Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64851
Title: | ลักษณะเด่นของตัวละครราวณะใน ปอุมจริยะ ของวิมลสูริ |
Other Titles: | Characteristics of Rāvaṇa in Paümacariya of Vimalasūri |
Authors: | บุณฑริกา บุญโญ |
Advisors: | ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | chanwit.t@chula.ac.th |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปอุมจริยะของวิมลสูริเป็นวรรณคดีเรื่องรามายณะที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาเชนและมีอิทธิพลต่อรามายณะฉบับของศาสนาเชนฉบับอื่นที่แต่งขึ้นภายหลัง วรรณคดีเรื่องรามายณะของศาสนาเชนจัดอยู่ในวรรณคดีเรื่องเล่าประเภทปุราณะหรือจริตะ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวคิดศลากาปุรุษะซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับวีรบุรุษในศาสนาเชน วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาลักษณะเด่นของตัวละครราวณะในเรื่องปอุมจริยะ ซึ่งเป็นตัวละครปรปักษ์ของเรื่อง และศึกษาความสัมพันธ์ของแนวคิดทางศาสนาเชนที่มีต่อตัวละครราวณะ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะเด่นของราวณะในปอุมจริยะแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ลักษณะเด่นด้านรูปลักษณ์, ลักษณะนิสัย, ลักษณะเด่นด้านความสามารถ และลักษณะเด่นด้านลบจากมุมมองของตัวละครอื่น ลักษณะเด่นเหล่านี้ของราวณะมีทั้งด้านดีและด้านร้าย สะท้อนมิติตัวละครที่เป็นมากกว่าตัวละครปรปักษ์ผู้ประพฤติแต่ความชั่ว แต่ยังมีลักษณะวีรบุรุษผู้ทรงคุณธรรมซึ่งสอดคล้องกับบทบาทของราวณะในฐานะเชนศาสนิกผู้มีความภักดีต่อพระชินะ แนวคิดทางศาสนาเชนที่มีความสัมพันธ์ต่อตัวละครราวณะได้แก่แนวคิดทางจริยศาสตร์และแนวคิดเรื่องศลากาปุรุษะ กรอบแนวคิดทางจริยศาสตร์แบบเชนแสดงให้เห็นการสร้างตัวละครปรปักษ์ให้เป็นแบบอย่างของผู้ครองเรือนที่ไม่อาจรักษาอนุพรตไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และท้ายสุดเมื่อสิ้นชีวิตต้องตกนรกเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ ซึ่งเป็นภาพตรงกันข้ามกับตัวละครเอกคือพระรามผู้ประพฤติตามหลักศาสนาและตามหลักอหิงสา เมื่อถึงบั้นปลายของชีวิตก็ได้ออกบวชบำเพ็ญตบะจนบรรลุความหลุดพ้น ในขณะที่กรอบแนวคิดเรื่องศลากาปุรุษะมีอิทธิพลในการดัดแปลงบทบาทของตัวละครให้ต่างออกไปจากรามายณะฉบับของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตามแนวคิดศลากาปุรุษะ ราวณะเป็นประติวาสุเทวะซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกับพระลักษมณ์ผู้เป็นวาสุเทวะ ประติวาสุเทวะจะถูกวาสุเทวะสังหารด้วยจักรของตนเอง ส่วนพระรามเป็นพลเทวะผู้ประพฤติอหิงสาและจะบรรลุความหลุดพ้น ในขณะที่ทั้งวาสุเทวะและประติวาสุเทวะจะต้องตกนรกเพราะกรรมที่ได้กระทำไว้ จึงนับได้ว่ากรอบแนวคิดทั้งสองข้างต้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปอุมจริยะเป็นรามายณะของศาสนาเชนอย่างแท้จริง |
Other Abstract: | Vimalasūri’s Paümacariya is the earliest Jain Rāmāyaṇa and had influences on the other versions of Jain Rāmāyaṇa written later. Rāmāyaṇa in Jainism is the Narrative literature of a genre called “Purāṇa” or “Carita”, which has its subject-matter of the Śalākāpuruṣa, a Jain concept of illustrious man. This thesis aims to study the characteristics of Rāvaṇa, an antagonist in Paümacariya and to study a relation of Jainism concepts to Rāvaṇa. The findings are that the characteristics of Rāvaṇa in Paümacariya are divided into 4 aspects: appearances, behaviours, abilities and negative features from other characters’ view. These characteristics of Rāvaṇa, which are both good and bad aspects, indicate a rounded character that is not only an antagonist who misbehave, but also a righteous hero, being consistent with Rāvaṇa’s role as a devout Jain devoted to the Jina. Jain religious concepts related to Rāvaṇa are ethical concept and Śalākāpuruṣa concept. The Jain ethical framework designs the silhouette of the antagonists and illustrates him as the householders who is unable to completely take the anuvrata, vows for householder, and finally reborns in hell after his death caused by his committed karma. This set of explanation is contrasted with Rāma, a protagonist, who follows Jain doctrine and nonviolence, renounces the world and becomes a Jain monk to attain liberation. The Śalākāpuruṣa framework influences the changing character’s role to be different from the Hindu versions of Rāmāyaṇa. According to Śalākāpuruṣa concept, Rāvaṇa is Prativāsudeva who is an adversary to Lakṣmaṇa, a Vāsudeva. Prativāsudeva is killed by Vāsudeva with his own wheel-gem. As for Rāma, he is Baladeva who behaves nonviolently and attains liberation while both Vāsudeva and Prativāsudeva must reborn in hell because of the karma they had done. Therefore, the two conceptual frameworks mentioned above are the important factors that cause Paümacariya to be a truly Jain Rāmāyaṇa. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศาสน์ศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64851 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1054 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1054 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5980512322.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.