Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64369
Title: การถูกทำลายของปะการังจากการท่องเที่ยว และการฟื้นตัวในระยะสั้น บริเวณเกาะล้านและเกาะริ้น จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Coral damaged from tourism and its short-term recovery at Lan and Rin Islands, Chonburi province
Authors: กิตติโชติ งามประสิทธิ์
Advisors: สุรพล สุดารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สมอเรือ
ปะการัง
นักดำน้ำ
การท่องเที่ยว
แนวปะการัง
เกาะล้าน (ชลบุรี)
เกาะริ้น (ชลบุรี)
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บริเวณปะการังเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญมากต่อการท่องเที่ยวทางทะเล จากการสำรวจกลุ่มปะการัง โดยวิธี Line intercept transect เพื่อศึกษาความสมบูรณ์ และความเสียหายของปะการังที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา การถูกทำลายเพราะสมอเรือ จำนวนเรือและนักท่องเที่ยว และการฟื้นตัวของปะการัง ภายในระยะเวลา 1 ปี ที่บริเวณเกาะล้านและเกาะริ้นจังหวัดชลบุรี โดยเกาะล้าน แทนพื้นที่ที่มีการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี และเกาะริ้น แทนพื้นที่ที่มีการหยุด พักการท่องเที่ยว ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม ในแต่ละบริเวณจะแบ่งเป็น 2 เขตคือเขตนํ้าตื้นที่มีการดำนํ้าแบบ Snorkeling และเขตนํ้าลึกที่มีการดำนํ้าแบบ Scuba diving เพื่อเก็บข้อมูลเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงสภาพปะการัง ระหว่างพื้นที่ที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ปริมาณความเลียหายของปะการังที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 1 ปี แต่ละบริเวณแตกต่างกัน โดยเกาะล้านเขตนํ้าตื้นมีความเสียหายมากที่สุด คือ ร้อยละ 1.82 ของพื้นที่ปะการังมีชีวิตปกคลุม รองลงมาเป็นเกาะริ้นเขตนํ้าตื้น เกาะล้านเขตนํ้าลึก และเกาะริ้นเขตนํ้าลึก โดยมีความเสียหาย ร้อยละ 1.42, 1.01 และ 0.64 ของพื้นที่ปะการังมีชีวิตปกคลุม ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องของกิจกรรมการดำนํ้า จำนวนเรือและนักท่องเที่ยว และช่วงเวลาในการใช้พื้นที่เป็นสำคัญ การทิ้งสมอเรือในบริเวณปะการัง มีโอกาสทิ้งโดน หรือเกี่ยวติดปะการังได้สูงถึงร้อยละ 25 ของจำนวนครั้งที่มีการทิ้งสมอ ในทั้งสองบริเวณ โดยทำให้เกิดบาดแผลกับปะการัง ต่อการทิ้งสมอโดนปะการัง เฉลี่ยแต่ละครั้งเท่ากับ 23.95 ตารางเซนติเมตร ที่บริเวณเกาะล้านและ 1 1 .5 6 ตารางเซนติเมตรที่บริเวณเกาะริ้น ในแต่ละบริเวณ มีการฟื้นตัวของโคโลนีปะการังที่เสียหายและแตกหัก ได้ไม่ถึงร้อยละ 10 ของพื้นที่ปะการังที่สูญเสียไป สำหรับการฟื้นตัวโดยรวม ของบริเวณปะการังทั้งหมด คิดจากปริมาณปะการังมีชีวิตปกคลุมที่เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่ปริมาณถูกทำลายไปในช่วงเวลาเดียวกัน
Other Abstract: Coral reefs are very important resource for coastal tourism. Survey on coral communities using line intercept transect technique concerning coral abundance, coral damaged in certain period, number of boats and tourists, impact of anchoring on corals and corals recovery within one year at Lan and Rin Islands, Chonburi province, Thailand. Lan Island represented the area used in tourism all year, round while Rin Island represented the area used only five months a year, November to March. In each area two sites, shallow water, majority used by snorkellers and deep water, majority used by scuba divers, data were recorded and comparision on the conditions between coral condition of both site were made. Annual coral damaged within each area were difference. Lan island's shallow water show highest coral damaged, 1.82 % of live coral cover, Rin island's shallow water, Lan island's deep water and Rin island's deep water were 1.42, 1.01 and 0.64 % of live coral cover respectively. Probably there were the result of differences in diving activities, number of boats and tourist and time in utilizing there area. Anchoring in the coral community area could occasion damage caused direction damage or scratch coral as mush as 25% of the total number of anchoring in both area. These caused damage lesion surface the average of 23.95 cm² for single anchoring at Lan Island and 11.56 cm² at Rin Island. In both areas, recovery of coral colony damaged and broken could be at less than 10% of the total damaged. It could be reef damaged had recovered very less than amount of coral cover damaged in each area, considered to be very minimum in coral recovery compare to the amount damaged within the same period.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64369
ISBN: 9741310544
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittichote_ng_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ806.31 kBAdobe PDFView/Open
Kittichote_ng_ch1_p.pdfบทที่ 1652.93 kBAdobe PDFView/Open
Kittichote_ng_ch2_p.pdfบทที่ 2856.49 kBAdobe PDFView/Open
Kittichote_ng_ch3_p.pdfบทที่ 31.5 MBAdobe PDFView/Open
Kittichote_ng_ch4_p.pdfบทที่ 41.47 MBAdobe PDFView/Open
Kittichote_ng_ch5_p.pdfบทที่ 51.09 MBAdobe PDFView/Open
Kittichote_ng_ch6_p.pdfบทที่ 6773.58 kBAdobe PDFView/Open
Kittichote_ng_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.