Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64459
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริลักษณ์ ศุภปีติพร-
dc.contributor.authorพัชรา ถาวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-26T10:26:55Z-
dc.date.available2020-03-26T10:26:55Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741709935-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64459-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อ และปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวช้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อของเยาวชนกระทำผิดกฎหมาย เก็บข้อมูลจากเยาวชนกระทำผิดกฎหมายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนชาย 320 คน เยาวชนหญิง 80 คน เยาวชนมีอายุระหว่าง 15-18 ปี ประชากรตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งลักษณะของตัวอย่างก่อน เครื่องมือในการวิจัยนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามบุคลิกภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1.พฤติกรรมการใช้สื่อของเยาวชน พบว่า ความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อของเยาวชนมีความบ่อยครั้งในการดูโทรทัศน์มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.38 จากค่าคะแนนเฉลี่ย 1 - 5 มีความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชนประเภทดนตรีมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 3.50 มีความนิยมในเนื้อหาสื่อเกมคอมพิวเตอร์/วิดีโอเกม ประเภท เกมแข่งขันกีฬามากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 3.10 จากค่าคะแนนเฉลี่ย 1 - 4 บุคคลที่ชอบปรึกษาด้วยเป็นลำดับแรกคือ มารดาร้อยละ 34.5 บิดาร้อยละ 28.3 และเนื้อหาที่ชอบปรึกษาด้วยมากที่สุดคือ การเงินร้อยละ 47.0 เยาวชนมีความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านพักผ่อนคลายอารมณ์มากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 3.65 มีความพึงพอใจสื่อเกมคอมพิวเตอร์/วิดีโอเกมด้านทำให้ได้เรียนรู้ ฝึกสมองและทักษะมากที่สุดค่าเฉลี่ย 3.20 มีความพึงพอใจสื่อบุคคลด้านทำให้คลายเหงาและรู้สึกดีกับตัวเองมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.36 จากค่าคะแนนเฉลี่ย 1 – 4 2. ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ 2.1 บุคลิกภาพแบบ Persistence มีความสัมพันธ์ทางลบกับความบ่อยครั้งในการดูโทรทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, กับความบ่อยครั้งในการดูภาพยนตร์/วิดีโอ และ กับความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2 บุคลิกภาพแบบ Reward dependence มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความบ่อยครั้งในการดูโทรทัศน์, ความบ่อยครั้งในการอ่านหนังสือ 1 ความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านการพักผ่อนคลายอารมณ์และ การลืมความทุกข์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกับความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านการฆ่าเวลา 1 ความพึงพอใจสื่อบุคคลด้านทำให้คลายเหงาและรู้สึกดีกับตัวเอง , เพื่อต้องการได้รับความรักความเข้าใจ และทำให้ได้ประสบการณ์สำหรับการดำเนินชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์ทางลบ กับความนิยมในเนื้อหาสื่อเกมคอมพิวเตอร์/วิดีโอเกม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.3 บุคลิกภาพแบบ Novelty seeking มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชนเรื่องเพศ , สงครามการต่อสู้ และความนิยมในเนื้อหาสื่อเกมคอมพิวเตอร์/วิดีโอเกมเรื่องการต่อสู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และกับความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความสัมพันธ์ทางลบกับความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชนด้านสุขภาพจิตวัยรุ่น และกับความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และกับความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชนเรื่องการ ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ 1 ความพึงพอใจสื่อบุคคลด้านต้องการได้รับความรักและความเข้าใจ และ กับความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านการลืมความทุกข์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.4 บุคลิกภาพแบบ Harm avoidance มีความสัมพันธ์ทางลบกับความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชนเรื่องสงครามการต่อสู้ , ความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง, การได้รับข่าวสารความรู้, สถานการณ์ในการใช้สื่อทำให้เกิดการรวมกลุ่ม , ความพึงพอใจสื่อบุคคล ด้านทำให้ได้ประสบการณ์สำหรับการดำเนินชีวิต, ความพึงพอใจสื่อเกมคอมพิวเตอร์/วิดีโอเกมด้านทำให้ได้เรียนรู้ฝึกสมองทักษะและด้านทำให้ช่วยผ่อนคลายความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, ความพึงพอใจสื่อเกมคอมพิวเตอร์/วิดีโอเกมด้านทำให้เกิดสถานการณ์การรวมกลุ่ม , ทำให้รู้สึกตื่นเต้นและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์, ความนิยมในเนื้อหาสื่อเกมคอมพิวเตอร์/วิดีโอเกมประเภทกีฬา , ความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชนเรื่องเพศ และความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านการลืมความทุกข์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 3. ปัจจัยด้านเพศพบว่า เพศหญิงมีการฟังวิทยุมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชนประเภทดนตรีและโฆษณาสินค้าทันสมัยมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เพศชายมีความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชนประเภทกามารมณ์,สงครามการต่อสู้และมีความนิยมในเนื้อหาสื่อเกมคอมพิวเตอร์/วิดีโอเกมประเภทเกมการต่อสู้มากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ปัจจัยการใช้สารเสพติดของเยาวชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สารเสพติด มีความนิยมในเนื้อหาสื่อมวลชน ด้านกามารมณ์มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้สารเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5. ปัจจัยลักษณะการอบรมเลี้ยงดูเยาวชน พบว่า เยาวชนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษรุนแรงมีความพึงพอใจสื่อมวลชนด้านเป็นเพื่อนคลายเหงาน้อยกว่าเยาวชนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบพูดจาตักเตือนดี ๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to explore the juvenile delinquents' media behaviors and the factors associated with the media behaviors. The subjects were 400 juvenile delinquents (320 males and 80 females) ranging in age from 15-18 years old in the central observation and protection centers. The subjects were recruited for the study by using the stratified random sampling. The research instrument was a set of questionnaires that elicited personal histories, tridimensional personality and media behaviors. The data was analyzed by the SPSS program. The major findings were as follows : 1. The study found that their media exposure was the highest of T.V. viewing frequency (mean= 4.38 ranged from 1-5 scales), mass media preference for music (mean = 3.50 ranged from 1-4 scales), video/computer games preference for sports (mean = 3.10 ranged from 1-4 scales), interpersonal media exposure for consulting with mother (34.5%) 1 father (28.3%) and interpersonal media preference for consulting about the economy (47.0%). The media gratification was followed by mass media gratification for relaxation (mean = 3.65 ranged from 1-4 scales), interpersonal media gratification for to establish and maintain meaningful relationships (mean = 3.36 ranged from 1-4 scales) and video/computer games gratification for learning (mean= 3.20 ranged from 1-4 scales) respectively. 2. Four aspects of personality variables were investigated: 2.1 There was a statistically significant negative correlation between Persistence and T.V. viewing frequency (P<0.01), video viewing frequency, mass media gratification for to arousal (p<0.05). 2.2 There was a statistically significant positive correlation between Reward dependence and T.V. viewing, book reading frequency , mass media gratification for relaxation , diversion(p<0.05), for the pass time, interpersonal gratification for to establish and maintain meaningful relationships, to get affection and to discover oneself (P<0.01). Video/computer games had a statistically significant negative correlation with reward dependence and preference for the sexual games (P<0.05). 2.3 There was a statistically significant positive correlation between Novelty seeking and mass media preference for sexuality, action, the preference for action games (p<0.01) and mass media gratification for to arousal (P<0.05). Another finding was that there was a statistically significant negative correlation between Novelty seeking and mass media preference for teenage mental health 1 mass media gratification for to learning about self and things (p<0.01), mass media preference for lifestyle of adults, mass media gratification and for diversion, interpersonal gratification for to get affection (p<0.05). 2.4 There was a statistically significant negative correlation between Harm avoidance and the mass media preference for action, mass media gratification for to learning about self and things , for information 1 for personal relation 1 interpersonal media gratification for to discover oneself, video/computer games gratification for learning , to relaxation (P<0.01) , to personal relation, to arousal , to use the leisure, video/computer games preference for sport 1 mass media preference for sexuality 1 mass media gratification to diversion (P<0.05). 3. Regarding gender 1 it was found that females had more frequency of radio listening (P<0.05), mass media preference for music and advertisement(p<0.01) than males. Males had more mass media preference for sexuality, action and the video/computer games preference for action than females (p<0.01). 4. As for substance use, it was found that substance users had more mass media preference for sexuality than non - substance users(p<0.01). 5. As regards child rearing style, it was found that the violence-punished juvenile delinquents had less mass media gratification for companionship than the juvenile delinquents who got the reasoned rearing style (P<0.05).-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวัยรุ่นen_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับเยาวชนen_US
dc.subjectการเปิดรับสื่อมวลชนen_US
dc.subjectบุคลิกภาพen_US
dc.subjectสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนen_US
dc.subjectAdolescenceen_US
dc.subjectMass media and youthen_US
dc.subjectPersonalityen_US
dc.subjectCentral Observation and Protection Centreen_US
dc.titleพฤติกรรมการใช้สื่อของเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางen_US
dc.title.alternativeMedia behavior of juvenile delinquents in the Central Observation and Protection Centeren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiriluck.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phatchara_th_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ871.32 kBAdobe PDFView/Open
Phatchara_th_ch1_p.pdfบทที่ 1763.51 kBAdobe PDFView/Open
Phatchara_th_ch2_p.pdfบทที่ 22.1 MBAdobe PDFView/Open
Phatchara_th_ch3_p.pdfบทที่ 3748.21 kBAdobe PDFView/Open
Phatchara_th_ch4_p.pdfบทที่ 41.83 MBAdobe PDFView/Open
Phatchara_th_ch5_p.pdfบทที่ 51.2 MBAdobe PDFView/Open
Phatchara_th_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.