Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65145
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารเมศ ชุติมา-
dc.contributor.advisorสิริพรรณ นิลไพรัช-
dc.contributor.authorวรรณศิกา ศิริมงคล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T09:19:49Z-
dc.date.available2020-04-05T09:19:49Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65145-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปกระเบื้องดินเผาปูพื้น โดยการแก้ไขการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยประยุกต์ใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา จากการศึกษาพบว่าปริมาณการเกิดของเสียประเภทกระเบื้องผิวหน้าไม่เรียบในกระบวนการขึ้นรูปมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 152,871.16 DPPM (Defect Parts per Million) ในงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา ทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการนิยามปัญหา ขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการปรับปรุงและแก้ไขกระบวนการและขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการศึกษารายละเอียดของกระบวนการผลิตเพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัญหากระเบื้องผิวหน้าไม่เรียบ ต่อมาในขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหาจะทำการศึกษาความแม่นยำและความถูกต้องของระบบการวัด การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพแสดงสาเหตุและผล และคัดเลือกตัวแปรนำเข้าโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) จากนั้นจึงได้ทำการออกแบบการทดลองเพื่อหาปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญต่อสัดส่วนของเสียและหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย ผลการศึกษาพบว่าค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม คือรูตะแกรงของเครื่องบดมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ขนาดตะแกรงร่อนของเครื่องบดเบอร์ 18 (Mesh No.18) และขนาดตะแกรงร่อนก่อนขึ้นกระพ้อลำเลียงเบอร์ 8 (Mesh No.8) หลังการปรับปรุงกระบวนการพบว่าจำนวนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการขึ้นรูปกระเบื้องดินเผาปูพื้นลดลงเหลือ 34,610 DPPM ซึ่งสามารถลดการเกิดของเสียลงได้ถึง 77% เมื่อเทียบกับจำนวนของเสียก่อนการปรับปรุง-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to reduce defects in the forming process of fired clay floor tiles by modifying the parameter settings of the influential factors using the Six Sigma approach. The current process had 152,871.16 DPPM (Defect Parts per Million). The main cause of this problem was the rough surface problem in the forming process. The five steps of the Six Sigma quality improvement approach were exercised in this research, i.e. define, measurement, analysis, improvement, and control phases, respectively. This research started by studying in details of the production process to find relevant factors that could cause a rough surface defect. The main factors were selected and analyzed by Failure Mode and Effect Analysis (FMEA). After that, the settings of each factor were discovered by applying the Design of Experiment (DOE) approach.  The results showed that the appropriate settings were the sieve size of pan mill setting to 18 Mesh, the size of sieve holes at pan mill setting to be uniformly distributed and the sieve size before sending to bucket elevator setting to 8 Mesh. It is found that the defect in the forming process of fired clay floor tiles was reduced to 34,610 DPPM, which is 77% of the defect before the improvement.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1327-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleการลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปกระเบื้องดินเผาปูพื้นโดยใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา -
dc.title.alternativeDefect reduction in forming process of fired clay floor tiles by six sigma approach-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorParames.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSiripan.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1327-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170955621.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.