Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65542
Title: การลดของเสียจากกระบวนการผลิตครีบระบายความร้อน โดยประยุกต์ใช้วิธีการซิกซ์ ซิกม่า
Other Titles: Defect reduction in heat sink tower production process by applying six sigma approach
Authors: ธนิยา ลิ่มชูเชื้อ
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Parames.C@Chula.ac.th
Subjects: ผลิตภัณฑ์ -- ข้อบกพร่อง
ความร้อน -- การถ่ายเท
การควบคุมการผลิต
ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
Manufactures -- Defects
Heat -- Transmission
Production control
Six sigma (Quality control standard)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณของของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตครีบระบายความร้อยโดนนำวิธีการตามแนวทางซิกซ์ ซิกม่ามาประยุกต์ใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าผลต่างของการถ่ายเทความร้อน (Dt) ซึ่งเป็นข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์ของลูกค้าและหาเงื่อนไขที่เหมาะสมของปัจจัยดังกล่าวในการผลิตที่จะทำให้ปริมาณของเสียลดลง โดยหน่วยวัดผลระดับการปรับปรุงของการวิจัยที่กำหนดคือปริมาณของของเสียที่เกิดขึ้นในหน่วย Defect Part Per Million (DPPM) ซึ่งก่อนการปรับปรุงกระบวนการผลิตมีปริมาณของเสียเท่ากับ 48,332 DPPM ขั้นตอนการวิจัยจะดำเนินตามขั้นตอนตามวิธีการทางซิกซ์ ซิกม่าทั้ง 5 ขั้นตอน โดยเริ่มจากการขั้นตอนนิยามปัญหา ขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ และขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต ตามลำดับ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ของกระบวนการ คือ สามารถกำหนดค่าของระดับของปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญที่ส่งผลต่อค่าผลต่างของการถ่ายเทความร้อน (Dt) ในกระบวนาร QA Thermal Checking มีค่าเฉลี่ยลดลงจากเดิมโดยการนำปัจจัยนำเข้าที่สำคัญ 4 ปัจจัยมาทำการออกแบบการทดลองโดยใช้วิธีการของพื้นผิวผลตอบ (Response Surface Method) ในขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ แล้วนำไปวิเคราะห์หาระดับที่เหมาะสมของการปรับค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องนั้น เพื่อทำให้ได้ค่าผลต่างของการถ่ายเทความร้อนที่ต่ำที่สุดที่เหมาะสมของกระบวนการที่สามารถทำได้ คือ 19.07 องศาเซลเซียส โดยการกำหนดค่าระดับของขนาดช่องว่างของวัสดุพรุน (Mesh) ชั้นนอกมีขนาด 165 เวลาในกระบวนการไล่ก๊าซออกควรใช้เวลาอยู่ที่ 34.62 วินาที และอุณหภูมิของการอบไนโตรเจนเท่ากับ 510 องศาเซลเซียส แล้วทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลก่อนนำไปใช้งานจริงในกระบวนการผลิต จากนั้นทำการควบคุมปัจจัยนำเข้าที่สำคัญทั้งสามด้วยกระบวนการเชิงสถิติในขั้นตอนการควบคุมกระบวนการ จากข้อมูลหลังการปรับปรุงกระบวนการ พบว่า สามารถที่จะลดความสูญเสียได้เป็นจำนวนเงิน 1,108,250 บาท โดยพิจารณาจากระยะเวลาระหว่างการดำเนินการวิจัย ซึ่งคิดเป็น 56 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนของเสียที่ลดได้จากการปรับปรุงกระบวนการผลิตมีปริมาณของเสียเท่ากับ 19,255 DPPM
Other Abstract: The objective of this research is to reduce the number of defects in heat sink tower process. Six Sigma Approach is applied not only to study the factors influencing the heat transfer difference (Dt) and the product specification limit, but also to identify the appropriate operative conditions for reducing defects. The efficient improvement is measured by the number of defects in Defect Part Per Million (DPPM) unit. The current process has 48,332 DPPM. The study has been proceeded according to the five-phase improvement models of Six Sigma methodology. The process begins with defining phase, measuring phase, analyzing phase, improving phase and controlling phase respectively. The result of the process is to determine KPIVs that significantly effect to decrease Dt values in QA thermal checking process. Four KPIVs have been used to perform an experiment with response surface in improvement phase. It is found that the appropriate minimum Dt is 19.07 ℃, the size of outer mesh is 165, the degassing time is 34.62 second, and the temperature of N2 is 510 ℃. The preliminary experiments are conducted to confirm the results before applying to production line. Finally, the results of the statistical analysis are set at the process of control phase. The data of Dt defects after improving the process show 19,255 DPPM which is equal to 56 % of the amount of defects after improving the process. In addition, it could reduce cost about 1,108,250 baht.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65542
ISSN: 9741726457
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thaniya_li_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.01 MBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch1_p.pdfบทที่ 1900.6 kBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch2_p.pdfบทที่ 22.12 MBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch3_p.pdfบทที่ 3980.54 kBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch4_p.pdfบทที่ 42.1 MBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch5_p.pdfบทที่ 51.36 MBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch6_p.pdfบทที่ 61.82 MBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch7_p.pdfบทที่ 71.58 MBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch8_p.pdfบทที่ 8718.88 kBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch9_p.pdfบทที่ 91.11 MBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_ch10_p.pdfบทที่ 10813.84 kBAdobe PDFView/Open
Thaniya_li_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.