Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65071
Title: การบำรุงรักษาเชิงรุกสำหรับระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในท่าเรือและคลังปิโตรเคมี 
Other Titles: Proactive maintenance for fire pump system in petrochemical jetty and terminal
Authors: ณภัทร บรรจงกิจ
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการตรวจพบความผิดปกติของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในท่าเทียบเรือและบริเวณถังเก็บปิโตรเคมีเหลว จากการวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าแผนการบำรุงรักษาที่มีอยู่เดิมนั้นยังขาดการตรวจพบความผิดปกติล่วงหน้าจึงส่งผลให้เกิดการขัดข้องของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในขณะฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินรวม 18 ครั้งภายในระยะเวลาหนึ่งปี มีค่าความพร้อมใช้งานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเพียง 65.4% ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้สร้างแผนการบำรุงรักษาขึ้นใหม่ที่สามารถตรวจความผิดปกติและป้องกันการขัดข้องของเครื่องจักร โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัยมีดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูลจำนวนครั้งและประวัติอาการขัดข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป 2) วิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบตามรูปแบบความเสียหายแยกตามประเภทของเครื่องจักร ประกอบไปด้วย มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องสูบน้ำ 3) คัดเลือกวิธีการตรวจพบความผิดปกติที่เหมาะสมกับเครื่องมือ เทคโนโลยีและความรู้ความสามารถของพนักงานที่องค์กรมีอยู่  4) กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร 5) ปรับปรุงแผนการบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำดับเพลิง 6) ดำเนินการตามแผนการบำรุงรักษาต่าง ๆ และทำการประเมินผล  ผลการดำเนินงานพบว่าสามารถตรวจจับอาการผิดปกติของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้ก่อนที่จะเกิดการขัดข้อง ส่งผลให้ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงมีความพร้อมใช้งานหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์และจำนวนชั่วโมงในการบำรุงรักษาลดลง 18 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: The objective of this research was to improve the efficiency of abnormal fire pump detection in the petrochemical jetty and terminal. From the analysis, it was found that the existing maintenance plan still lacked the detection of faults in advance. Then there were 18 times of failures of the fire pump system in emergency drills within one year. These failures affected in the availability of the fire pumps being reduced to 65.4%. Therefore, this research aimed to improve the maintenance plan by adding methods for detecting abnormalities of the fire pump system. The research procedures were as follows: 1) gathering both the number of breakdowns and maintenance history for further analysis of problems, 2) analyzing the failures and the effects of the fire pump system which consists of electric motors, diesel engines, and pumps, 3) selecting methods for detecting faults that were appropriate for the existing tool, technology, and knowledge of staff, 4) setting appropriate schedule for maintenance activities, 5) improving the maintenance plan for the fire pump system, 6) implementing the maintenance plan and evaluating the research. The results showed that the abnormalities of the fire pump system could be detected before failure. The availability increased to one hundred percent and the maintenance working hour decreases 18%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65071
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1309
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1309
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970922321.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.