Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65007
Title: | สมบัติของพอลิแล็กทิกแอซิดผสมด้วยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด |
Other Titles: | Properties of poly(lactic acid) blended with natural rubber-graft-poly(acrylic acid) |
Authors: | ธมลวรรณ อุดมกิจปัญญา |
Advisors: | กาวี ศรีกูลกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kawee.S@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานนี้ คือ การปรับปรุงสมบัติเชิงกล และสมบัติทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดด้วยการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด โดยยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดถูกเตรียมจากน้ำยางธรรมชาติผ่านปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบอิมัลชัน โดยใช้กรดอะคริลิกร้อยละ 50, 70 และ 90 โดยน้ำหนักเนื้อยางแห้ง ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง จากวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์แทรนสฟอร์มสเปกโทรสโกปี พบว่า พอลิอะคริลิกแอซิดถูกกราฟต์อยู่บนสายโซ่ของยางธรรมชาติแล้ว จากนั้นยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดที่เตรียมได้ถูกนำไปผสมกับพอลิแล็กทิกแอซิดที่ปริมาณต่างๆ (ร้อยละ 10, 20 ,30 และ 40 โดยน้ำหนัก) โดยใช้เครื่องผสมแบบปิด และขึ้นรูปเป็นชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ จากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกลงในพอลิแล็กทิกแอซิด ส่งผลต่อค่าความทนแรงกระแทก และการยืดตัว ณ จุดขาด โดยที่เมื่อมีปริมาณยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกเพิ่มขึ้น จะทำให้ค่าความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาด เพิ่มขึ้น แต่ความทนแรงดึง และยังส์มอดุลัสมีค่าลดลงเมื่อเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก ดังนั้นพอลิเมอร์ผสม 70/30 พอลิแล็กทิกแอซิดผสมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิด70 มีความทนแรงกระแทกและการยืดตัว ณ จุดขาดสูงที่สุด (11.3 กิโลจูลต่อตารางเมตร และร้อยละ 11.05 ตามลำดับ) จากการทดสอบสมบัติทางความร้อน พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดลงในพอลิแล็กทิกแอซิดส่งผลให้เสถียรภาพทางความร้อนของพอลิแล็กทิกแอซิดเพิ่มขึ้น โดยที่ปริมาณการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก ร้อยละ 40 จะทำให้พอลิเมอร์ผสมมีเสถียรภาพทางความร้อนดีที่สุด ส่วนพฤติกรรมทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมเมื่อเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิกแอซิดลงในพอลิแล็กทิกแอซิดนั้น พบว่าไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิเปลี่ยนคล้ายแก้ว และอุณหภูมิการหลอมเหลวผลึก แต่ส่งผลให้อุณหภูมิการเกิดผลึกเย็นเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้ปริมาณผลึกลดลงเหลือ จากงานวิจัยนี้พบว่าการเติมยางธรรมชาติ-กราฟต์-พอลิอะคริลิก เป็นการช่วยปรับปรุงความเหนียว และเสถียรภาพทางความร้อนให้กับพอลิแล็กทิกแอซิด |
Other Abstract: | The aim of this study was to improve the mechanical and thermal properties of poly(lactic acid) (PLA) by blending with natural rubber-graft-poly(acrylic acid) (NR-g-PAA). The NR-g-PAA was prepared from natural rubber latex via emulsion polymerization using acrylic acid at 50,70 and 90 wt% of dried rubber content (DRC) at 80 °C for 3h. The result from FT-IR spectra confirmed that poly(acrylic acid) (PAA) grafting onto NR backbone. After that, NR-g-PAA was blended with PLA by using internal mixer. The ratios of PLA/NR-g-PAA was as follows: 90/10, 80/20, 70/30 and 60/40 wt ratio. Injection molding was carried out with an injection machine to obtain a specimen for testing. The results showed that adding NR-g-PAA into PLA caused enhancement in the impact strength and elongation at break. Whereas the increasing amount of NR-g-PLA in PLA blend reduces the tensile strength and Young’s modulus. The 70/30 PLA/NR-g-PAA70 showed the highest impact strength and elongation at break (11.3 kJ/m2 and 11.05% respectively). Thermal properties showed that adding NR-g-PAA into PLA caused improvement in thermal stability when increasing amount of NR-g-PAA. The 60/40 PLA/NR-g-PAA showed the greatest thermal stability (401 °C). It was found that the addition of NR-g-PLA did not affect glass transition temperature (Tg) and melting temperature (Tm) of polymer blends. Whereas, the increasing amount of NR-g-PAA increased cold crystallization temperature (Tcc) of PLA to 113 °C and affect the degree of crystallinity (Xc) of PLA reduced to 16%. From the results, the addition of NR-g-PAA led to an improvement of PLA toughness and thermal stability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65007 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.981 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.981 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6072142023.pdf | 4.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.