Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6436
Title: การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของเด็กและเยาวชนสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
Other Titles: Communication and the formation of children and youth identity of Bann Rajavithi Home for Girls
Authors: โสวรรณ คงสวัสดิ์
Advisors: อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubonrat.P@chula.ac.th
Subjects: เอกลักษณ์ (จิตวิทยา)
ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์
พัฒนาการของเด็ก
การสื่อสาร
อัตลักษณ์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของเด็ก และเยาวชนในบริบทสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี การเก็บข้อมูลเป็นการประยุกต์ใช้วิธีชาติพันธุ์วรรณารวมระยะเวลา 4 เดือน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านพักเด็ก 3 หลังคือ บ้านชัยพฤกษ์ บ้านโกเมศ และบ้านจันทน์กะพ้อ จุดประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้มีดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มเด็กในสถานสงเคราะห์ 2. เพื่อศึกษาแบบแผนการสื่อสารของกลุ่มเด็ก 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มเด็ก 4. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการสร้างอัตลักษณ์ในกลุ่มเด็ก ผลการวิจัยพบว่า สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถีเป็นบริบทสังคมที่ยึดถือกฏระเบียบในการปกครอง ขาดที่พึ่งทางใจให้เด็ก สร้างค่านิยมให้เด็กกลายเป็นฝ่ายรับจากสังคมภายนอกตลอดเวลา สร้างความรู้สึกไม่เท่าเทียมกันในกลุ่มสมาชิก และขาดความพร้อมต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็ก ซึ่งสภาพสังคมในลักษณะดังกล่าวมีอิทธิพลให้เด็กสร้างความเป็นตัวตนในภาพรวม 3 ลักษณะคือ การเป็นคนต้องการความรักความอบอุ่น การเป็นคนช่างขอ และการเป็นคนสองบุคลิกที่ภายนอกดูแข็งแกร่งแต่ภายในเปราะบาง เด็กสถานสงเคราะห์ใช้สื่อมวลชนสูงมากในวันเสาร์และวันอาทิตย์ สื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ โทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อส่วนกลางของบ้าน ในขณะที่วิทยุและสิ่งพิมพ์ได้รับความนิยมรองลงไป บ้านแต่ละหลังมีปริมาณสื่อให้เลือกใช้ไม่มากนัก แต่เด็กก็สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อสร้างความพึงพอใจได้ โดยเฉพาะการสร้างความบันเทิง ซึ่งเนื้อหาที่ได้รับความนิยมได้แก่ ละครโทรทัศน์ รายการเพลง หนังสือการ์ตูนมหาสนุก และการ์ตูนญี่ปุ่น การสื่อสารกับบุคคลและการเปิดรับสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์กับการสร้างอัตลักษณ์เด็ก วิธีการเลี้ยงดูของครูแม่บ้านมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างอัตลักษณ์ร่วม ของเด็กในบริบทบ้านแต่ละหลัง ในขณะที่สื่อมวลชนมีส่วนเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางเพศของเด็กได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นด้วยการเลียนแบบการแต่งกาย การอยู่ร่วมกันของสมาชิกเพศหญิงจำนวนมากในบริบทบ้านสามหลัง ไม่ปรากฏว่ามีสมาชิกคนใดแสดงพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน อย่างไรก็ดี สมาชิกเพศชายรุ่นเล็กหนึ่งคนอาจประสบปัญหาความสับสนทางเพศได้ เด็กมีความตระหนักรู้ว่าตนคือกลุ่มเด็กสถานสงเคราะห์ จากการเข้ามาอยู่อาศัยและต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ อย่างไรก็ดี พวกเขาขาดจิตสำนึกร่วมของความเป็นเด็กสถานสงเคราะห์ เพราะมองว่าชนชั้นในบริบทสถานสงเคราะห์ด้อยกว่าบุคคลอื่นในสังคม อันเป็นผลมาจากการเปรียบเทียบตัวตนกับบุคคลรอบตัว และสิ่งที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนแล้ว เกิดความไม่พอใจต่อสภาพความเป็นอยู่ของตน ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาอัตลักษณ์ของกลุ่มเด็ก เป็นผลจากความสัมพันธ์อันไม่ราบรื่นของเด็กกับบุคคลรอบตัว ครูแม่บ้านที่ไม่มีจิตวิทยา และสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เสริมสร้างศักยภาพแก่ตัวเด็ก
Other Abstract: To study the relationship between the communication behaviour and the identity formation of children and youth in Bann Rajavithi home for girls. The methodology used was applied ethnography for which 4 months of observation and interview was carried out in Bann Chaiyaprug, Bann Gomes and Bann Jankapor. The objectives of this study are 1. To study the socio-cultural environment of the children in Baan Rajavithi 2. To study the communication and media use of these children 3. To study the relationship between their communication behaviour and the identity formation of these children 4. To study the obstacles of identity formation in these children. The result of the research showed that the soicio-cultural environment is one in which strict discipline is applied, warmth and empathy is lacking, children are made into receivers of a charitable people and society, feeling of inequality and lacking the potential to develop. These children formed 3 major characteristics; seeking love and close relationship, constant begging and a double personality which appeared strong outside but internally weak. The children are allowed to access the media on weekends. They enjoyed watching television most and listened to some radio. There is not much reading material around these houses. The children, however, are able to find gratifications from television drama and comic books and entertain themselves by singing and playing in their free time. The housekeeper-cum-teacher is the key influence in the identity formation process of the children through the processes of childcare and communication. On the other hand, the mass media have been influential in the formation of sexual identity of the girls. The children are aware of their social and class positions. They could easily differentiate themselves from their schoolmates and the charitable people who frequently visit Bann Rajavithi. They could also identify with some of the characters in the media who share similar class position. The obstacles in the identity formation processof the children in Bann Rajavithi stemmed from the unhappy relationship among those around them, the housekeeper who lack psychological understanding and the absence of an appropriate socio-cultural and communication environment.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6436
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.458
ISBN: 9741728514
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.458
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sowan.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.