Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64320
Title: การศึกษาความรู้ เจตคติ และ การปฏิบัติ ของเด็กด้อยโอกาสเกี่ยวกับกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
Other Titles: A study of knowledge, attitude and practice of disadvantaged children towards the science and culture integration activities for young children, Science Center for Education, Non-Formal Education Bureau, Ministry of Education
Authors: อนุชนา แสงรุ่ง
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wirathep.P@Chula.ac.th
Subjects: กิจกรรมการเรียนการสอน
เด็กด้อยโอกาส -- การศึกษา
Activity programs in education
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติแสะการปฏิบัติในการเข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ศูนย์วิทยาคาสตร์เพื่อการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ของเด็กด้อยโอกาสจำแนกตามภูมิหลังที่ต่างกัน คือ เพศและระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และศึกษาความคิดเห็นของผุ้ดูแลเด็ก้อยโอกาสเกี่ยวกับกิจกรรมบูรณาการ เปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการเข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการของเด็กด้อยโอกาสและเด็กอนุบาลในระบบโรงเรียนและความคิดเห็นของครูอนุบาลในระบบโรงเรียนกับผู้ดูแลเด็กด้อยโอกาสเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กด้อยโอกาสบ้านพระกุมารเยซูจำนวน 30 คน และเด็กอนุบาลโรงเรียนทับทองจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม แบบวัดเจตคติ แบบสังเกตการปฏิบัติและแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมบูรณาการ ในด้านการจัดกิจกรรม สื่ออุปกรณ์ และการจัดสถานที่ ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมพบว่าเด็กด้อยโอกาสที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งเพศชายเพศหญิง และผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมกิจกรรมได้คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกลุ่มมีความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการ และเมื่อเปรียบเทียบความรู้เจตคติและการปฏิบัติของเด็กด้อยโอกาสที่มีภูมิหลังเพศและระดับการศึกษาของผู้ปกครองที่แตกต่างกันพบว่าโดยส่วนใหญ่ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ผลการเปรียบเทียบความรุ้เจตคติ และการปฏิบัติของเด็กด้อยโอกาสและเด็กอนุบาลในระบบโรงเรียนพบว่าด้านความรู้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเจตคติและการปฏิบัติไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ความคิดเห็นของผู้ดูแลเด็กด้อยโอกาสเกี่ยวกับกิจกรรมบูรณาการส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก 4.ความคิดเห็นของผู้ดูแลเด็กด้อยโอกาสและครูอนุบาลในโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: A Study to determine knowledge, attitude and practice of disadvantaged children towards the science and culture integration activities for young children. Science Center for Education. Non - Formal Education Bureau, Ministry of Education classified by background of parents’ gender and education, with the comment of disadvantaged children's caretaker towards these integration activities by comparing with kindergarten school in normal condition about activities, instruments and places. The two studied sites were; “Tuptong Kindergarten School” and “Baanprakumanjesu Disadvantaged Children House". Tools used in this study is questionnaire to obtain general information of study group, before and after activity participation knowledge test, attitude test, practice observation form and comments form. The study found that comparison of the marks on pre-test and post-test knowledge of all the different group increase (p<0.05), majority of the group had no different in knowledge attitude and practice on disadvantaged children from different background. Comparison between disadvantaged children and Tuptong children found that there was different in knowledge (p>0.05), but no different in attitude and practice (p<0.05). Children caretaker from both group gave ranking to the activities as “Much”. Comments from the children caretaker from both group showing no difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64320
ISBN: 9745318779
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anuchana_sa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Anuchana_sa_ch1_p.pdfบทที่ 11.75 MBAdobe PDFView/Open
Anuchana_sa_ch2_p.pdfบทที่ 23.68 MBAdobe PDFView/Open
Anuchana_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31.14 MBAdobe PDFView/Open
Anuchana_sa_ch4_p.pdfบทที่ 43.14 MBAdobe PDFView/Open
Anuchana_sa_ch5_p.pdfบทที่ 51.32 MBAdobe PDFView/Open
Anuchana_sa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.