Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65157
Title: การใช้ถ่านกระดูกกำจัดคลอรีนแมงกานีสและสีจากน้ำ
Other Titles: Use of bone charcoal for chlorine manganese, and color removal from water
Authors: สุดาวดี อุตชี
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
ถ่านกระดูก
คลอรีน
แมงกานีส
Sewage -- Purification -- Heavy metals removal
Manganese
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ถ่านกระดูกกำจัดคลอรีน แมงกานีสและสีจากน้ำเสีย โดยทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพของถ่านกระดูก ศึกษาผลของเวลาสัมผัส ปริมาณถ่านกระดูก ความเข้มข้นของสารเริ่มต้น และพีเอชที่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัด และทดลองแบบคอลัมน์ต่อเนี่องศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัด คลอรีนและแมงกานีสของถ่านกระดูกกับนํ้าที่มีการปนเปื้อนจริง ผลการศึกษาการทดลองแบบกะแสดงให้เห็นว่า เวลาสัมผัส ปริมาณถ่านกระดูก ความเข้มข้นเริ่มต้น และพีเอชมีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดคลอรีน แมงกานีสและสี โดยสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดคลอรีนด้วยถ่านกระดูก คือที่เวลาสัมผัสเท่ากับ 70 นาที พีเอช 6-7 และปริมาณถ่านกระดูก 0.5 กรัม สภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดแมงกานีสด้วยถ่านกระดูก คือที่เวลาสัมผัสเท่ากับ 5 ชั่วโมง พีเอซ 5-7 และปริมาณถ่านกระดูก 1 กรัม และสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดสีด้วยถ่านกระดูก คือที่เวลาสัมผัสเท่ากับ 3 วัน พีเอช 6-7 และปริมาณถ่านกระดูก 1 กรัม ผลการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดด้วยคอลัมน์ทดสอบกับน้ำที่มีการปนเปื้อนจริงคือนํ้าประปาที่ความเข้มข้นคลอรีนเริ่มต้น 0.95 มิลลิกรัมต่อลิตร และนํ้าคลองที่มีความเข้มข้นแมงกานีสเริ่มต้นเท่ากับ 0.54 มิลลิกรัมต่อลิตร ผ่านคอลัมน์เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เชนติเมตร ที่อัตราการไหล 240 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง พบว่ามีประสิทธิภาพในการดูดซับคลอรีนได้ 98.95 % และมีปริมาณนํ้าผ่านการบำบัดได้สูงกว่า 7338 BV และกำจัดแมงกานีสในนํ้าคลองที่อัตราการไหล 60 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงพบว่า ปริมาตรนํ้าที่ไหลผ่านการบำบัดให้แมงกานีสตํ่ากว่า 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตรเท่ากับ 1101 BV
Other Abstract: This research is a feasibility study in using bone charcoal for chlorine manganese, and color removal from water. Physical characteristics of bone charcoal have been examined, batch adsorption studies have been conducted to determine the effects of contact time, dose of absorbent, concentration and pH and the experiment for adsorption capacity have been performed. The results indicated that time, solution pH, initial concentration, and bone charcoal weight affected the adsorption capacity. The appropriate conditions for chlorine removal were using bone charcoal weight of 0.5 grams at pH 6-7 for 70 minutes, manganese removal were using bone weight of 1 gram at pH 5-7 for 7 hours, and color Removal were using bone weight of 1 gram at pH 6-7 for 3 days. For adsorption column experiment, 1 centimeter diameter and 10 centimeters depth column were used the efficiency of chlorine removal by the column was 98.95% when tap- water was feed through. For manganese removal from surface water the column can remove manganese to less than 0.3 ppm for 1101 BV.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65157
ISSN: 9741702043
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudawadee_ut_front.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ424.5 kBAdobe PDFView/Open
Sudawadee_ut_ch1.pdfบทที่ 1144.17 kBAdobe PDFView/Open
Sudawadee_ut_ch2.pdfบทที่ 21.01 MBAdobe PDFView/Open
Sudawadee_ut_ch3.pdfบทที่ 3575.71 kBAdobe PDFView/Open
Sudawadee_ut_ch4.pdfบทที่ 43.5 MBAdobe PDFView/Open
Sudawadee_ut_ch5.pdf่บทที่ 578.94 kBAdobe PDFView/Open
Sudawadee_ut_back.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก610.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.