Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65147
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปารเมศ ชุติมา | - |
dc.contributor.author | ธัญวรัตน์ สวัสดิ์สุภผล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-05T09:19:52Z | - |
dc.date.available | 2020-04-05T09:19:52Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65147 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แผงวงจรรวมแบบไม่สัมผัส ซึ่งเป็นชิพที่ใช้เก็บข้อมูลในอีพาสปอร์ต จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตพบว่าในกระบวนการผลิตมีของเสียประเภทวีลิมิเตอร์ ซึ่งตรวจพบที่แผนกทดสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้า เมื่อนำชิ้นงานของเสียมาวิเคราะห์และตรวจสอบพบว่า ชิ้นงานของเสียนั้นมีปัญหารอยแตกร้าวบริเวณหน้าได ซึ่งจำนวนของเสียเมื่อเทียบต่อล้านชิ้นสูงที่สุดที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1661 PPM โดยมีสาเหตุมาจากความผันแปรของเครื่องจักรในกระบวนการห่อหุ้มชิ้นงาน งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้หลักการซิกส์ ซิกม่า ในการปรับปรุงกระบวนการโดยการดำเนินการตามหลัก DMAIC ใน ขั้นตอนการนิยามปัญหา,ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบวัด,ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา,ขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการ,จนกระทั่งถึง ขั้นตอนควบคุมกระบวนการ.ซึ่งการดำเนินการวิจัยพบว่าสาเหตุของความผันแปรของเครื่องจักรในกระบวนการห่อหุ้มชิ้นงานนั้นเกิดจาก แปรงที่ใช้ทำความสะอาดหน้าแม่พิมพ์เกิดการชำรุดส่งผลให้หน้าแม่พิมพ์ มีความสะอาดไม่เพียงพอมีเศษผงของคอมปาวด์พลาสติก และคราบคอมปาวด์พลาสติกติดค้างอยู่บริเวณหน้าแม่พิมพ์ซึ่งส่งผลให้ เมื่อชิ้นงานถัดไปเข้าสู่กระบวนการห่อหุ้มชิ้นงาน เกิดแรงประทะระหว่างแม่พิมพ์กับเศษผงของคอมปาวด์พลาสติกและกระแทกเข้ากับชิ้นงานบริเวณหน้าไดแรงประทะส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวบริเวณหน้าได ทำให้ชิ้นงานไม่ผ่านการทดสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าประเภทวีลิมิเตอร์ ทางผู้วิจัยจึงได้แก้ไขปัญหานี้โดยการเปลี่ยน แปรงทำความสะอาดหน้าแม่พิมพ์และกำหนดให้มีการทำความสะอาดหน้าแม่พิมพ์ทุกครั้งก่อนเริ่มงานล๊อตใหม่ และมีการตรวจเช็คสภาพแปรงทำความสะอาดหน้าแม่พิมพ์ทุกหนึ่งเดือน ตลอดจนกำหนดอายุการใช้งานที่สามเดือน เปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน การติดตามผลการปรับปรุงพบว่าจำนวนของเสียเมื่อเทียบต่อล้านประเภทรอยแตกร้าวบริเวณหน้าไดลดลงจาก 1661 PPM เหลือเพียง 902 PPM | - |
dc.description.abstractalternative | This research was conducted in a manufacturing company that produces integrated circuits for global customers. The purpose of this research was to reduce defect rate from the assembly process that affected product lots on hold at the test process for the contactless chip module package which had increasing of product lots on hold rate of 9.5% in March 2019 based on the reject criteria V-limiter. The potential cause of defect came from die crack that high PPM of the die crack defect average 1661 PPM. To reduce defect rate, the 5 steps of DMAIC, of Six Sigma methodology were applied in this research for process improvement to reduce die crack defect of contactless chip module package at the assembly process. The 5 steps of DMAIC activities are carried out by applying quality control and statistical tools to identify the root cause of the problem and establish effective actions. The result reveals that the brush cleaning conditions and mold chase cleaning method are the causes of die crack which made the product fail functional test criteria V-limiter at the testing process. After implementing the improvement actions, it is observed that the result of die crack PPM was reduced from 1661 to 902 and the product lots on hold based on criteria V-limiter is reduced from 9.5% to 4.02% in November 2019. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1314 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | การลดของเสียในแผงวงจรรวมแบบไม่สัมผัส | - |
dc.title.alternative | Contactless chip module defect reduction | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Parames.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1314 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6170985421.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.