Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64225
Title: ลำดับชั้นหินทางชีวภาพของฟิวซูลินิด และศิลาวรรณนาของหินคาร์บอเนตในหมวดหินไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Fusulinacean biostratigraphy and petrography of carbonate rock in Sai Yok formation, Kanchanaburi
Authors: รัชนีกร เทพกุญชร
Advisors: ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Thasinee.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หมวดหินไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี มีการกระจายตัวของหินตาร์บอเนตอย่างกวร้างขวาง แต่มีการศึกษาลำดับชั้นหินทางชีวภาพน้อย ซึ่งลำดับชั้นหินทางชีวภาพเป็นสิ่งที่สำคัญในการศึกษาลำดับเหตุการณ์ทางธรณีในพื้นที่นี้เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่มีแนวรอยเลื่อน และมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนบวกกับมีหินอัคนีแทรกซอนโผล่ในบางบริเวณ จึงทำให้การลำดับชั้นหินไม่ต่อเนื่องและมีข้อมูลทางธรณีวิทยาเสียหายไป เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการศึกษานี้คือ การหาอายุ ลำดับชั้นหินทางชีวภาพ และสภาพแวดล้อมการสะสมตัว จากการออกภาคสนามได้ทำการเก็บตัวอย่าง 40 ตัวอย่าง นำมาทำเป็นหินบางและศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์พบว่ามีตัวอย่างที่พบฟิวซูลินิดทั้งหมด 8 ตัวอย่าง โดยฟิวซูลินิดที่สำคัญซึ่งสามารถบ่งบอกอายุได้มี 5 สกุล อยู่ในหมวดหินไทรโยค 4 สกุล ได้แก่ Eopolydiexodina sp., Minojapanella sp., Pseudofusulina sp., Yangchienia sp. มีอายุโดยรวมอยู่ในยุคเพอร์เมียนช่วงกลางคือ คูเบอร์แกนเดียน ถึงมิเดียน และอีก 1 สกุลที่พบอยู่ในหินตะกอนเนื้อประสม ซึ่งจัดให้อยู่ในหมวดหินเขาเมืองครุฑ คือ สกุล Monodiexodina sp. มีอายุตั้งแต่ช่วงปลายของต้นเพอร์เมียนถึง เพอร์เมียนช่วงกลาง นั่นคืออายุโบโลเรียนถึงมิเดียน ลักษณะศิลาวรรณนาพบทั้งหมด 3 ชนิดโดยอยู่ในหมวดหินไทรโยค 2 ชนิด ได้แก่ ไบโอคาลาสติกแพคสโตน (bioclastic packstone) และไบโอคลาสติกเกรนสโตน (bioclastic grainstone) สภาพแวดล้อมการสะสมตัวจึงเป็นทะเลน้ำตื้นในลักษณะแบบแรมป์ (inner ramp) หินอีกชนิดหนึ่งคือ หินทรายเนื้อปูน (calcareous sandstone) ซึ่งอยู่ในหมวดหินเขาเมืองครุฑ อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบทะเลตื้นมากในช่วงที่เป็นเขตเปลี่ยนแปลงนอกชายฝั่ง (offshore transitional zone)
Other Abstract: Sai Yok Formation in Kanchanaburi and Ratburi Province has large carbonate rocks distribution. There are not much of biostratigraphy studies that have fully documented. Biostratigraphy is very important to sort the geological sequence that happened in this area because it lies in fault zone which has complex structure and igneous intrusions occurred in some area. This made stratigraphy discontinuous and destroyed some geological data. So the objectives of this study are to determine the age, reconstruct biostratigraphy and depositional environment. 40 samples are collected from this area and due to the study in thin section under microscope found that there are 8 samples that have index fossil which is fusulinids. There are 4 genus found in Sai Yok Formation include Eopolydiexodina sp., Minojapanella sp., Pseudofusulina sp., Yangchienia sp. Which in Middle Permian (Kubergandian-Midian). There is 1 genus in Khao Muang Khrut Formation that is Monodiexodina sp. In late Early Permian to Middle Permian (Bolorian-Midian). There are 3 types of limestone texture found in this area. 2 types of limestone texture are in Sai Yok Formation include bioclastic packstone and bioclastic grainstone. It can be conclude that this formation has deposit in shallow marine environment in inner ramp. The other type of petrography is calcareous sandstone which in Khao Muang Khrut Formation. The deposition of this formation is in offshore transitional zone in shallow sandy sea environment.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64225
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratchaneekorn_T_Se_2561.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.