Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65488
Title: องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการพัฒนานักเรียน : การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ
Other Titles: Factors affecting the participation of guardians in student development : a quantitative and qualitative study
Authors: ประไพจิตร หิรัญยัษฐิติ
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
เอมอร จังศิริปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wsuwimon@chula.ac.th
Aimorn.J@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
Education -- Parent participation
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานักเรียนพิจารณาจากการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครอง ความสามารถในการพัฒนานักเรียน และลักษณะกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง วิธีการศึกษามี 2 ประเภท คือ (1) การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง นักเรียน และ (2) การศึกษาเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์กรณีตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ผู้ปกครองนักเรียน ในเขตการศึกษา 6 จำนวน 131 โรงเรียน จำนวน 1,687 คน จาก 4 สังกัด ประกอบด้วย (1) เทศบาล (2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) (3) กรมสามัญศึกษา และ (4) สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กรณีตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพใช้กรณีตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครอง จำนวน 8 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่าตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครอง มี 9 ตัวแปร และสามารถอธิบายความแปรปรวนของระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองได้ ร้อยละ 27.4 ประกอบด้วย (1) เพศของผู้ปกครอง (2) อายุ (3) ความสัมพันธ์กับนักเรียน (4) ความเข้าใจในหลักสูตรการเรียนการสอน (5) หน้าที่ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมของโรงเรียน (6) สังกัดโรงเรียน (7) ความพอใจในลักษณะของนักเรียน (8) การปฏิบัติงานและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน และ (9) การเห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน การศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อความสามารถในการพัฒนานักเรียน พบว่ามี 10 ตัวแปร และสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการพัฒนานักเรียนได้ร้อยละ 37.0 ประกอบด้วย (1) เพศของผู้ปกครอง (2) อายุ (3) ระดับการศึกษา (4) จำนวนบุตร (5) ความสัมพันธ์กับนักเรียน (6) ความเข้าใจในหลักสูตรการเรียนการสอน (7) ความพอใจในลักษณะของนักเรียน (8) การปฏิบัติงานและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน (9) การเห็นคุณค่าของการได้รับการศึกษา และ (10) การเห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน การศึกษาลักษณะกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง พบว่าผู้ปกครองจะเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะกิจกรรมเสรีมวิชาการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.24 รองลงมาเป็นกิจกรรมอื่น ๆ และกิจกรรมด้านวิชาการคิดเป็นร้อยละ 26.85 และ 25.37 ตามลำดับ 2. การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองกรณีตัวอย่างทั้ง 8 คน พบว่าตัวแปรว่าที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองมี 6 ตัวแปร ประกอบด้วย (1) สถานภาพสมรส (2) อาชีพ (3) ลักษณะเวลาการทำงาน (4) รายได้ (5) ความสัมพันธ์กับนักเรียน และ (6) หน้าที่ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมของโรงเรียน 3. การสังเคราะห์จากการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสรุปได้ว่าตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครอง ประกอบด้วย 2 ตัวแปร คือ (1) ความสัมพันธ์กับนักเรียน และ (2) หน้าที่ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมของโรงเรียน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the factors affecting the participation of guardians in student development. The research variables consisted of level of participation of guardians in education provision, capability in student development, and types of activities guardians participated in. Two types of research methodology used in this study were quantitative method through use of questionnaires to measure the level of participation of guardians and qualitative method through case studies. The sample consisted of guardians in the educational district 6 covering 131 schools and 1,687 people from 4 jurisdictions, i.e. (1) Municipal, (2) Office of the Private Education Commission (OPEC), (3) Department of General Education (DGE), and (4) Office of the National Primary Education Commission (ONPEC). The research instruments were questionnaires and interview guides. The qualitative study were conducted with 8 case studies. Data were analyzed through use of content analysis, descriptive statistics and regression analysis. 1. The quantitative study results showed that 9 variables affecting the participation of guardians in educational provision were able to explain 27.4% of the variance. They were (1) gender of the guardians, (2) age, (3) relationship to students, (4) understanding of the education curriculum/teacher methods, (5) responsible to the schools activities, (6) jurisdictions of schools, (7) satisfaction of student characteristics, (8) work operations and school activities, (9) belief in benefit of participation in student development. Ten variables affecting guardians capability in student development were able to explain 37.0% of variance. They were of (1) gender of the guardians, (2) age, (3) educational level, (4) number of children, (5) relationship to students, (6) understanding of the education curriculum, (7) satisfaction of student characteristics, (8) work operations and schools activities, (9) belief in benefit of education, and (10) belief in benefit of participation in student development. It was also found that 46.24% of the guardians mostly participated in extra-curriculum activities, followed by participation in other activities and academic activities with 26.85% and 25.37%, respectively. 2. The qualitative study results from 8 case studies indicated the following 7 variables affecting guardians’ participation in student development: (1) marital status, (2) occupation, (3) type of working time, (4) income, (5) relationship to students, (6) responsibilities in school activities. 3. The quantitative and qualitative were synthesized and could be concluded that the following two variables affecting the participation of guardians in education provision: (1) relationship to students and (2) responsibilities in school activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65488
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.178
ISBN: 9741733771
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.178
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapaijit_hi_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ884.27 kBAdobe PDFView/Open
Prapaijit_hi_ch1_p.pdfบทที่ 11.18 MBAdobe PDFView/Open
Prapaijit_hi_ch2_p.pdfบทที่ 21.85 MBAdobe PDFView/Open
Prapaijit_hi_ch3_p.pdfบทที่ 31.26 MBAdobe PDFView/Open
Prapaijit_hi_ch4_p.pdfบทที่ 42.17 MBAdobe PDFView/Open
Prapaijit_hi_ch5_p.pdfบทที่ 5880.7 kBAdobe PDFView/Open
Prapaijit_hi_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.