Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65504
Title: | การประยุกต์ใช้ระบบรหัสแท่งในการจัดการคลังสินค้าประเภทวัตถุดิบ กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ |
Other Titles: | Implementation of bar-coding system for management raw-material warehouse case study : electronic industry |
Authors: | ศมรักษา วิชิตชีพ |
Advisors: | ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ สุวิมล สุจริตวณิชพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การจัดการคลังสินค้า คลังพัสดุ บาร์โคด อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Warehouses -- Management Bar coding Electronic industries |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ประยุกต์ใช้ระบบรหัสแท่งในการจัดเก็บข้อมูลภายในคลังสินค้าประเภทวัตถุดิบ ภายใต้สภาวะของโรงงานตัวอย่าง ซึ่งเป็นโรงงานประกอบชิ้นส่วน อิเล็คทรอนิกส์ โดยทำการออกแบบระบบงานและพัฒนาซอฟแวร์ที่ใช้ในกิจกรรมหลักของงานคลังวัตถุดิบคือ กิจกรรมการรับ, กิจกรรมการจัดเก็บ, กิจกรรมการจ่าย และกิจกรรมการรับคืนวัตถุดิบ โดยมุ่งเน้นที่จะช่วยลดขั้นตอนในการทำงานที่ไม่เป็นการเพิ่มคุณค่าของงาน และช่วยลดเวลาความล่าช้าของข้อมูลภายในคลังวัตถุดิบ อันเกิดจากสภาวะการรอคิวในการคีย์ข้อมูล โดยในการพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ไต้อาศัยโปรแกรม Microsoft Access 97 เป็นโปรแกรมในการจัดเก็บ และจัดการฐานข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มของฐานข้อมูลจำนวน 6 กลุ่มเป็นจำนวนทั้งสิ้น 46 ตาราง และใช้โปรแกรม Microsoft Visual Basic 6.0 ในการสร้างโปรแกรมแอพพลิเคชั่น ซึ่งประกอบไปด้วยหน้าจอในการทำงานทั้งสิ้น 9 กลุ่ม โดยในแต่ละหน้าจอการทำงานจะสามารถควบคุมการใช้งานด้วยระบบรหัสผ่าน และผลลัพธ์ของโปรแกรมจะแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ ป้ายบาร์โค้ดของวัตถุดิบที่รับเข้า, แฟ้มข้อมูลแบบตัวอักษรที่สร้างชิ้นเพื่อใช้ในการส่งข้อมูลให้กับระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง และรายงานสรุปการเคลื่อนไหวของข้อมูลในกิจกรรมต่าง ๆ การทำงานของระบบบาร์โค้ดที่พัฒนาชขึ้นนี้ สามารถใช้งานได้แบบอิสระ ( Stand-alone System) และจะทำให้การจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้นในทางกายภาพ (Physical Information) สามารถไปพร้อมกับข้อมูลในฐานข้อมูลได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันโรงงานตัวอย่างมีระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลางซึ่งใช้ร่วมกันทั้งโรงงาน ทำให้จำเป็นต้องมีการส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นในคลังวัตถุดิบให้ทับระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ซึ่งมีข้อจำทัดในเรื่องของการเชื่อมต่อข้อมูล คือจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบช่วงเวลา (Batch Processing) จึงทำให้ไม่สามารถกำจัดระยะเวลาในการรอการนำเข้าข้อมูลออกไปไต้ทั้งหมด ดังนั้นในการนำระบบงานที่พัฒนาชิ้นนี้ไปใช้ จึงเหมาะสมกับกิจกรรมที่มีข้อมูลจำนวนมากเกิดขึ้นในเวลาเดียวทัน เช่นในกิจกรรมการรับวัตถุดิบต่างประเทศ และกิจกรรมการจ่ายวัตถุดิบ โดยจากผลการทดสอบการประยุกต์ใช้ระบบบาร์โค้ดนี้ในส่วนของกิจกรรมการรับ และกิจกรรมการจ่ายโดยกำหนดชุดรับเข้าข้อมูล (Scanning Area) 1 จุดให้ผลสรุปโดยรวมของกิจกรรมการรับ และกิจกรรมการจ่ายตังนี้คือ -ค่าเฉลี่ยความล่าช้าในการนำเข้าข้อมูลลดลง 31.82% -ค่าเฉลี่ยเวลาการทำงานลดลง 29.59% -ค่าความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น 3.15% |
Other Abstract: | The objective of this research is design the system and develop software that applied the barcode system for storage and manage data inside raw-material warehouse under the circumstance of case study factory, which is assembly line of electronic parts. The scopes are design system and develop software that serve in main activities of raw material warehouse that is Receiving RM, Put-Away RM, Issue RM and Return RM. All of this are focus on reduce the non-value added process and the delay time of data inside raw material warehouse that caused from queuing for data entry process. A out the development of software, this research have choose Microsoft Access 97 is the database system that comp >se of 6 database group, 46 tables and choose Microsoft Visual Basic 6.0 for development the application program that compose of 9 sub-applications. Each of screen, the system is controlled by useu password. The output of this application are presented in 3 parts which arc the barcode label of raw material, Text File for transfer data to ERP System (by CIM process) and the summary report of transaction in each warehouse activities. The development of this barcode system can use in type of stand-alone that will make parallel run between data processing and the physical information. But, Cause of in case study factory have a ERP system that have shared data in all department, So it'll needed transfer data of raw-material warehouse to the ERP database. But the ERP database has limit about connection of system that cannot transfer data by real-time. This limitation, the barcode system cannot get rid of all delay time in each data entry process. Thus, this development of barcode system is suitable for the factory in activities that have the cumulative data in short time range. For example, in the receive import and issue raw-material process. From the implemented barcode system, Testing in terms of the receive and issue raw-material that have determine 1 scanning area, the summary result of all activities time as the following: - -The average of delay time in data entry process can uecrease 31.82% -The average of processing time can decrease 29.59% -The percentage of data accuracy that entry to the ERP System can increase 3.15% |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65504 |
ISBN: | 9740313949 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somraksa_vi_front_p.pdf | 896.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraksa_vi_ch1_p.pdf | 708.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraksa_vi_ch2_p.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraksa_vi_ch3_p.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraksa_vi_ch4_p.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraksa_vi_ch5_p.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraksa_vi_ch6_p.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraksa_vi_ch7_p.pdf | 748.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somraksa_vi_back_p.pdf | 4.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.