Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65681
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนัสกร ราชากรกิจ-
dc.contributor.authorปราโมทย์ พรหมทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialภูเก็ต-
dc.date.accessioned2020-05-08T07:31:30Z-
dc.date.available2020-05-08T07:31:30Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741736428-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65681-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการทำลายฤทธิ์และใช้ประโยชน์ของเถ้าลอย ที่ผ่านกระบวนการเผามูลฝอยของโรงเผามูลฝอยชุมชนจังหวัดภูเก็ต ทั้งที่มีการคัดแยกมูลฝอยและไม่มีการคัดแยกมูลฝอยก่อนการเผา โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของเถ้าลอย อัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำให้เป็นก้อนโดยใช้เถ้าลอยผสมปูนซีเมนต์เป็นวัสดุประสาน อัตราส่วนนาต่อวัสดุประสาน ระยะเวลาการบ่มก้อนตัวอย่าง การใช้ประโยชน์จากเถ้าลอยในการนำมาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนเพื่อเป็นวัสดุประสานในการทำคอนกรีตบล็อก และประมาณการค่าใช้จ่ายในการทำคอนกรีตบล็อก ซึ่งการวิจัยทำการทดสอบความหนาแน่น กำลังต้านแรงอัด ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก (มอก. 57 -2530) พีเอชและปริมาณโลหะหนักในน้ำชะละลายของก้อนตัวอย่างตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) ผลการทดสอบลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของเถ้าลอย สรุปได้ว่าเถ้าลอยจากโรงเผามูลฝอยชุมชนจังหวัดภูเก็ตทั้งที่มีการคัดแยกมูลฝอยและไม่มีการคัดแยกมูลฝอย ไม่สามารถจัดเป็นวัสดุปอซโซลานตามข้อกำหนดใน ASTM C 618 ขนาดอนุภาคเถ้าลอยที่ไม่มีการคัดแยกมูลฝอยมีขนาดใหญ่ กว่าเถ้าลอยที่มีการคัดแยกมูลฝอยแต่มีการกระจายตัวของขนาดอนุภาคที่แคบกว่า ซึ่งผลจากการคัดแยกมูลฝอยทำให้คลอไรต์ (C1) ในเถ้าลอยลดลง โดยที่ปริมาณโลหะหนัก Ag Ba Cd Cr และ Pb ในน้ำชะละลายของเถ้าลอยทั้ง 2 ชนิดมีค่าไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้ปริมาณตะกั่ว (Pb) มีค่าสูงควรมีการทำลายฤทธิ์ไม่ให้ไปกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อทำการหล่อก้อนมอร์ตาโดยใช้สัดส่วนระหว่างวัสดุประสานต่อทรายเท่ากับ 1 ต่อ 2.75 และใช้เถ้าลอยมาแทนที่ปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วนต่าง ๆ พบว่าความหนาแน่นและกำลังต้านแรงอัดของก้อนมอร์ตาลดลงเมื่อมีการเพิ่มอัตราส่วนของเถ้าลอย โดยก้อนมอร์ตาที่มีอัตราส่วนผสมของเถ้าลอยที่คัดแยกมูลฝอยมีค่าสูงกว่าก้อนมอร์ตาที่มีส่วนผสมของเถ้าลอยที่ไม่มีการคัดแยกมูลฝอย ซึ่งที่อัตราส่วนเถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์ที่ร้อยละ 30 เป็นอัตราส่วนการแทนที่สูงสุดที่ให้ค่ากำลังต้านแรงอัดผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คอนกรีตบล็อกรับนำหนัก เมื่อมีการเปลี่ยนอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน พบว่าก้อนมอร์ตาที่ให้กำลังต้านแรงอัดสูงสุดมีอัตราส่วนต่อวัสดุประสานเท่าคับ 0.50 ทั้งนี้ก้อนมอร์ตาที่มีเถ้าลอยเป็นส่วนผสมมีการพัฒนากำลังต้านแรงอัดที่ระยะบ่มต่าง ๆ ค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับมอร์ตาที่ใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุประสาน และเมื่อทำการหล่อก้อนคอนกรีตบล็อกซึ่งใช้หินฝุ่นแทนทรายค่ากำลังต้านแรงอัดของก้อนคอนกรีตบล็อกที่มีส่วนผสมเถ้าลอยที่ไม่มีการคัดแยกมูลฝอยและเถ้าลอยที่มีการคัดแยกมูลฝอยมีค่าลดลง คิดเป็นร้อยละ 51 และ 58 เมื่อเทียบกับก้อนคอนกรีตบล็อกที่ไม่มีส่วนผสมของเถ้าลอย โดยที่ปริมาณโลหะหนักในน้ำชะละลายก้อนตัวตัวอย่างลดลงและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the changes in properties of fly ash before and after sorting of incoming municipal solid waste streams at the incineration facility in Phuket. The parameters being studied were physical and chemical characteristics of fly ash, ratio of fly ash to cement, ratio of water to binder, and curing time of specimens. Optimal recipe and conditions found were then used in production of concrete masonry using both types of fly ash to partially replace cement and the cost of product was also estimated. Density, unconfined compressive strength, pH value and leached heavy metal concentrations of the product specimens were tested according to the Notification of Ministry of Industry No.6 (1997) as well as compared against the standard specifications for hollow load-bearing concrete masonry (TISI 57-1987). The results indicated that due to the physical and chemical characteristics of both sorted and unsorted fly ash, they could not be classified as a pozzolanic material according to ASTM C618. This also revealed that unsorted fly ash particles were larger in size while the size distribution was narrower than that of the sorted fly ash. For the sorting, the chloride (Cl) in the fly ash decreased. The heavy metal concentrations of the leachates of both types of fly ash were well within the standards. Nonetheless, the quantity of lead (Pb) was significant and should be of some concern. Both types of fly ash were then used to partially replace cement in fly ash-cement mortars with a binder-to-sand ratio of 1:2.75. As the amount of fly ash was increased, the density and the unconfined compressive strength decreased. The highest unconfined compressive strength of fly ash-cement mortars was found at the cement replacement percentage of 30 and the water-to-binder ratio of 0.50, which met the standard specifications for hollow load-bearing concrete masonry. The fly ash-cement mortars had relatively lower compressive strength at any curing age compared with the control mortars. The 28-day unconfined compressive strengths of hollow load-bearing fly ash-concrete masonry using sorted and unsorted fly ash, which used crushed stone instead of sand, were 58 and 51 percent of the control, respectively. Finally, the amount of all heavy metals in leachates of both fly ash-concrete bricks met the regulatory limits.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการคัดแยกขยะen_US
dc.subjectขี้เถ้าลอยen_US
dc.subjectการกำจัดขยะen_US
dc.subjectFly ashen_US
dc.subjectRefuse and refuse disposalen_US
dc.titleผลของการคัดแยกมูลฝอยของเตาเผามูลฝอยชุมชนจังหวัดภูเกตที่มีต่อการทำเถ้าลอยให้เป็นก้อนen_US
dc.title.alternativeEffects of solid waste sorting of Phuket municipal solid waste incineration plant on solidification of fly ashen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManaskorn.R@Chula.ac.th,manaskorn@gmail.com-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pramote_pr_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ927.51 kBAdobe PDFView/Open
Pramote_pr_ch1_p.pdfบทที่ 1684.18 kBAdobe PDFView/Open
Pramote_pr_ch2_p.pdfบทที่ 21.79 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_pr_ch3_p.pdfบทที่ 31.19 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_pr_ch4_p.pdfบทที่ 42.54 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_pr_ch5_p.pdfบทที่ 5703.18 kBAdobe PDFView/Open
Pramote_pr_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.