Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65222
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชัย สิทธิศรัณย์กุล-
dc.contributor.authorวิทวัส สุรวัฒนสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-10T01:42:57Z-
dc.date.available2020-04-10T01:42:57Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65222-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractปัจจุบันปัญหาการทำงานขณะป่วย (Presenteeism) คือหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง เกิดขึ้นกับหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะในบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขณะป่วยในแพทย์ประจำบ้าน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ณ จุดใดจุดหนึ่ง ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 250 คน คิดเป็นร้อยละ 47.7 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ชนิดตอบด้วยตนเองประกอบด้วย ส่วนที่พัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรมและส่วนของแบบสอบถามสุขภาพทั่วไป ข้อมูลความชุกของการทำงานขณะป่วยถูกนำเสนอในรูปแบบร้อยละ ส่วนข้อมูลด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องถูกนำเสนอในรูปแบบ crude และ adjusted odds ratios (ORs) ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการทำงานขณะป่วยในแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านอยู่ที่ร้อยละ 58.6 (95% CI = 52.2,64.7) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานขณะป่วย ได้แก่ ชั้นปีของแพทย์ประจำบ้าน โดยแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2 มีความสัมพันธ์กับการทำงานขณะป่วย 3.48 เท่า (95% CI = 1.72,7.05) แต่กลุ่มแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3,4 และ 5 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยการมีสมดุลการทำงานและการใช้ชีวิตที่ดี คือกลุ่มที่มีสมดุลการทำงานและใช้ชีวิตที่ดีมีความสัมพันธ์กับการทำงานขณะป่วย 0.30 เท่า (95% CI = 0.17,0.54) สรุปผลการศึกษา ความชุกของการทำงานขณะป่วยในแพทย์ประจำบ้านพบได้บ่อย ดังนั้นการส่งเสริมให้มีสมดุลการทำงานและการใช้ชีวิตที่ดี น่าจะช่วยลดการทำงานขณะป่วยได้ กลุ่มที่ควรให้ความสนใจในการแก้ปัญหานี้หรือศึกษาปัญหานี้เพิ่มเติม คือ กลุ่มแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2-
dc.description.abstractalternativePresenteeism, often defined as going to work while being ill, is recently one of the most widely recognized problems occurring in many occupations and professions, especially in health-care providers including medical residents and interns. This study aims to examine the prevalence and related factors of presenteeism among residents and interns in a University Hospital. A cross-sectional survey was conducted among 250 participants (47.7) ,using a self-administered electronic questionnaire comprising 2 parts: general health inquiries and questions adapted from a literature review. The data of prevalence were presented as percentage while those of related factors were presented as crude and adjusted odds ratios. The results indicated that the prevalence of presenteeism among residents and interns was 58.6% (95% CI = 52.2,64.7) in this sample. Associated factors of presenteeism included the year of residency training. The second-year residents were 3.48 times more likely to be presenteeism (95% CI = 1.72,7.05). The others years no statistical significant. Compaired to the non work-life balance, work-life balance was also contributed to presenteesim; Those with satisfactory work-life balance were 0.30 (95% CI = 0.17,0.54) more likely to be presenteeism. This study revealed that the prevalence of presenteeism among residents was high. Promotion work-life balance may reduce preseenteeism. The second-year residents should be focused for presenteeism reduction or further research.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.722-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขณะป่วยในแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง-
dc.title.alternativeThe prevalence and related factors of presenteeismamong medical residents and interns in University Hospital-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPornchai.Si@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.722-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6174023430.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.