Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65522
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | องอาจ วิพุธศิริ | - |
dc.contributor.advisor | สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ | - |
dc.contributor.author | ดุษณีย์ ทองเกลี้ยง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-24T07:16:10Z | - |
dc.date.available | 2020-04-24T07:16:10Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741748957 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65522 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en_US |
dc.description.abstract | ความเป็นมา แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษามักใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาทั้งต่อตนเองและการทำร้ายผู้อื่นสูงขึ้น จัดเป็นปัญหาสังคมที่จะส่งผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนมัธยมศึกษาและความคิดเห็นในการให้ความสำคัญและการปฏิบัติต่อการป้องกันปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัย การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มประชากรศึกษา ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปีการศึกษา 2546 จำนวน 220 โรงเรียน จำนวนครู 19,691 คน กลุ่มตัวอย่าง ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 43โรงเรียน 645 คน ตอบกลับ 505 คน คิดเป็นอัตราตอบกลับ 78.3% เครื่องมือในการวิจัย แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง การรวบรวมข้อมูล เดือนธันวาคม 2546-กุมภาพันธ์ 2547 สถิตที่ใช้ Mann-Whitney U Test, Wilcoxon Signed Rank Test, Kruskal-Wallis Test ผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.0 อายุเฉลี่ย 45.6 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 78.6 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งครูที่ปรึกษา ร้อยละ 73.9 เคยได้รับการอบรมในเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันความ รุนแรงในโรงเรียนร้อยละ 27.0 ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนในปี 2546 พบว่าโรงเรียนร้อยละ 81.1 มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทร้อยละ 98.0 ทำร้ายตนเองร้อยละ 2.0 สำหรับเหตุการณ์ ทะเลาะวิวาทเป็นเหตุการณ์รุนแรงน้อยร้อยละ 79.4 และรุนแรงมากร้อยละ 4.0 แต่ไม่มีรุนแรงถึงเสียชีวิต สถานที่พบมากที่สุดคือบริเวณอาคารเรียน ส่วนใหญ่เกิดช่วงหลังเลิกเรียน สาเหตุจากปัญหาความไม่เข้าใจกันมากที่สุด สำหรับผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อความสำคัญและการปฏิบัติพบว่าครูกว่าร้อยละ 75 ให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกคือ มีการคัดกรองและดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีบัตรประจำตัวนักเรียนทุกคน กำหนดนโยบายไม่ให้นักเรียนพกพา อาวุธ ครูกว่าร้อยละ 50 ให้คะแนนสูงถึงสูงมากต่อความสำคัญของกิจกรรมรายข้อถึง 38 ข้อจาก 40 ข้อและยังพบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นการให้ความสำคัญสูงกว่าการปฏิบัติทุกด้าน เมื่อทดสอบความแตกต่างพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับกลุ่มครูที่เคยได้รับการอบรมมีค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญและการปฏิบัติสูงกว่ากลุ่มครูที่ไม่เคยอบรมทั้งในภาพรวมและทุกด้าน และมีความแตกต่างของความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนด้านปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะโรงเรียน พบว่า เพศ ตำแหน่ง ระดับชันที่สอน ประเภทของโรงเรียนที่แตกต่างคัน การปฏิบัติต่อการป้องกันปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<,05) สรุป จากการศึกษานี้พบว่าควรมีการดำเนินการป้องกันความรุนแรงในโรงเรียนอย่างจริงจังต่อเนื่อง มาตรการต่าง ๆ ที่ครูส่วนใหญ่ให้ความสำคัญสูงควรนำไปสู่การจัดทำเกณฑ์การปฏิบัติงาน มาตรการใดที่ปฏิบัติน้อย อาทิ ด้านการประเมินผลดำเนินงาน ควรพัฒนาให้มีการดำเนินการให้ครอบคลุมต่อไป เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยและลดสถานการณ์รุนแรงให้มากที่สุด | - |
dc.description.abstractalternative | Background: At present, there are increasing trend of violence in schools, students might solve their problems which sometimes cause bodily injury them selves and others. This social problem would affect not only the students themselves, but also family, com m unity and society. Objectives: To study the situation of violence and opinion of teachers toward preventive measures in secondary schools of Bangkok Metropolis and vicinity. Research Design: Cross-sectional descriptive study Study Population: The teachers who work, under The office of the basic education commission, in secondary schools of Bangkok Metropolis and vicinity in 2003. The total 220 schools with 19,691 teachers w ere approached. Samples: The questionnaires returned from 505 out of 645 personnel to make a response rate of 78.3 percent Research Tool: Pre-test self-administered structured questionnaires Data Collection: During December 2003 to Febuary 2004. Statistical methods: Mann -Whitney U Test, Wilcoxon Signed Rank Test and Kruskal-Wallis Test Results: The majority of the subjects w ere fem ale (73.0%), the average age 45.6 years, finished Bachelor's degree (78.6%), being advisory teachers (73.9%) and experiencing in violence and prevention in school training 27.0%. The study results of the situation of violence in schools w ere severe events 81.1 % (disputes 98.0% and suicides 2.0%). The disputes were mild events 79.4% , the m ore severe events 4.0% but no death reported. The common places of those events w ere school building and com m on period of the happens were after school classes, and common causes w ere the misunderstands. Regarding the opinion of importance and practice of listed activities revealed that 75 % of the teacher ranked the top-3 as screening, identify card and the policy of no-weapon in school. More than half of teachers were rated 38 out of 40 items of importance of activities as high score (4-5). Furthermore, the opinions of importance of the activities were rated as higher mean scores than the practice in all items. It was found that overall of the opinion in trained teachers was also higher mean score than those non-trained teachers statistically significant difference (p<.05). In individual factors and school factors such as sex, position, teaching level, type of schools were found their affected the practices listed with statistically significant differences. (p<.05) Conclusion: According to the result, we should prevent the violent situation among students seriously and continuously. Those highly important activities should be set up as the standard operation criteria for school and teacher's performances in the future. However, this kind of study should be conducted more to determine the consistency and gain improvement strategies of the preventive measures for safer and healthier schools. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความรุนแรงในโรงเรียน | en_US |
dc.subject | ความรุนแรงในวัยรุ่น | en_US |
dc.subject | โรงเรียนมัธยมศึกษา | en_US |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา | en_US |
dc.subject | School violence | en_US |
dc.subject | Violence in adolescence | en_US |
dc.subject | High school students | en_US |
dc.title | สถานการณ์ความรุนแรงและการป้องกันในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล | en_US |
dc.title.alternative | Situation of violence and preventive measures in secondary schools of Bangkok metropolis and vicinity | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์ชุมชน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Ong-arj.V@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Somrat.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Dussanee_th_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 879.22 kB | Adobe PDF | View/Open |
Dussanee_th_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 875.58 kB | Adobe PDF | View/Open |
Dussanee_th_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Dussanee_th_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 823.08 kB | Adobe PDF | View/Open |
Dussanee_th_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Dussanee_th_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Dussanee_th_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.