Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6491
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจริญ นิติธรรมยง-
dc.contributor.advisorทวีป บุญวานิช-
dc.contributor.authorจริยา ฐิติเวศน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialประจวบคีรีขันธ์-
dc.date.accessioned2008-04-03T02:18:58Z-
dc.date.available2008-04-03T02:18:58Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741741588-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6491-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractศึกษาชีววิทยาประชากรของหมึกสายลายหินอ่อน Octopus dollfusi บริเวณพื้นที่การประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างจากเรือประมงอวนลากคู่ที่มีแหล่งทำการประมงในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และขึ้นท่าที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 พบอัตราส่วนเพศระหว่างเพศเมียต่อเพศผู้โดยรวมตลอดทั้งปีไม่เท่ากับ 1:1 (p<0.05) โดยมีเพศผู้มากกว่าเพศเมีย เมื่อศึกษาอัตราส่วนระหว่างเพศเมียจำแนกตามความยาว พบอัตราส่วนดังกล่าวมีค่าต่ำที่ความยาว 62.5 มม. และมีค่าสูงสุดที่ความยาว 92.5 มม. ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำดับ (L) กับน้ำหนัก (W) อยู่ในรูปสมการ W = 0.001* L[superscript 2.6026], W = 0.0018* L[superscript 2.4546 และ W = 0.0014* L[superscript 2.5182] (เพศผู้, เพศเมีย และรวมเพศ ตามลำดับ) อัตราส่วนหมึกวัยเจริญพันธุ์เพศเมียต่อหมึกเพศเมียทั้งหมดจำแนกตามความยาว (P[subscript L]) อธิบายโดยใช้ Logistic curve ได้สมการ P[subscript L]) = 1/1+e[superscript 13.131-0.233*L] และค่าความยาวเฉลี่ยที่เริ่มสืบพันธุ์ได้ (L[subscript 50]) เท่ากับ 56.35 มม. หมึกสายชนิดนี้มีการวางไข่ตลอดทั้งปี แต่ช่วงการวางไข่มากมี 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมและช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ความสัมพันธ์ระหว่างความดกของไข่ (F[subscript c]) กับความยาว (L) อยู่ในรูปสมการ F[subscript c] = 2.2586* L[superscript 1.8482] ความยาวสูงสุดเฉลี่ยที่หมึกสายสามารถเติบโตได้ (L[subscript infinity] เท่ากับ 103.56 และ 115.42 มม. และมีค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (K) เท่ากับ 1.145 และ 1.6 ต่อปี ในเพศผู้และเพศเมีย ตามลำดับ ส่วนสัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) ของหมึกเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 3.3042 และ 4.6482 ต่อปี และพบว่าเพศเมียมีค่าสัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติ (M), สัมประสิทธิ์การตายโดยการประมง (F) และอัตราการใช้ประโยชน์ (F/Z) สูงกว่าเพศผู้ จากการที่ทรัพยากรหมึกสายชนิดนี้มีปริมาณการถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ จนน่าที่จะมีโอกาสเกิดการทำประมงเกินกำลังผลิต (over fishing) ได้และจากการศึกษาอัตราส่วนหมึกวัยเจริญพันธุ์เพศเมียต่อหมึกเพศเมียทั้งหมดพบว่า L[subscript 50] มีค่าประมาณ 55-60 มม. ดังนั้นเพื่อให้หมึกสายมีโอกาสในการสืบพันธุ์จึงควรมีการกำหนดให้มีขนาดแรกจับใหญ่กว่า 60 มม. โดยอาจมีการกำหนดขนาดตาอวนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมen
dc.description.abstractalternativePopulation biology of the marble octopus Octopus dollfusi in Prachuap Khiri Khan Province was studied. Samples were collected during January-December 202 from pair trawlers landed at Hua Hin Fishing Port. The estimated sex ratio (female to male) was significantly different from 1:1 (p<0.05). Sex ratio of female to total categorized by length class was low at 62.5 mm. and high at 92.5 mm. The correlative equation between mantle length (L) and weight (W) for male, female and combined were W = 0.001* L[superscript 2.6028], W = 0.0018* L[superscript 2.4546] and W = 0.0014* L[superscript 2.5182] respectively. Ratio of mature female to total female categorized by length class could be described by a logistic curve: P[subscript L] = 1/1+e[superscript 13.131-0.133*L]. Calculated average length at first maturation was 65.35 mm. The marble octopus spawns al year round, with two peaks: March to May and August to October. The relationship between fecundity (F[subscript c] and mantle length (L) could be described as F[subscript c] = 2.2586* L[superscript 1.8482]. The estimated asymptotic lengths (L[subscript infinity]) were 103.56 and 115.42 mm. while curvature parameters (K) were 1.145 and 1.6 yr[superscript -1] in male and female respectively. The total mortality coefficients (Z) were 3.3042 and 4.6482 yr[superscript -1] in male and female respectively. The natural mortality (M), fishing mortality (F) and exploitation rate in female were higher than those of the male.en
dc.format.extent1533319 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปลาหมึกสายลายหินอ่อนen
dc.subjectชีววิทยาประชากรen
dc.titleชีววิทยาประชากรของหมึกสายลายหินอ่อน Octopus dollfusi Robson, 1928 ที่ถูกจับโดยเรือประมงอวนลากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์en
dc.title.alternativePopulation biology of the marbled octopus Octopus dollfusi Robson, 1928 caught by trawl fisheries in Prachuap Khiri Khan Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNcharoen@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jariya.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.