Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6478
Title: ผลกระทบของมาตรการช่องทางพิเศษและการควบคุมทางเข้าต่อการจราจรบนระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Impact of high occupancy vehicle lane and ramp metering strategies on traffic flow on Bangkok expressway system
Authors: วิจิตรา วัชสังค์
Advisors: เกษม ชูจารุกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: kasem.c@eng.chula.ac.th
Subjects: จราจร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ทางด่วน --ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ถึงแม้ว่าในช่วงเวลาเร่งด่วนของวัน ความต้องการในการเดินทางบนระบบทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร จะมีมากกว่าความสมารถในการให้บริการของระบบ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบกาจัดการการจราจร ที่มีประสิทธิภาพ มาตรการการจัดช่องทางพิเศษและการจัดสัญญาณไฟควบคุมการเข้าใช้ทางพิเศษจึงเป็น ทางเลือกที่อาจเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบนระบบทางพิเศษ เนื่องจากมาตรการดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อจัดการและควบคุมปริมาณจราจรในระบบโดยตรง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอผล การประเมินความเหมาะสมของการจัดช่องทางเศษที่จัดเดินรถในทิศทางเดียวกับกระแสจราจรและ การจัดการควบคุมทางเข้าบนระบบทางพิเศษโดยใช้สัญญาณไฟจราจรควบคุมที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพ การจราจรแบบเป็นพื้นที่เดี่ยวโดยประยุกต์ใช้โปรแกรม PARAMICS ผลการศึกษาพบว่าการจัดช่องทางพิเศษ สำหรับยานพาหนะที่มีผู้ร่วมเดินอย่างน้อย 2 คน (ยกเว้นรถโดยสารประจำทาง) จะมีประสิทธิภาพ การดำเนินการเมื่อมีสัดส่วนยานพาหนะในลักษณะพิเศษในช่วงระหว่างร้อยละ 45 ถึง 55 เทียบกับ ยานพาหนะทั้งหมด ที่สภาวะความหนาแน่นด้านการจราจรในช่วง 24 ถึง 59 คันต่อกิโลเมตรต่อช่องจราจร สำหรับผลการวิเคราะห์มาตรการควบคุมการเข้าใช้ทางพิเศษพบว่าสำหรับระบบที่มีการติดตั้งสัญญาณไฟ จราจรแปรเปลี่ยนตามสภาพการจราจร 3 ตำแหน่งคือบนช่วงหลักก่อนเข้าสู่พื้นที่บริเวณติดตั้งสัญญาณไฟ บริเวณจุดร่วมกระแสจราจรและบริเวณทางเข้า จะมีประสิทธิภาพของการดำเนินการที่สภาวะความหนาแน่น ด้านการจราจรในช่วง 36 ถึง 40 คันต่อกิโลเมตรต่อช่องจราจร นอกจากนี้เมื่อพิจารณาในระดับโครงข่าย ระบบทางพิเศษ พบว่าการดำเนินการจัดช่องทางพิเศษ การควบคุมบริเวณทางเข้าทางพิเศษและการจัดทั้ง 2 มาตรการร่วมกัน สามารถลดระยะเวลาในการเดินทางโดยรวมลงได้ร้อยละ 0.4, 3.7 และ 5.9 ตามลำดับ ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาการจราจรบนระบบทางพิเศษให้ มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้
Other Abstract: Although the traffic demand on Bangkok expressway system during peak periods is generally higher than the capacity of the system, no efficient traffic management measure is currently in place. High-Occupancy-Vehicle (HOV) lane and ramp metering strategies are among the potential measures that could alleviate traffic congestion on the expressway because the measures{7f2019} main objective is to directly manage and control traffic in the system. This thesis presents evaluation results of concurrent flow HOV lane and traffic responsive ramp metering applications using PARAMICS software. Findings show that HOV strategy that allows vehicles carrying at least two people (except public transport) to use the HOV lane will be effective when the proportion of these vehicles range from 45 to 55 percent of the total vehicles under traffic density between 24 and 59 vehicles per kilometer per lane. For ramp metering strategy, it was found that the measure will be effective when the density is between 36 and 40 vehicles per kilometer per lane given that loop detectors are located at 3 locations, ie., upstream mainline before ramp metering area, merge area and queue area. In addition, results from network-level analysis indicate that HOV lane, ramp-metering, and combined strategies can reduce total travel time in the system by 0.4, 3.7, and 5.9 percent, respectively. Findings from the present study can form a basis to improve traffic conditions on Bangkok expressway system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6478
ISBN: 9745328707
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wichitra.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.