CNTs at high surface coverage, the formation of micelles is found next to the nanotubes. The total energy depends on CNTs size and the number of surfactants adsorbed. AOT would be an appropriate surfactant used in surfactant flooding.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64135
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kitakarn_J_Se_2561.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.